ผลของยา Angiotensin Receptor Blocker/Neprilysin Inhibitor (ARNI) เมื่อรับประทานคู่กับยา Sodium Glucose Co-Transporter Subtype 2 Inhibitor (SGLT2i) ในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวที่มีภาวะหัวใจบีบตัวผิดปกติในโรงพยาบาลราชบุรี
คำสำคัญ:
ภาวะหัวใจล้มเหลวที่มีหัวใจบีบตัวผิดปกติ, ยาต้านภาวะหัวใจล้มเหลว, การนอนโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลวบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของยาต้านหัวใจล้มเหลวแบบใหม่ 2 ชนิด คือ angiotensin receptor blocker/neprilysin inhibitor (ARNI) และ sodium glucose co-transporter subtype 2 inhibitor (SGLT2i) เมื่อให้ร่วมกันในขนาดที่เหมาะสมในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวว่าจะมีผลช่วยลดอุบัติการณ์ของการนอนโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลวหรือไม่ และการนอนโรงพยาบาลครั้งแรกของผู้ป่วยจะมีระยะเวลานานเท่าใดนับจากที่ผู้ป่วยได้รับยาทั้ง 2 ชนิด ในขนาดที่เหมาะสมในรูปแบบ GDMT
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2561 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 โดยการทบทวนเวชระเบียนในผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคหัวใจล้มเหลวของโรงพยาบาลราชบุรี โดยศึกษาถึงการที่ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากภาวะหัวใจล้มเหลว และระยะเวลาที่ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษานับจากที่ผู้ป่วยได้ยาในขนาดที่เหมาะสมแล้ว
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยทั้งหมด 242 คน แบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับยาทั้ง ARNI และ SGLT2i มีจำนวน 137 คน และกลุ่มที่ได้รับยาทั้ง 2 ชนิด มีจำนวน 105 คน โดยข้อมูลพื้นฐานของทั้ง 2กลุ่ม ได้แก่ อายุ เพศ โรคร่วมที่ผู้ป่วยเป็น รวมถึงข้อมูลของการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ระบบหัวใจและหลอดเลือด ผ่านทางผนังทรวงอกและข้อมูลของการผลการตรวจสวนหัวใจและยาอื่นๆ ของผู้ป่วยที่รับประทานร่วมด้วยพบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และจากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าอัตราการเข้ารับการรักษาแบบผู้ป่วยในจากภาวะหัวใจล้มเหลวไม่มีความแตกต่างกันในช่วง 45 วันแรกของการได้รับยา แต่หลังจาก 45 วันไปแล้ว มีแนวโน้มที่ดีว่ายาน่าจะช่วยลดอัตราการนอนโรงพยาบาลได้ และไม่พบผลแทรกซ้อนที่รุนแรงขณะที่ผู้ป่วยได้รับยาเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับยา
สรุป: ผู้ป่วยที่ได้รับยาทั้ง 2 ชนิดไม่ช่วยลดอัตราการนอนโรงพยาบาลจากภาวะหัวใจล้มเหลวในช่วง 45 วันแรก แต่มีแนวโน้มว่าจะดีขึ้นในช่วงหลังจาก 45 วันไปแล้ว แต่ยังไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยไม่มีผลแทรกซ้อน หรืออาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงใดๆ ในระหว่างการศึกษา
References
Dickstein K. ESC guidelines for the diagnosis and treatment of acute and chronic heart failure 2008: application of natriuretic peptides: reply. Eur Heart J 2008;30(3):383. doi.org/10.1093/eurheartj/ehn561
Hunt SA, Abraham WT, Chin MH, et al. 2009 Focused update incorporated into the ACC/AHA 2005 guidelines for the diagnosis and management of heart failure in adults a report of the American College of Cardiology Foundation/American Heart Association Task Force on Practice Guidelines developed in collaboration with the International Society for Heart and Lung Transplantation. J Am Coll Cardiol 2009;53(15):e1–90. doi.org/10.1016/j.jacc.2008.11.013
Laothavorn P, Hengrussamee K, Kanjanavanit K. Thai acute decompensated heart failure registry (Thai ADHERE). CVD 2010;5:89–95.
McMurray JJV, Packer M, Desai AS, et al. Angiotensin-neprilysin inhibition versus enalapril in heart failure. N Engl J Med 2014;371(11):993–1004. doi: 10.1056/NEJMoa1409077.
McMurray JJV, Solomon SD, Inzucchi SE, et al. Dapagliflozin in patients with heart failure and reduced ejection fraction. N Engl J Med 2019;381(21):1995–2008. doi: 10.1056/NEJMoa1911303
Neal B, Perkovic V, Matthews DR. Canagliflozin and cardiovascular and renal events in type 2 diabetes. N Engl J Med 2017;377(21):2099. doi: 10.1056/NEJMc1712572.
Zinman B, Wanner C, Lachin JM, et al. Empagliflozin, cardiovascular outcomes, and mortality in type 2 diabetes. N Engl J Med 2015;373(22):2117–28. doi: 10.1056/NEJMoa1504720.
Blonde L, Umpierrez GE, Reddy SS, et al. American association of clinical endocrinology clinical practice guideline: developing a diabetes mellitus comprehensive care plan-2022 update. Endocr Pract 2022;28(10):923–1049. doi: 10.1016/j.eprac.2022.08.002.
Schrier RW, Abraham WT. Hormones and hemodynamics in heart failure. N Engl J Med 1999;341(8):577–85. doi: 10.1056/NEJM199908193410806.
Krum H, Abraham WT. Heart failure. Lancet 2009;373(9667):941–55. doi: 10.1016/S0140-6736(09)60236-1.
Mann DL. Mechanisms and models in heart failure: A combinatorial approach. Circulation 1999;100(9):999–1008. doi: 10.1161/01.cir.100.9.999.
Konstam MA, Kramer DG, Patel AR, et al. Left ventricular remodeling in heart failure: current concepts in clinical significance and assessment. JACC Cardiovasc Imaging 4(1):98–108. doi: 10.1016/j.jcmg.2010.10.008.
Yingchoncharoen T, Kanjanavanich R. Heart Failure Council of Thailand (HFCT) heart failure guideline: pharmacologic treatment of chronic heart failure - part II. J Med Assoc Thai 2019;102(3):368–72.
McMurray JJ, Packer M, Desai AS, et al. Angiotensin-neprilysin inhibition versus enalapril in heart failure. N Engl J Med 2014; 371(11):993–1004. doi: 10.1056/NEJMoa1409077.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์