การพัฒนาการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่สู่ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ เขตสุขภาพที่ 4

ผู้แต่ง

  • ปวีณา ลาวัณลักขณา พ.บ., โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า

คำสำคัญ:

ปากแหว่งเพดานโหว่, เครื่องมือปรับโครงสร้างปากบน จมูก และเพดานปาก, สหสาขาวิชาชีพ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ และระบบบริการรักษาแบบองค์รวม โดยความร่วมมือของทีมสหสาขาวิชาชีพ เพื่อตั้งศูนย์ความเป็นเลิศด้านการรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ เขตสุขภาพที่ 4

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ในผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ตั้งแต่ พ.ศ. 2560–2565  โดยเก็บข้อมูลการผ่าตัด และการใส่เครื่องมือปรับโครงสร้างปากบน จมูก และเพดานปาก (presurgical orthopedic therapy, PSO) ก่อนการผ่าตัด และเก็บข้อมูลการรับบริการของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ก่อนและหลังจากการเปิดศูนย์ด้านการรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่

ผลการศึกษา:  พบว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดปากแหว่งเพดานโหว่ทั้งหมด 98 คน ได้รับการผ่าตัดปากแหว่ง จำนวน 77 คน ได้รับการผ่าตัดเพดานโหว่ จำนวน 87 คน ผู้ป่วยได้รับการใส่เครื่องมือปรับโครงสร้างปากบน จมูก และเพดานปาก (presurgical orthopedic therapy, PSO) ก่อนการผ่าตัดปากแหว่ง จำนวน 79 คน คิดเป็นร้อยละ 80.6 และศูนย์ด้านการรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ เขตสุขภาพที่ 4 สามารถให้บริการใน 1 วัน ได้ 3–4 แผนก คิดเป็นร้อยละ 35

สรุป: การพัฒนาการผ่าตัดโดยใช้เครื่องมือปรับโครงสร้างปากบน จมูก และเพดานปาก ก่อนผ่าตัด ช่วยให้ผลลัพธ์ที่ได้ดีขึ้น และการพัฒนาของทีมสหสาขาวิชาชีพตั้งศูนย์เชี่ยวชาญด้านการรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ ทำให้สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวม ในการตรวจรักษาภายใน 1 วัน ลดการรอคอย ลดการเดินทาง สร้างความพึงพอใจแก่ผู้ป่วยและครอบครัว

References

Chowchuen B. Cleft lip and palate treatment guideline manual for parents. Khon Kaen: cleft lip and palate and craniofacial anomaly research center Faculty of Medicine Khon Kaen University; 2011.

Chowchuen B, Thanaviratananich S, Chichareon V, et al. Multi-center study of oral cleft and associated abnormalities in Thailand: the epidemiologic data and need of health care service. The 10th International Congress on Cleft palate and Related Craniofacial Anomalies; 2005 September 4–8; Durban. South Africa; 2005.

Chuangsuwanich A, Aojanipong C, Muangsombut S, et al. Epidemiology of cleft lip and palate in Thailand. Ann Plast Surg 1998;41(1):7–10. doi: 10.1097/00000637-199807000-00002.

Ruangsitt C, Prasertsang P, Banpho Y, et al. Incidence of cleft lip and palate in three hospitals in Khon Kean. Khon Kaen: Department of Orthodontics Faculty of Dentistry Khon Kaen University; 1993.

Mossey PA, Little J, Munger RG, et al. Cleft lip and palate. Lancet 2009;374(9703):1773–85. doi: 10.1016/S0140-6736(09)6069.

กาญจน์ลักษณ์ คันธสุนธา. ปากแหว่งเพดานโหว่. กรุงเทพมหานคร: สมาคมโสตสัมผัสวิทยาและการแก้ไขการพูดแห่งประเทศไทย; 2550.

Laddawun S, Woranuch C. Guideline for multidisciplinary team approach in cleft lip and palate patient. Thamasat University Hospital Journal online 2017;2(2)15–27.

Ibtesam A, Waeil B, Alex C, et al. Presurgical cleft lip and palate orthopedics: an overview. Clin Cosmet Investig Dent 2017;9:53–9. doi: 10.2147/CCIDE.S129598.

Grayson BH, Maull D. Nasoalveolar moulding for infants born with clefts of the lip, alveolus and palate. Clin Plast Surg 2004;31(2):149–8. doi: 10.1016/S0094-1298(03)00140-8.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30