การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการสถานการณ์ โรคโควิด-19 ของบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตจังหวัดนครนายก

ผู้แต่ง

  • ไพโรจน์ กวินเลิศวัฒนา ศศ.ม., สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก

คำสำคัญ:

โรคโควิด-19, การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจ, ศักยภาพในการบริหารจัดการ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 ของบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตจังหวัดนครนายก

          วิธีการศึกษา: การวิจัยและพัฒนา ใช้การวิจัยแบบผสานวิธีโดยใช้ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1) ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงสำรวจเพื่อสำรวจสภาพปัญหาการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 140 คน 2) ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 ของบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 13 คน และ 3) ระยะที่ 3 การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 ของบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 35 คน

วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติ independent sample t test, one-way ANOVA และ paired t test กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          ผลการศึกษา: 1) ปัญหาการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 ของบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 70.0 (mean = 119.05, SD = 24.88)

          2) รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 คือ SIM-CPR Model ประกอบด้วย การสนับสนุนให้เกิดแรงจูงใจในตนเอง การสนับสนุนข้อมูลข่าวสาร การเสริมสร้างขวัญกำลังใจ การทำให้เห็นคุณค่าในงาน การให้โอกาสในงาน และการสนับสนุนทรัพยากร

          3) ประสิทธิผลของรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด-19 จากคะแนนเฉลี่ย 7.14 (SD = 1.53) เพิ่มขึ้นเป็น 10.25 (SD = 1.09) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p-value < .001) ทัศนคติต่อการ เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด-19 จากคะแนนเฉลี่ย 32.62 (SD = 2.27) เพิ่มขึ้นเป็น 37.80 (SD = 1.82) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p-value < .001) และศักยภาพในการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p-value < .001) โดยก่อนการพัฒนามีคะแนนเฉลี่ย 120.42 (SD = 4.11) หลังการพัฒนามีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 178.60 (SD = 5.97)

          สรุป: ควรนำรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 ของบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่ผู้วิจัยค้นพบคือ SIM-CPR Model ได้แก่ การสนับสนุนให้เกิดแรงจูงใจในตนเอง (S: Support for self-motivation) การสนับสนุนข้อมูลข่าวสาร (I: Information support) การเสริมสร้างขวัญกำลังใจ (M: Morale support) การทำให้เห็นคุณค่าในงาน (C: Creating value in work) การให้โอกาสในงาน (P: Providing job opportunities) และการสนับสนุนทรัพยากร (R: Resource support) ไปใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 หรือสถานการณ์โรคติดต่ออุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ ตลอดจนภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป

 

References

กระทรวงสาธารณสุข. แผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 สู่โรคประจำถิ่น. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2565.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่อซึ่งต้องเฝ้าระวัง. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139, ตอนพิเศษ 223 ง. (ลงวันที่ 20 กันยายน 2565).

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก. รายงานสถานการณ์โรคโควิด-19 จังหวัดนครนายก. [เอกสารอัดสำเนา]. นครนายก: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครนายก; 2566.

Gibson CH. A concept analysis of empowerment. J Adv Nurs 1991;16(3):354–61.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining sample size for research activities. Educ Psychol Meas 1970;30(3):607–610.

อัจศรา ประเสริฐสิน. เครื่องมือการวิจัยทางการศึกษาและสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2563.

Best JW, Kahn JV. Research in education. 3rd ed. New Jersey: Prentice hall; 1986.

Crabtree BF, Miller WL. Doing qualitative research: multiple strategies. Thousand Oaks, CA: Sage; 1992.

Bloom BS. Human characteristics and school learning. New York: Mc Graw-Hill; 1976.

เกรียงไกร เตชะวรางกุล. ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและชุมชนในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรค โควิด-19 ในระยะที่ 1 กรณีศึกษา: ความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปง และชุมชนบ้านปง 3 ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ [สารนิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2563.

บัณฑิต เกียรติจตุรงค์. การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อำเภอเมืองยาง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น 2564;3(2):193–206.

รัชนี เต็มอุดม, ศิริลักษณ์ ใจช่วง, กนกพร ไทรสุวรรณ์, และคณะ. การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในจังหวัดนครพนม. วารสารสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2564;28(1):1–13.

พยอม ทองใบ, อารี บุตรสอน. ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารศูนย์อนามัย ที่ 9 2565;16(3):741–57.

ดวงดาว สารัตน์, ประภัทรสร พิมพ์ดี, ดวงเดือน ศรีมาดี, และคณะ. การพัฒนาระบบและกลไกการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอําเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2565;3(2):108–22.

เกษมสุข กันชัยภูมิ. การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ด้วยกลไก การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอคอนสวรรค์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2565;7(3):66–75.

ทนงศักดิ์ หลักเขต. การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อําเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ด้วยกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอําเภอ (พชอ.). วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2565;3(3):61–69.

สายัณห์ แสวงสุข. รูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโควิด 2019 ของโรงพยาบาลสนามและศูนย์พักคอยกรณีศึกษาจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2565;8(3):155–71.

จรัญ มาลาศรี. ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตสุขภาพที่ 9. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น 2566;30(1):165–178.

พิชญา แสงทองทิพย์, ยุวธิดา ชาปัญญา. การเสริมสร้างพลังอำนาจครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์ 2565;6(2):53–67.

สำราญ เจริญผล. การพัฒนากระบวนการเพิ่มศักยภาพในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตจังหวัดเพชรบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5 2566;42(3):417–430.

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29