การประเมินผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชน จังหวัดอำนาจเจริญ
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง, การพัฒนาระบบ, การประเมินผลบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: 1) เพื่อประเมินผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชน จังหวัดอำนาจเจริญ ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ 2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และเพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงที่เหมาะสม จังหวัดอำนาจเจริญ
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยประเมินผลโดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST ของ Stufflebeam and Shinkfield (2007) เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย มีทั้งเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มเสี่ยง จำนวน 91 คน ญาติผู้ป่วย จำนวน 91 คน และภาคีเครือข่าย จำนวน 130 คน พื้นที่ 7 อำเภอในจังหวัดอำนาจเจริญ ดำเนินการศึกษา ระหว่างเดือนมกราคม 2566 ถึงเดือนมิถุนายน 2566
ผลการศึกษา: พบว่า 1) ด้านบริบท ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) ด้านกระบวนการ ประเมินการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) ด้านผลผลิต ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 5) ด้านผลกระทบ พบว่า ทักษะการดำรงชีวิตเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวชภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับ 4 (สามารถทำได้เมื่อช่วยเหลือบางครั้ง) ดัชนีความสุขของ ญาติผู้ป่วย ภาพรวมอยู่ในระดับปกติ 6) ด้านประสิทธิผลพบว่า ความพึงพอใจที่มีต่อระบบการเยี่ยมบ้าน ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และจำนวนผู้ป่วยระดับฉุกเฉินวิกฤตภาพรวมคงที่ 7) ด้านความยั่งยืนของระบบและ 8) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อของระบบ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก
สรุป: การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ก่อเกิดผลลัพธ์การพัฒนาเชิงบวกส่งผลให้ผู้ป่วย ครอบครัว และผู้เกี่ยวข้องอยู่ร่วมกันอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง สำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัดกรมสุขภาพจิต. กรุงเทพมหานคร: พรอสเพอรัสพลัส; 2563.
Whiting D, Lichtenstein P, Fazel S. Violence and mental disorders: a structured review of associations by individual diagnoses, risk factors, and risk assessment. Lancet Psychiatry 2021;8(2):150–61. doi: 10.1016/S2215-0366(20)30262-5.
Health Data Center. Medical and health archives system [online]. 2023 [cited 2023 March 12]; Available from: URL: https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php
Stufflebeam DL, Shinkfield AJ. Evaluation theory, models & applications. CA: Jossey-Bass; 2007.
อภิชัย มงคล. รายงานการวิจัยการพัฒนาและทดสอบดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทย (Version 2007). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2552.
พิทักษ์พล บุณยมาลิก. รายงานการวิจัยการพัฒนาแบบประเมินทักษะการดำรงชีวิตเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวช. วารสารโรงพยาบาลศรีธัญญา 2555;15(5):1–15.
Best JW. Research In Education. 2nded. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall; 1970.
บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น; 2560.
World Health Organization. Comprehensive mental health action plan 2013–2030 [online]. 2021 [cited 2023 March 12]; Available from: URL: https://www.aidsdatahub.org/sites/default/files/resource/who-comprehensive-mental-health-action-plan-2013-2030-2021.pdf
จุฑามาศ สุวรรณวัฒน์. การประเมินผลโครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนในการดูแลผู้พิการทางจิต: กรณีชุมชนกึ่งเมือง จังหวัดสงขลาที่ชาวไทยพุทธและมุสลิมอยู่ร่วมกัน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2562; 39(4):97–110.
วิภาวี จันทมัตตุการ. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรงเชิงรุกในชุมชนแบบครบวงจร. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2566;37(1):85–104.
Li J, Huang YJ, Ran MS, et al. Community-based comprehensive intervention for people with schizophrenia in Guangzhou, China: Effects on clinical symptoms, social functioning, internalized stigma and discrimination. Asian J Psychiatr 2018;34(1):21–30. doi: 10.1016/j.ajp.2018.04.017.
จุฑามณี ดุษฎีประเสริฐและคณะ. การวิเคราะห์ต้นทุน - ประสิทธิผลของระบบการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มเสี่ยงในสถานบริการระดับปฐมภูมิ เปรียบเทียบกับระบบบริการปกติ โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2561.
Kharawala S, Hastedt C, Podhorna J, et al. The relationship between cognition and functioning in schizophrenia: A semi-systematic review. Schizophr Res Cogn 2021;27:100–217. doi: 10.1016/j.scog.2021.100217.
Canty AL, Cao Y, Neumann D, et al. The functional significance of cognitive empathy and theory of mind in early and chronic schizophrenia. Psychiatry Res 2021;299:113852. doi: 10.1016/j.psychres.2021.113852.
Kilbourne AM, Beck K, Spaeth-Rublee B, et al. Measuring and improving the quality of mental health care: a global perspective. World Psychiatry 2018;17(1):30–8. doi: 10.1002/wps.20482.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์