ผลของการส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ ในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม

ผู้แต่ง

  • นรินทร์ พิพัฒนวรคุณ พย.ม., โรงพยาบาลนครปฐม
  • สหรัฐ สังข์ชวะสุทธิ์ พย.บ. โรงพยาบาลนครปฐม
  • สุรีรัตน์ ชาสมบัติ พย.บ. โรงพยาบาลนครปฐม
  • มยุรี คุ้มรักษา พย.บ., ส.บ. โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

การปฏิบัติการพยาบาล, ภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ, ผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังการส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ และเปรียบเทียบการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง

          รูปแบบการศึกษา: เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัดผล 2 แบบ คือ 1) แบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง การส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในพยาบาลวิชาชีพแบบสมัครใจ จำนวน 11 คน และ 2) แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมที่ได้รับยา สารน้ำ และส่วนประกอบของเลือดทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย จำนวน 100 ราย     แบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 50 ราย และกลุ่มทดลอง 50 ราย เครื่องมือ คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางคลินิก 2) แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 10 กลวิธี และ        3) แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 10 กิจกรรม มีค่าความตรงของเครื่องมือเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 และมีค่าความเที่ยงของเครื่องมือระหว่างผู้ประเมินในการวินิจฉัยการเกิดภาวะหลอดเลือดดำ     ส่วนปลายอักเสบมีค่าเท่ากับ 1 ดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที และไคสแควร์

          ผลการศึกษา: พบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาลเพิ่มขึ้นจาก 5.0 คะแนน (  = 5.0, SD = 0.77) เป็น 8.1 คะแนน (  = 8.1, SD = 0.83) และพบการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบลดลงจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 2

          สรุป: การปฏิบัติการพยาบาลตามแนวทางการส่งเสริมนี้ช่วยลดการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมได้ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมด้วยวิธีที่หลากหลายและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการปฏิบัติต่อไป

 

References

Yasuda H, Yamamoto R, Hayashi Y, et al. Occurrence and incidence rate of peripheral intravascular catheter-related phlebitis and complication in critically ill patients: a prospective cohort study (AMOR-VENUS study). J Intensive Care 2021;9(3):1–12. doi: 10.1186/s40560-020-00518-4.

ปราโมทย์ ถ่างกระโทก, ธนันต์ ศุภศิริ, นุชจารี จังวณิชชา, และคณะ. การประเมินการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำจากมุมมองของพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2562;31(1):98–108.

Ray-Baruel G, Cert G, Polit DF, et al. Infusion phlebitis assessment measures: A systematic review. J Eval Clin Pract 2014;20(2):191–202. doi: 10.1111/jep.12107.

นภสร ดวงสมสา. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ 2561;2(1):64–81.

Gorski LA, Hadaway L, Hagle ME, et al. Infusion therapy standards of practice. 8th ed. Norwood: Wolters Kluwer; 2021.

Eliopoulos C. Gerontological nursing. 9th ed. China: Wolters Kluwer; 2018.

มนรดา แข็งแรง, อัจฉราภรณ์ พันธุ์เวียง. การเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยวิกฤต. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2561;2(1):22–36.

ชมรมเครือข่ายพยาบาลผู้ให้สารน้ำแห่งประเทศไทย. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ. กรุงเทพมหานคร: พรี-วัน; 2561.

ชมรมเครือข่ายพยาบาลผู้ให้สารน้ำแห่งประเทศไทย. ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ. กรุงเทพมหานคร: พรี-วัน; 2563.

วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร, ดารารัตน์ ดำรงกุลชาติ, รัชนีย์ วงศ์แสน, และคณะ. การส่งเสริมการปฏิบัติของพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการจัดการสายสวนหลอดเลือดดำส่วนปลาย. พยาบาลสาร 2557;41(พิเศษ):71–87.

จรีณา คงพันธุ์, ผกากรอง พันธุ์ไพโรจน์. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการให้ยาที่มีความเสี่ยงสูงต่อ การปฏิบัติการพยาบาลและอุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลสงขลา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564;4(1):156–69.

สมพร อยู่ดี. ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยานอร์อิพิเนฟรินทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2564;5(1):62–72.

งานห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลนครปฐม. สถิติผู้ป่วย [เอกสารรายงานประจำปี]. นครปฐม: โรงพยาบาลนครปฐม; 2565.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, et al. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods 2007;39(2):175–91. doi: 10.3758/bf03193146.

Yasuda H, Yamamoto R, Hayashi Y, et al. Occurrence and incidence rate of peripheral intravascular catheter-related phlebitis and complication in critically ill patients: a prospective cohort study (AMOR-VENUS study). J Intensive Care 2021;9(3):1–12. doi: 10.1186/s40560-020-00518-4.

ปราโมทย์ ถ่างกระโทก, ธนันต์ ศุภศิริ, นุชจารี จังวณิชชา, และคณะ. การประเมินการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารน้ำจากมุมมองของพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2562;31(1):98–108.

Ray-Baruel G, Cert G, Polit DF, et al. Infusion phlebitis assessment measures: A systematic review. J Eval Clin Pract 2014;20(2):191–202. doi: 10.1111/jep.12107.

นภสร ดวงสมสา. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ 2561;2(1):64–81.

Gorski LA, Hadaway L, Hagle ME, et al. Infusion therapy standards of practice. 8th ed. Norwood: Wolters Kluwer; 2021.

Eliopoulos C. Gerontological nursing. 9th ed. China: Wolters Kluwer; 2018.

มนรดา แข็งแรง, อัจฉราภรณ์ พันธุ์เวียง. การเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยวิกฤต. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2561;2(1):22–36.

ชมรมเครือข่ายพยาบาลผู้ให้สารน้ำแห่งประเทศไทย. แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ. กรุงเทพมหานคร: พรี-วัน; 2561.

ชมรมเครือข่ายพยาบาลผู้ให้สารน้ำแห่งประเทศไทย. ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลผู้ป่วยได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำ. กรุงเทพมหานคร: พรี-วัน; 2563.

วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร, ดารารัตน์ ดำรงกุลชาติ, รัชนีย์ วงศ์แสน, และคณะ. การส่งเสริมการปฏิบัติของพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในการจัดการสายสวนหลอดเลือดดำส่วนปลาย. พยาบาลสาร 2557;41(พิเศษ):71–87.

จรีณา คงพันธุ์, ผกากรอง พันธุ์ไพโรจน์. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการให้ยาที่มีความเสี่ยงสูงต่อ การปฏิบัติการพยาบาลและอุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลสงขลา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี 2564;4(1):156–69.

สมพร อยู่ดี. ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับยานอร์อิพิเนฟรินทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2564;5(1):62–72.

งานห้องผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลนครปฐม. สถิติผู้ป่วย [เอกสารรายงานประจำปี]. นครปฐม: โรงพยาบาลนครปฐม; 2565.

Faul F, Erdfelder E, Lang AG, et al. G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behav Res Methods 2007;39(2):175–91. doi: 10.3758/bf03193146.

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29