ผลการผ่าตัดรักษาโรคต้อเนื้อที่เป็นครั้งแรก โดยใช้สารมัยโตมัยซินซี ความเข้มข้น 0.02% ระหว่าง 2 นาที กับ 3 นาที ในผู้ป่วยโรคต้อเนื้อที่มารับบริการในโรงพยาบาลหัวหิน

ผู้แต่ง

  • เทียนชัย เมธานพคุณ พ.บ., โรงพยาบาลหัวหิน

คำสำคัญ:

การผ่าตัดโรคต้อเนื้อที่เป็นครั้งแรก, สารมัยโตมัยชินซี, การกลับมาเป็นซ้ำ, ภาวะแทรกซ้อน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการกลับมาเป็นซ้ำและภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดรักษาโรคต้อเนื้อที่เป็นครั้งแรก โดยใช้สารมัยโตมัยซินซี ความเข้มข้น 0.02% ระหว่าง 2 นาที กับ 3 นาที

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม ในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาโรคต้อเนื้อที่เป็นครั้งแรก ในโรงพยาบาลหัวหิน ในระหว่างเดือนมีนาคม 2564 ถึง เดือนกันยายน 2565 จำนวน 60 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับเวลา 2 นาที 30 ราย โดยใช้สารมัยโตมัยชินซี ความเข้มข้น 0.02% ระหว่าง 2 นาที กับ 3 นาที และกลุ่มที่ได้รับเวลา 3 นาที 30 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติพรรณนา  การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง chi-square test, independent t test, relative risk

ผลการศึกษา: กลุ่มผู้ป่วยโรคต้อเนื้อที่ผ่าตัดรักษาโรคต้อเนื้อที่เป็นครั้งแรก โดยใช้สารมัยโตมัยชินซี ความเข้มข้น 0.02% ระหว่าง 2 นาที กับ 3 นาที มีข้อมูลทั่วไปที่คล้ายคลึงกัน ส่วนการกลับมาเป็นซ้ำภายหลังการผ่าตัดรักษาโรคต้อเนื้อที่เป็นครั้งแรก โดยใช้สารมัยโตมัยซินซี ความเข้มข้น 0.02% ระหว่าง 2 นาที กับ 3 นาที คือร้อยละ 3.3 และร้อยละ 10 ตามลำดับ และภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัดรักษาโรคต้อเนื้อที่เป็นครั้งแรก โดยใช้สารมัยโตมัยซินซี ความเข้มข้น 0.02% ระหว่าง 2 นาที กับ 3 นาที ไม่มีความแตกต่างกัน 

สรุป: จากผลการวิจัยที่ได้ควรจะนำวิธีผ่าตัดรักษาโรคต้อเนื้อ โดยใช้สารมัยโตมัยชินซี ความเข้มข้น 0.02% ระยะเวลา 2 นาทีมาใช้ในการผ่าตัดรักษาโรคต้อเนื้อ เนื่องจากเป็นวิธีที่มีการกลับมาเป็นซ้ำต่ำปลอดภัย สะดวก มีภาวะแทรกซ้อนต่ำ

References

Rezvan F, Khabazkhoob M, Hooshmand E, et al. Prevalence and risk factors of pterygium: a systematic review and meta-analysis. Surv Ophthalmol. 2018;63(5):719–35.

กิตติชัย อัครพิพัฒน์กุล, อมรรัตน์ วงศ์ณรัตน์. การศึกษาขนาดของต้อเนื้อที่มีผลต่อการแยกแยะระดับความสว่างภายหลังการผ่าตัดต้อเนื้อ. วารสารจักษุธรรมศาสตร์ 2559;11(2):54–61.

สุพรรณ ศรีธรรมมา. โรคต้อเนื้อ พบมากในวัยกลางคน. วารสารกรมการแพทย์ 2558;21(2):7-8.

Aminlari A, Singh R, Liang D. Management of pterygium. AAOO 2010;37-8.

โกศล คำพิทักษ์. ผลการผ่าลอกต้อเนื้อตาต่อค่าสายตาเอียงที่กระจกตา. วารสารจักษุธรรมศาสตร์ 2549;3(2):19-24.

เกวลิน เลขานนท์. ต้อเนื้อตา [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อ 2 ตุลาคม 2559]; เข้าถึงได้จาก: http://eyebank thai.redcross. or.th/?page_id=641 7. Cheng HC, Tseng SH, Kao PL, Chen FK. (2001). Low-dose intraoperative mitomycin C as chemoadjuvant for pterygium surgery. Cornea 2001;20(1):24–9.

Bernard R. Fundamentals of biostatistics. 5th ed. Duxbury: Thomson learning; 2000: 308.

Demirok A, Simsek S, Çinal A, et al. Intraoperative application of mitomycin C in the surgical treatment of pterygium. Eur J Ophthalmol 1998;8(3):153–6. doi: 10.1177/1120672 19800800306.

Jampel HD. Effect of brief exposure to mitomycin C on viability and proliferation of cultured human Tenon's capsule fibroblasts. Ophthalmology 1992;99(9):1471–6. doi: 10.1016/s0161-6420(92)31781-6.

Panda A, Das GK, Tuli SW, et al. Randomized trial of intraoperative mitomycin C in surgery for pterygium. Am J Ophthalmol 1998;125(1):59–63. doi: 10.1016/s0002-9394(99)80235-9.

Hassan HT. The role of Mitomycin-C (MMC) in primary pterygium surgery for prevention of recurrence. Clin Ophthalmol J. 2020;1(1):1005.

Levartovsky S, Moskowitz Y. Application of mitomycin C 0.02% for 2 minutes at the end of pterygium surgery. Br J Ophthalmol 1998;82(1):97–8. doi:10.1136/bjo.82.1.97a

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30