อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่ดื้อต่อยาโคลิสติน ของผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
การติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบ, ปัจจัยเสี่ยง, ผู้ป่วยที่เข้ารักษาในโรงพยาบาล, ยาต้านจุลชีพกลุ่มโคลิสตินบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่ดื้อต่อยาต้านจุลชีพกลุ่มโคลิสติน ในผู้ป่วยที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลสมุทรปราการ
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังแบบมีกลุ่มเปรียบเทียบ ใช้อัตราส่วนกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมเป็น 1:2 กลุ่มศึกษา คือ ผู้ป่วยที่มีผลเพาะเชื้อยืนยันการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่ดื้อต่อโคลิสติน จำนวน 136 ราย และกลุ่มเปรียบเทียบ คือ ผู้ป่วยที่มีผลเพาะเชื้อยืนยันการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่ดื้อต่อยาต้านจุลชีพกลุ่มอื่น ยกเว้นโคลิสติน จำนวน 272 ราย เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์และผลเพาะเชื้อจากห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติเชิงพรรณนาและหาความสัมพันธ์ด้วยสถิติเชิงอนุมาน multiple logistic regression กำหนดนัยสำคัญทางสถิติ p < .05
ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบอุบัติการณ์การติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่ดื้อต่อยาโคลิสติน 0.36 ต่อ 1,000 วันนอน ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่ดื้อต่อยาโคลิสติน ได้แก่ อายุเกิน 70 ปี; มีโรคร่วมเบาหวาน, ไตวายเรื้อรังระยะ 3 ขึ้นไป; ใส่สายสวนปัสสาวะ, สายสวนทางหลอดเลือดดำ; วันนอนโรงพยาบาลมากกว่า 7 วัน; มีประวัติได้รับยาต้านจุลชีพมาก่อนใน 1 เดือน โดยเฉพาะกลุ่มเซฟาโลสปอริน, ฟลูโอโรควิโนโลน, และคาร์บาพีเนม พบมีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่ดื้อต่อยา โคลิสติน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สรุป: ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว ควรมีมาตรการในการดูแลผู้ป่วย เพื่อควบคุมป้องกันการติดเชื้อและแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่ดื้อต่อยาต้านจุลชีพกลุ่มโคลิสติน
References
Antimicrobial Resistance Collaborators. Global burden of bacterial antimicrobial resistance in 2019: a systematic analysis. Lancet 2022;399(10325):629–55. doi: 10.1016/S0140-6736(21)02724-0.
Center for Disease Control and Prevention. Antibiotic resistance threats in the United States, 2019. Atlanta, GA: U.S Department of Health and Human Services, CDC; 2019.
ภานุมาศ ภูมาศ, วิษณุ ธรรมลิขิตกุล, ภูษิต ประคองสาย, และคณะ. ผลกระทบด้านสุขภาพและเศรษฐศาสตร์จากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย: การศึกษาเบื้องต้น. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2555;6(3):352–60.
กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. แผนยุทธศาสตร์และจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560–2564. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
นิตยา สิงห์พลทัน. อุบัติการณ์การดื้อยาโคลิสตินในเชื้อ Enterobacteriaceae สายพันธุ์ที่ดื้อยา กลุ่ม carbapenems. วารสารเทคนิคการแพทย์ 2563;48(2):7394–406.
Son SJ, Huang R, Squire CJ, et al. MCR-1: a promising target for structure-based design of inhibitors to tackle polymyxin resistance. Drug Discov Today 2019;24(1):206–16. doi: 10.1016/j.drudis.2018.07.004.
Paveenkittiporn W, Lyman M, Biedron C, et al. Molecular epidemiology of carbapenem-resistant Enterobacterales in Thailand, 2016–2018. Antimicrob Resist Infect Control 2021;10(1):88. doi: 10.1186/s13756-021-00950-7.
Paveenkittiporn W, Kampumphol W, Ungcharoen R, et al. Whole-genome sequencing of clinically isolated carbapenem-resistant Enterobacterales harboring mcr genes in Thailand, 2016–2019. Front Microbiol 2021;11:586368. doi: 10.3389/fmicb.2020.586368
Trebosc V, Gartenmann S, Tolzl M, et al. Dissecting colistin resistance mechanisms in extensively drug-resistant Acinetobacter baummanii clinical isolates. mBio 2019;10(4):e01083–19. doi: 10.1128/mBio.01083-19.
ศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาแห่งชาติ (NARST) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. สถานการณ์เชื้อดื้อยาของประเทศไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2567]; เข้าถึงได้จาก: URL: http://narst.dmsc,moph.go.th/data/AMR%202000-2020-06M.pdf.
Elham B, Fawzia A. Colistin resisance in Acinetobacter baumannii isolated from critically ill patients: clinical characteristics, antimicrobial susceptibility and outcome. Afr Health Sci 2019;19(3):2400–6. doi: 10.4314/ahs.v19i3.13
Papathnakos G, Andrianopoulos I, Papatthanasiou A, et al. Colistin-Resistant Acinetobacter Baumannii bacteremia: a serious threat for critically ill patients. Microorganisms 2020;8(2):287. doi: 10.3390/microorganisms8020287
Vasesi D, Gupta V, Gupta P, et al. Risk factor and resistance profile of colistin resistant Acinetobacter baumannii and Klebsiella pneumoniae. Indian J Med Microbiol 2024;47:100486. doi: 10.1016/j.ijmmb.2023.100486.
Richter SE, Miller L, Uslan DZ, et al. Risk factors for Colistin Resistance among Gram-Negative Rods and Klebsiella pneumoniae isolates. J Clin Microbiol 2018;56(9):e00149–18. doi: 10.1128/JCM.00149-18
Kasa P, Mahindroo J, Veeraraghavan B, et al. Evaluation of risk factors for colistin resistance among uropathogenic isolates of Escherichia coli and Klebsiella pneumoniae: a case-control study. J Med Microbiol 2019;68(6):837–47. doi: 10.1099/jmm.0.000986.
ชาคริต ขันแข็ง, พีชานิกา ชอบจิตต์, อนุศักดิ์ เกิดสิน, และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการติดเชื้อแบคทีเรียแกรมลบที่ดื้อต่อยาโคลิสตินของผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2565;11(2):66–78.
Giacobbe DR, Bono VD, Trecarichi EM, et al. Risk factors for bloodstream infections due to colistin-resistant KPC producing Klebsiella pneumoniae: results from a multicenter case-control-control study. Clin Microbiol Infect 2015;21(12):1106e1–8. doi: 10.1016/j.cmi.2015.08.001.
Yilmaz GR, Dizbay M, Guven T, et al. Risk factors for infection with colistin resistant gram-negative microorganisms: a multicenter study. Ann Saudi Med 2016;36(3):216–22. doi: 10.5144/0256-4947.2016.216
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์