สาเหตุและผลลัพธ์การรักษาของผู้ป่วยตับวายเฉียบพลันในช่วง 5 ปีย้อนหลังในโรงพยาบาลราชบุรี
คำสำคัญ:
ตับวายเฉัยบพลัน, ผลลัพธ์, ตัวบ่งชี้บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสาเหตุ ผลการรักษา อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยภาวะตับวายเฉียบพลันของโรงพยาบาลราชบุรี ในช่วง พ.ศ. 2556–2560 และหาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลัง โดยใช้ข้อมูลจากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยโรคตับวายเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลราชบุรี โดยศึกษาสาเหตุ โรคร่วม การรักษาที่ผู้ป่วยได้รับ ผลการรักษาภาวะแทรกซ้อน และหาปัจจัยที่มีผลต่ออัตราเสียชีวิตของผู้ป่วย ใช้วิธีไคสแควร์วิเคราะห์ข้อมูล
ผลการศึกษา: จากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 พบผู้ป่วยตับวายทั้งหมด 745 คน เป็นตับวายเฉียบพลัน 21 คน คิดเป็นร้อยละ 2.8 ของผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยภาวะตับวาย เป็นผู้ป่วยหญิง ร้อยละ 61.9; อายุเฉลี่ย 47.1 ปี; สาเหตุของตับวายที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งกระจายมาที่ตับ คิดเป็นร้อยละ 33.3, ไวรัสตับอักเสบ ร้อยละ 28.6, และพิษจากยาพาราเซตามอล ร้อยละ 14.3; มีผู้ป่วยเสียชีวิตทั้งหมด 15 คน คิดเป็นร้อยละ 71.4, โดยมีผู้ป่วย 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 52.4 ที่เสียชีวิตภายใน 30 วันหลังจากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล; ผู้ป่วย 1 คน คิดเป็นร้อยละ 0.05 ถูกส่งตัวไปเข้าคิวเพื่อรอปลูกถ่ายตับ; ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุด คือ ไตวายเฉียบพลัน ร้อยละ 42.9, ปอดติดเชื้อ ร้อยละ 28.6, ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ร้อยละ 23.8, และติดเชื้อในกระแสเลือด ร้อยละ 19 โดยเมื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วย พบว่าไม่มีปัจจัยใดที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พบว่าผู้ป่วยที่เสียชีวิตมีแนวโน้มที่พบภาวะแทรกซ้อนมากกว่า
สรุป: การศึกษานี้พบว่าผู้ป่วยตับวายเฉียบพลันมีอัตราการเสียชีวิตสูงและผลการรักษาไม่ดี โดยสาเหตุของตับวายเฉียบพลันพบจากมะเร็งกระจายมาที่ตับมากที่สุด ส่วนปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตไม่พบชัดเจน แต่มีแนวโน้มพบการติดเชื้อมากกว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิต
References
Polson J, Lee WM. AASLD position paper: The management of acute liver failure. Hepatology 2005;41(5):1179–97. doi: 10.1002/hep.20703.
Hiramatsu A, Takahashi S, Aikata H, et al. Etiology and outcome of acute liver failure: retrospective analysis of 50 patients treated at a single center. J Gastroenterology Hepatol 2008;23:1216–22. doi: 10.1111/j.1440-1746.2008.05402.x.
Adukauskiene D, Dockiene I, Naginiene R, et al. Acute liver failure in Lithuania. Medicina (Kaunas) 2008;44(7):536–40.
Ichai P, Samuel D. Epidemiology of liver failure. Clin Res Hepatol Gastroenterol 2011;35(10):610–17. doi: 10.1016/j.clinre.2011.03.010.
O'Grady JG, Schalm SW, Williams R. Acute liver failure: Redefining the syndromes. Lancet 1993;342(8866):273–5. doi: 10.1016/0140-6736(93)91818-7.
Marudanayagam R, Shanmugam V, Gunson B, et al. Aetiology and outcome of acute liver failure. HPB (Oxford) 2009;11(5):429–34. doi: 10.1111/j.1477-2574.2009.00086.x
Vasques F, Cavazza A, Bernal W. Acute liver failure. Curr Opin Crit Care 2022;28(2):198–207. doi: 10.1097/MCC.0000000000000923.
Tujios S, Stravitz RT, Lee WM. Management of acute liver failure: Update 2022. Semin Liver Dis 2022;42(3):362–78. doi: 10.1055/s-0042-1755274.
Cordoba J, Dhawan A, Larsen FS, et al. EASL clinical practical guidelines on the management of acute (fulminant) liver failure. J Hepatol 2017;66(5):1047–81. doi: 10.1016/j.jhep.2016.12.003.
Polson J. Assessment of prognosis in acute liver failure. Semin Liver Dis 2008;28(2):218–25. doi: 10.1055/s-2008-1073121.
Thanapirom K, Treeprasertsuk S, Soonthornworasiri N, et al. The incidence, etiologies, outcomes, and predictors of mortality of acute liver failure in Thailand: A population-base study. BMC Gastroenterol 2019;19(1):18–24. doi: 10.1186/s12876-019-0935-y.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์