อัตราการคงอยู่ของฟันกรามที่ได้รับการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ

ผู้แต่ง

  • สุรวดี วดีรัตน์ ท.บ. โรงพยาบาลห้วยพลู
  • ชนพงษ์ โรจนวรฤทธิ์ ท.บ., ปร.ด. มหาวิทยาลัยฮอฟสตรา

คำสำคัญ:

อัตราการคงอยู่, โรคปริทันต์อักเสบ, ระบาดวิทยาโรคช่องปาก

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราการคงอยู่ของฟันกรามที่ได้รับการรักษาโรคปริทันต์อักเสบ และระบุปัจจัยเชิงพยากรณ์การเสียฟันเหตุโรคปริทันต์ที่เกี่ยวข้องในผู้ป่วยสูงอายุที่รับบริการ ณ โรงพยาบาลห้วยพลู จังหวัดนครปฐม

วิธีการศึกษา: การศึกษาจากเหตุไปหาผลที่เก็บข้อมูลในอดีต (retrospective cohort study) ของผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบชาวไทยอายุ 60 ปีขึ้นไปทุกราย ผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้รับการรักษาโรคปริทันต์โดยการขูดหินน้ำลายและเกลารากฟันในฟันกรามบนหรือฟันกรามล่างซี่ที่ 1 และ/หรือ 2 รวมระยะเวลาการศึกษา 12 ปี ลักษณะทางคลินิกที่นำมาศึกษา คือ เพศ อายุ โรคประจำตัว การสูบบุหรี่ ข้อมูลปริทันต์ ได้แก่ ร่องลึกปริทันต์ ความวิการที่ง่ามรากฟัน ระดับการโยกของฟัน ระดับอนามัยช่องปาก และจำนวนครั้งของการเกลารากฟัน การวิเคราะห์ข้อมูล บรรยายลักษณะของผู้ป่วยโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของตัวแปรต่อเนื่อง (เช่น อายุ) จำแนกตามผลลัพธ์การคงอยู่ของฟันมากกว่า 2 รูปแบบขึ้นไปโดยใช้สถิติ one-way analysis of variance เปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างกลุ่มโดยใช้สถิติ exact probability test การระบุปัจจัยพยากรณ์การเสียฟันเหตุโรคปริทันต์ภายหลังการรักษาใช้สถิติ generalized linear model ที่กำหนดการกระจายของตัวแปรผลลัพธ์เป็น Poisson distribution และกำหนด link function เป็น logarithm เพื่อประเมินค่าอัตราส่วนอัตราอุบัติการณ์ (incidence rate ratio)

ผลการศึกษา: ฟันกรามในผู้สูงอายุกลุ่มนี้ มีอัตราการคงอยู่ร้อยละ 89 และสูญเสียฟันเหตุโรคปริทันต์และสาเหตุอื่นเพียงร้อยละ 11 ปัจจัยพยากรณ์การเสียฟันกรามเหตุโรคปริทันต์ภายหลังการรักษา คือ โรคเบาหวานและความวิการที่ง่ามรากฟัน โดยผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานมีความเสี่ยงในสูญเสียฟันเป็น 3.93 เท่าของผู้ป่วยที่ไม่เป็นเบาหวาน และฟันที่มีความวิการที่ง่ามรากฟันมีความเสี่ยงในการสูญเสียฟันเป็น 3.69 เท่าของฟันที่ไม่มีความวิการที่ง่ามรากฟัน

สรุป: ฟันกรามในผู้สูงอายุกลุ่มนี้ มีอัตราการคงอยู่เป็นส่วนใหญ่ และการเสียฟันเหตุโรคปริทันต์และสาเหตุอื่นเพียงเล็กน้อยในระยะศึกษา 12 ปี โรคเบาหวานและความวิการที่ง่ามรากฟันเป็นปัจจัยพยากรณ์การเสียฟันกรามเหตุโรคปริทันต์ภายหลังการรักษา 

References

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติครั้งที่ 8 พ.ศ.2560. นนทบุรี: สามเจริญพาณิชย์; 2561: 63–7.

Tonetti MS, Eickholz P, Loos BG, et al. Principles in prevention of periodontal diseases: consensus report of group 1 of the 11th European Workshop on Periodontology on effective prevention of periodontal and peri-implant diseases. J Clin Periodontol. 2015;42Suppl16:S5–11.

Kwon T, Lamster IB, Levin L. Current Concepts in the Management of Periodontitis. Int Dent J. 2021;71(6):462–76.

Romandini M, Baima G, Antonoglou G, et al. Periodontitis, Edentulism, and Risk of Mortality: A Systematic Review with Meta-analyses. J Dent Res. 2021;100(1):37–49.

กนกวรรณ นิพขันธุ์, ณรงค์ศักดิ์ เหล่าศรีสิน, จามรี เสมา, และคณะ. การคงอยู่ของฟันในผู้ป่วยโรคปริทันต์อักเสบที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภายหลังการรักษาด้วยปริทันต์บำบัดคราวเดียวเสร็จด้วยเครื่องอัลตร้าโซนิก: ติดตามผล 2 ปี. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2566;32(3):514–23.

Umaiyal P, Ramamurthy J, Kumar P. Clinical Predictors of Tooth Loss Due to Periodontal Disease- A Retrospective Analytical Study. JPTCP 2022;29(1):189–96.

Scheid RC, Weiss G. Woelfel's Dental Anatomy. 8th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer; 2012: 120–163, 197–230.

Wu CZ, Yuan YH, Liu HH, et al. Epidemiologic relationship between periodontitis and type 2 diabetes mellitus. BMC Oral Health 2020;20(1):204.

Dannewitz B, Krieger JK, Hüsing J, et al. Loss of molars in periodontally treated patients: a retrospective analysis five years or more after active periodontal treatment. J Clin Periodontol 2006;33(1):53–61.

Miller PD Jr, McEntire ML, Marlow NM, et al. An evidenced-based scoring index to determine the periodontal prognosis on molars. J Periodontol 2014;85(2):214–25.

Faggion CM Jr, Petersilka G, Lange DE, et al. Prognostic model for tooth survival in patients treated for periodontitis. J Clin Periodontol. 2007;34(3):226–31.

Radulescu V, Boariu M, Rusu D, et al. Tooth loss and survival rate in chronic moderate to severe periodontitis. A synthetic search of non-surgical therapy studies [internet]. [cited 2023 June 16]; Available from URL: https://journals.indexcopernicus.com/api/file/viewByFileId/424815.pdf.

Graetz C, Bäumer A, Eickholz P, et al. Long-term tooth retention in periodontitis patients in four German university centres. J Dent. 2020;94:103307.

Graetz C, Plaumann A, Schlattmann P, et al. Long-term tooth retention in chronic periodontitis - results after 18 years of a conservative periodontal treatment regimen in a university setting. J ClinPeriodontol 2017;44(2):169–77.

Gill T, Bahal P, Nibali L. Furcation-involved molar teeth - part 1: prevalence, classification and assessment. Br Dent J 2022;233(10):847–52.

Gill T, Bahal P, Nibali L. Furcation-involved molar teeth - part 2: management and prognosis. Br Dent J 2022; 233(11):923–8.

Yoo JJ, Kim DW, Kim MY, et al. The effect of diabetes on tooth loss caused by periodontal disease: A nationwide population-based cohort study in South Korea. J Periodontol. 2019;90(6):576–83.

Stadler AF, Mendez M, Oppermann RV, et al. Tooth Loss in Patients under Periodontal Maintenance in a Private Practice: A Retrospective Study. Braz Dent J. 2017;28(4):440-6.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30