ความแตกต่างของรายรับหน่วยบริการสุขภาพระหว่างก่อนและหลังการปรับเกลี่ยของหน่วยบริการ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • อมรรัตน์ ลิ้มจิตสมบูรณ์ พ.ย.บ., พ.ย.ม. กระทรวงสาธารณสุข

คำสำคัญ:

รายรับหน่วยบริการสุขภาพ, การปรับเกลี่ยงบประมาณ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลงบประมาณที่ได้รับจัดสรรระหว่าง พ.ศ. 2563–2565 และเปรียบเทียบความแตกต่างของรายรับหน่วยบริการสุขภาพระหว่างก่อนและหลังการปรับเกลี่ย ใน พ.ศ. 2563–2564

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเอกสาร (documentary research) ระหว่างเดือนมกราคม–สิงหาคม พ.ศ.2566 หน่วยการวิเคราะห์ คือ งบประมาณหลักประกันสุขภาพในประเทศไทย ที่จัดสรรให้กับหน่วยบริการสุขภาพ รายเขตสุขภาพ 13 เขต เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลระดับทุติยภูมิ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลงบประมาณที่ได้รับจัดสรรระหว่าง พ.ศ. 2563–2565 และวิเคราะห์ความแตกต่างของรายรับหน่วยบริการสุขภาพระหว่างก่อนและหลังการปรับเกลี่ยใน พ.ศ. 2563–2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา: รายรับของหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในประเทศไทย พ.ศ. 2563 ได้รับจัดสรรค่าเหมาจ่ายรายหัว จำนวน 3,600 บาทต่อผู้มีสิทธิ 48.26 ล้านคน; พ.ศ. 2564 จำนวน 3,719 บาทต่อผู้มีสิทธิ 47.44 ล้านคน; พ.ศ. 2565 จำนวน 3,799 บาทต่อผู้มีสิทธิ 47.55 ล้านคน; จำนวนเงิน 140,533, 142,364, 140,550 ล้านบาท ตามลำดับ ความแตกต่างของรายรับ ระหว่างก่อนและหลังการปรับเกลี่ยใน พ.ศ. 2563–2564 การจัดสรร 16 หมวด หลังปรับเกลี่ยปรากฏดังนี้ 1) ผู้ป่วยนอกทั่วไปลดลง ร้อยละ 27.50 และ 27.46; 2) ผู้ป่วยในทั่วไปลดลง ร้อยละ 18.09 และ 17.01; 3) กรณีเฉพาะ ลดลง ร้อยละ 35.87 และ 16.37; 4) สร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ลดลง ร้อยละ 0.47 และ 24.58; 5) ฟื้นฟูสมรรถภาพ ลดลง ร้อยละ 7.02 และ 58.29; 6) แพทย์แผนไทย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 1.67 และ 4.14 ; 7) งบลงทุน ลดลง ร้อยละ 23.52 และ 23.51; 8) จ่ายช่วยเหลือเบื้องต้น ลดลง ร้อยละ 90.44 และ 88.90; 9) จ่ายตามเกณฑ์คุณภาพผลงาน ลดลง ร้อยละ 36.13 และ 14.37; 10) ผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ลดลง ร้อยละ 19.24 และ 0.39; 11) ไตวายเรื้อรัง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 4.93 และ 2.80; 12) โรคเรื้อรัง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8.01 และ 2.77; 13) จ่ายเพิ่มพื้นที่กันดารฯ ไม่มีค่าต่าง; 14) ภาวะพึ่งพิงในชุมชน ลดลง ร้อยละ 90.89 และ 93.25; 15) จ่ายเพิ่มระดับปฐมภูมิที่มีแพทย์ เพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.95 และ 7.02; และ 16) จ่ายชดเชยวัคซีนฯ ได้รับเฉพาะ พ.ศ. 2563

สรุป: การจัดสรรงบประมาณรายรับหน่วยบริการสุขภาพส่วนใหญ่จะได้รับเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 แต่บางกิจกรรมได้รับงบประมาณลดลง ควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานะทางการเงินของหน่วยบริการเพื่อการวางแผนการจัดสรรงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ

References

อภิชาติ อยู่สำราญ. ข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการบริหารการเงินการคลังของ หน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ 2020;6(2):184–198.

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการงบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2563. [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 5 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.nhso.go.th/

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์การดำเนินงานและการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ พ.ศ. 2565 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 5 กรกฎาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.nhso.go.th

ศักดิ์สิทธิ์ คชกุลไพโรจน์. การศึกษารูปแบบการจัดสรรงบประมาณรักษาพยาบาลรายหัวของคนไทยจากกองทุนรัฐสวัสดิการให้กับสถานบริการสุขภาพในประเทศไทย. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2565; 18(3): 59-68.

De la Perrelle L, Radisic G, Cations M, et al. Costs and economic evaluations of Quality Improvement Collaboratives in healthcare: a systematic review. BMC Health Serv Res. 2020;20(1):155. doi:10.1186/s12913- 020- 4981- 5.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30