ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ของมารดาที่ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน

ผู้แต่ง

  • อัจฉโรบล แสงประเสริฐ พย.ม. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์
  • ปิ่นแก้ว โชติอำนวย พย.ม. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

มารดา, ความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว, ทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่, การสนับสนุนทางสังคม, การรับรู้ความสามารถของตนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือนของมารดาที่ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน

วิธีการศึกษา: แบบความสัมพันธ์เชิงทำนาย กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาที่ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉินและพาบุตรมารับบริการฉีดวัคซีนที่คลินิกสุขภาพเด็กดีโรงพยาบาลประจำจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 111 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และสถิติถดถอยพหุคูณแบบมาตรฐาน

ผลการศึกษา: ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อยู่ในระดับปานกลาง (mean = 8.96, SD = 1.76) อายุของมารดา รายได้ของครอบครัว การสนับสนุนทางสังคม ความเครียดจากการดูแลบุตร การรับรู้ความสามารถของตนในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทัศนคติต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การคล้อยตามกลุ่มผู้ใกล้ชิดในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ สามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ได้ร้อยละ 49 (adjusted R2 = .423, F7,93 = 19.364, p < .001)

สรุป: มารดาที่ผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉินจะมีความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน พยาบาลผดุงครรภ์ควรสนับสนุนให้มารดาได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับกลุ่มที่มีทัศนคติเชิงบวกกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ร่วมกับส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนเอง และการมีส่วนร่วมของครอบครัว

 

References

World Health Organization. Does WHO recommend a specific caesarean rate at country

level. [internet]. 2021 [cited 2022 April 9]; Available from: URL: https://www.who.int/news-

room/ questions-and-answers/item/who-statement-on- caesarean-section-rates-

frequently-asked-questions.

Osterman MJK. Change in Primary and Repeat Cesarean Delivery: United States,

–2021. NVSS 2022;(21):1–11. doi.org/10.15620/cdc:117432.

ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง. เผยหญิงไทยผ่าคลอดโดยไม่จำเป็นถึง 40% สูงเป็นอันดับ 2 ของเอเชียรองจากจีน [อินเทอร์เน็ต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2565]; เข้าถึงจาก: https://www.tcijthai.com/news/2019/14/current/8944

นพรัตน์ ธาระณะ. การส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาหลังผ่าตัดคลอด. พยาบาลสาร 2564;48(4):324–35.

World Health Organization. Global breastfeeding scorecard 2022: protecting breastfeeding trough further investment and policy actions. Unicef: World Health

Organization. [internet]. 2022 [cited 2023 January 6]; Available from: URL:

https://www.who.int/publications/i/item/WHO-HEP-NFS-22.6

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย. โครงการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2562

รายงานผลฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักสถิติแห่งชาติ; 2563.

นิตยา สินสุกใส, ศศิธารา น่วมภา, พฤหัส จันทร์ประภาพ. ปัจจัยทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6

เดือน ในมารดาผ่าตัดคลอด.วารสารพยาบาลศาสตร์ 2560;35(1):14–22.

Ajzen I. Perceived behavior control, self efficacy, local of control, and the theory of

planned behavior. Journal of Applied Social Psychology 2002;32(4):1–20. doi 10.1111/j.1559-1816.2002.tb00236.x.

Wu Q, Tang N, Wacharasin C. Factors influencing exclusive breastfeeding for 6 months postpartum: a systematic review. Int J Nurs Knowl 2022;33(4):290–303. doi 10.1111/2047-3095.12360.

พงค์สุวรรณ สมาแฮ, ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์, นฤมล ธีระรังสิกุล. ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการให้นมแม่

แก่ทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดามุสลิม. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2563;28(3): 102–112.

Tabachnick BG. Fidell Using multivariate statistics. 7th ed. Boston: Pearson Education; 2019.

Best JW. Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice Hell; 1997.

นิตยา ไชยรัตน์, ศศิกานต์ กาละ. ผลของโปรแกรมการพยาบาลโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน

ต่อ ความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัย

พยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2565;9(1):121–134.

Aldalili AY Ali, Mahalli A Ali El. Factors associated with cessation of exclusive Breastfeeding. J Multidiscip Healthc 2021;14:239–246. doi 10.2147/JMDH.S277819.

Jama A, Gebreyesus H, Wubayehu T, et al. Exclusive breastfeeding for the first six months of life and its associated factors among children age 6–24 months in Burao district, Somaliland. Int Breastfeed J 2020;15(5):1–8. Doi 10.1186/s13006-020-0252-7.

อิงหทัย ดำจุติ, ศศิกานต์ กาละ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ของมารดาทำงานนอกบ้าน. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2565;9(1): 107–120.

Swanson V, Hannula L. Parenting stress in the early years-a survey of the impact

of breastfeeding and social support for mothers in Finland and the UK. BMC Pregnancy

and Childbirth 2022;22(699):1–13. doi 10.1186/s12884-022-05010-5.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30