การศึกษาผลการจัดการความปวดจากโรคมะเร็งในคลินิกระงับปวดและการดูแลแบบประคับประคอง โรงพยาบาลหัวหิน

ผู้แต่ง

  • เชิญพร พยอมแย้ม พ.บ., โรงพยาบาลหัวหิน

คำสำคัญ:

การจัดการความปวดจากโรคมะเร็ง, การดูแลแบบประคับประคอง, การตอบสนองต่อการรักษา

บทคัดย่อ

          ปัจจุบันคลินิกระงับปวดและการดูแลแบบประคับประคองโรงพยาบาลหัวหิน ได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งโดยเริ่มใช้แบบประเมินอาการ Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) ร่วมกับการดูแลผู้ป่วยแบบสหสาขา และการติดตามอาการอย่างเป็นระบบ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการดูแลความปวดจากโรคมะเร็งและอาการรบกวนต่าง ๆ ที่ 1 เดือนหลังจากเริ่มรักษา แสดงโดยจำนวนร้อยละของผู้ป่วยในกลุ่มที่ตอบสนองต่อการรักษา ซึ่งผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษาจะมีการลดลงของระดับความรุนแรงของอาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 จากค่าระดับความรุนแรงที่ประเมินในครั้งแรก

วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาไปข้างหน้าเชิงสังเกต กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งและมีความปวดที่มารับการรักษาที่คลินิกรายใหม่ 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินอาการต่างๆที่รบกวนผู้ป่วยโรคมะเร็ง Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) ในครั้งแรกที่ผู้ป่วยมารักษาและที่ 2 และ 4 สัปดาห์หลังจากเริ่มรักษา สถิติที่ใช้ในการวิจัยสำหรับการวิเคราะห์ผลลัพธ์คือ ระดับความปวดและระดับความรุนแรงของอาการต่างๆที่รบกวนผู้ป่วยวิเคราะห์ด้วย dependent t test

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยร้อยละ 22 ตอบสนองต่อการรักษาความปวดที่ 1 เดือนหลังเริ่มรักษาและค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของอาการปวดลดลง (5.83 ± 2.06 กับ 6.18 ± 2.58, p = .085) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของอาการรบกวนต่าง ๆ แย่ลงที่ระยะเวลาติดตามอาการ 1 เดือน (อาการเหนื่อย/อ่อนเพลีย 5.39 ± 1.89 กับ 3.92 ± 1.75, p = .045; อาการคลื่นไส้ 1.63 ± 2.23 กับ 0.68 ± 2.11, p = .049; อาการซึมเศร้า 4.85 ± 2.63 กับ 3.60 ± 2.38, p = .014; อาการวิตกกังวล 4.92 ± 2.27 กับ 3.85 ± 2.35, p = .001; อาการง่วงซึม 2.46 ± 1.88 กับ 0.44 ± 1.14, p < .001; อาการเบื่ออาหาร 5.57 ± 2.30 กับ 4.22 ± 2.29, p = .002; ความสบายดีทั้งกายและใจ 5.77 ± 1.92 กับ 4.86 ± 2.18, p = .019; และอาการเหนื่อยหอบ 3.34 ± 2.03 กับ 1.13 ± 1.59, p = .002) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: ในอนาคตควรมีการปรับปรุงการรักษาอาการรบกวนต่างๆแก่ผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น โดยจัดอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์รวมถึงพัฒนาระบบการใช้การแพทย์ทางไกลในการติดตามอาการ  

References

Wangnamthip S, Panchoowong S, Donado C, et al. The effectiveness of cancer pain management in a tertiary hospital outpatient pain clinic in Thailand: A prospective observational study. Pain Res Manag 2021:5599023. doi: 10.1155/2021/5599023.

Euasobhon P, Wangnamthip S, Payomyam C, et al. Cancer pain management: is it still problematic?. Siriraj Med J 2019;71(1):38–43. doi:10.33192/Smj.2019.07.

Yennurajalingam S, Kang HJ, Hui D, et al. Clinical response to an outpatient palliative care consultation in patients with advanced cancer and cancer pain. J Pain Symptom Manage 2012; 44(3):340–50. doi: 10.1016/j.jpainsymman.2011.09.014.

Caraceni A, Shkodra M. Cancer pain assessment and classification. Cancers (Basel) 2019;11(4): 510. doi: 10.3390/cancers11040510.

กิติพล นาควิโรจน์. วิธีการประเมินอาการต่างๆโดยใช้แบบประเมิน Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 14 มิถุนายน 2565]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.rama.mahidol.ac.th/fammed/th/palliativecare/tools/doctorpalliative2th.

Chinda M, Jaturapatporn D, Kirshen AJ, et al. Reliability and Validity of a Thai Version

of the Edmonton Symptom Assessment Scale (ESAS-Thai). J Pain Symptom Manage 2011;42(6): 954–60. doi: 10.1016/j.jpainsymman.2011.02.020.

Preechakoon B, Pakdevong N, Kongwattanakul S, et al. Symptom experience and symptom management of patients with advanced cancer and family caregivers. APHEIT J Nurs Health 2019;1(1):50–66. doi: 10.14456/ajnh.2019.4.

Farrar JT, Young Jr JP, LaMoreaux L, et al. Clinical importance of changes in

chronic pain intensity measured on an 11-point numerical pain rating scale. Pain 2001; 94(2):149–58. doi: 10.1016/S0304-3959(01)00349-9.

Zech DFJ, Grond S, Lynch J, et al. Validation of World Health Organization Guidelines for cancer pain relief: a 10-year prospective study. Pain 1995;63(1):65–76. doi: 10.1016/0304-3959(95)00017-M.

Carlson CL, Effectiveness of the World Health Organization cancer pain relief guidelines: an integrative review. J Pain Res 2016;9:515–34. doi: 10.2147/JPR.S97759.

กรมการแพทย์. แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาความปวดจากมะเร็ง. นนทบุรี: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2547.

กรมการแพทย์. คู่มือการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองและระยะสุดท้าย (สำหรับบุคลากรทางการแพทย์). นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2563.

Ferrell BR, Temel JS, Temin S, et al. Integration of palliative care into standard Oncology care: American society of clinical Oncology clinical practice guideline update. J Clin Oncol 2017;35(1):96–112. doi: 10.1200/JCO.2016.70.1474.

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29