ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องต่อการคลอดก่อนกำหนดที่เกิดขึ้นเอง ในสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจคัดกรองความยาวของปากมดลูก ที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • วริน กิตตินภดล พ.บ., โรงพยาบาลสมุทรสาคร

คำสำคัญ:

การคลอดก่อนกำหนดที่เกิดขึ้นเอง, ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องต่อการคลอดก่อนกำหนด, ความยาวของปากมดลูก

บทคัดย่อ

         วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องต่อการคลอดก่อนกำหนดที่เกิดขึ้นเอง ในสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจคัดกรองความยาวของปากมดลูกที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร

         วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนแผนกฝากครรภ์ของสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการตรวจคัดกรองความยาวปากมดลูกทางช่องคลอดและมีปัจจัยเสี่ยง ที่โรงพยาบาลสมุทรสาคร ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เป็นระยะเวลา 6 ปี กลุ่มตัวอย่างถูกเลือกแบบเจาะจงทั้งหมดตามเกณฑ์คัดเข้า เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ประวัติการตั้งครรภ์ ปัจจัยเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด ผลการคลอด และการได้รับยาเหน็บโปรเจสเตอโรน แจกแจงข้อมูลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องต่อการคลอดก่อนกำหนดที่เกิดขึ้นเองด้วยสถิติ multiple logistic regression กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .05

ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 264 ราย เป็นกลุ่มคลอดก่อนกำหนด 68 ราย (ร้อยละ 25.8) และกลุ่มคลอดครบกำหนด 196 ราย (ร้อยละ 74.2) พบว่าปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องต่อการคลอดก่อนกำหนดที่เกิดขึ้นเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ 1) ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์น้อยกว่า 18.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตร (Adj. OR = 11.39, 95% CI = 2.44–53.10, p = .002), 2) ประวัติแท้งและขูดมดลูก (Adj. OR = 6.01, 95% CI = 1.08–33.45, p = .040), และ 3) กลุ่มที่มีประวัติคลอดก่อนกำหนดและได้รับยาโปรเจสเตอโรนเหน็บทางช่องคลอด พบว่ามีการคลอดก่อนกำหนดน้อยกว่ากลุ่มที่มีประวัติและไม่ได้เหน็บยา ร้อยละ 97.0 (Adj. OR = 0.03, 95% CI = 0.01–0.16, p < .001)

         สรุป: ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดที่เกิดขึ้นเอง ได้แก่ ดัชนีมวลกายก่อนตั้งครรภ์น้อยกว่า 18.5 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และมีประวัติแท้งและขูดมดลูก ส่วนปัจจัยที่ลดความเสี่ยงคือ กลุ่มที่มีประวัติคลอดก่อนกำหนดและได้รับยาโปรเจสเตอโรนเหน็บทางช่องคลอด ดังนั้นบุคลากรที่เกี่ยวข้องจึงต้องให้ความสำคัญในการซักประวัติคัดกรองความเสี่ยงตั้งแต่ระยะแรกที่ฝากครรภ์เพื่อให้การดูแลรักษาได้ครบถ้วนและต่อเนื่อง ร่วมกับการส่งเสริมสุขภาพการดูแลตนเอง และการบริการฝากครรภ์คุณภาพต่อไป   

References

Williams JW. Preterm birth. In: Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, et al, editors. Williams Obstetrics. 25th ed. New York: McGraw-Hill; 2018. 803–914.

WHO. Preterm birth [Internet]. 2024 [cited 2024 February 2]; Available from: URL: www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/preterm-birth.

Chawanpaiboon S, Vogel JP, Moller AB, et al. Global, regional, and national estimates of levels of preterm birth in 2014: a systematic review and modelling analysis. Lancet Glob Health 2019;7(1):e37–46. doi: 10.1016/S2214-109X(18)30451-0.

พัญญู พันธ์บูรณะ. การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. ใน: ถวัลวงศ์ รัตนศิริ, ฐิติมา สุนทรสัจ, สมศักดิ์ สุทัศน์วรวุฒิ, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์ฉุกเฉิน. กรุงเทพมหานคร: ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2555.

วรพงศ์ ภู่พงศ์, เยื้อน ตันนิรันดร. การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. ใน: สุวิทย์ บุณยะเวชชีวิน, เยื้อน ตันนิรันดร, บรรณาธิการ. เวชปฏิบัติทางสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

HDC กระทรวงสาธารณสุข. กลุ่มรายงานมาตรฐานอนามัยแม่และเด็ก [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567]; เข้าถึงได้จาก: URL: hdcservice. moph.go.th/ hdc/reports/page.php?cat_id=1ed90bc32310b 503b7ca9b32af425ae5.

เยื้อน ตันนิรันดร. การป้องกันการคลอดก่อนกำหนดที่เกิดขึ้นเอง (Prevention of spontaneous preterm birth). ใน: พธู ตัณฑ์ไพโรจน์, นภดล ไชยสิทธิ์, บรรณาธิการ. OB & GYN: update & practical. กรุงเทพมหานคร: คอนเซ็พท์ เมดิคัส; 2555.

ณัฐนันท์ วิไลเรืองชูวงษ์. ความสัมพันธ์ของการคลอดก่อนกำหนดและความยาวของปากมดลูกในไตรมาสที่สองของสตรีตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลชลบุรี. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2564;46(2):85–92.

Sooklim R, Krajangpong K, Cheawchusak W. The prevalence and pregnancy outcomes of short cervix in low risk singleton pregnancy from universal cervical length screening. Vajira Med J 2020;64(1):23–32. doi: 10.14456/vmj.2020.3

ฐิตินันท์ สมุทรไชยกิจ, สุนทรี คงสวัสดิ์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในการป้องกันการคลอดทารกก่อนกำหนด ในสตรีตั้งครรภ์เดี่ยวที่มีประวัติคลอดทารกก่อนกำหนดหรือปากมดลูกไม่แข็งแรง. ศรีนครินทร์เวชสาร2565;37(6):1–9.

Berger R, Rath W, Abele H, et al. Reducing the risk of preterm birth by ambulatory risk factor management. Dtsch Arztebl Int 2019;116(50):858–864. doi: 10.3238/arztebl.2019.0858.

Bryce E, Gurung S, Tong H, et al. Population attributable fractions for risk factors for spontaneous preterm births in 81 low- and middle-income countries: A systematic analysis. J Glob Health 2022;12:04013. doi: 10.7189/jogh.12.04013.

Gulersen M, Divon MY, Krantz D, et al. The risk of spontaneous preterm birth in asymptomatic women with a short cervix (≤25 mm) at 23−28 weeks’ gestation. Am J Obstet Gynecol MFM 2020;2(2):100059. doi: 10.1016/j.ajogmf.2019.100059.

Lee KS, Ahn KH. Artificial neural network analysis of spontaneous preterm labor and birth and its major determinants. J Korean Med Sci 2019;34(16):e128. doi: 10.3346/jkms.2019.34.e128.

Silva TV, Borovac-Pinheiro A, Cecatti JG, et al. Association between cervical length and gestational age at birth in singleton pregnancies: a multicentric prospective cohort study in the Brazilian population. Reprod Health 2023;20(1):47. doi: 10.1186/s12978-022-01557-w.

Schuster HJ, Peelen MJCS, Hajenius PJ, et al. Risk factors for spontaneous preterm birth among healthy nulliparous pregnant women in the Netherlands, a prospective cohort study. Health Sci Rep 2022;5(3):e585. doi: 10.1002/hsr2.585.

Cornish RP, Magnus MC, Urhoj SK, et al. Maternal pre-pregnancy body mass index and risk of preterm birth: a collaboration using large routine health datasets. BMC Med 2024;22(1):10. doi: 10.1186/s12916-023-03230-w.

Cantarutti A, Franchi M, Compagnoni MM, et al. Mother’s education and the risk of several neonatal outcomes: an evidence from an Italian population-based study. BMC Pregnancy Childbirth 2017;17(1):221. doi: 10.1186/s12884-017-1418-1.

Lemmers M, Verschoor MAC, Hooker AB, et al. Dilatation and curettage increases the risk of subsequent preterm birth: a systematic review and meta-analysis. Hum Reprod 2016;31(1):34–45. doi: 10.1093/humrep/dev274.

EPPPIC. Evaluating Progestogens for Preventing Preterm birth International Collaborative: meta-analysis of individual participant data from randomised controlled trials. Lancet 2021; 397(10280):1183–94. doi: 10.1016/S0140-6736(21)00217-8.

Care A, Nevitt SJ, Medley N, et al. Interventions to prevent spontaneous preterm birth in women with singleton pregnancy who are at high risk: systematic review and network meta-analysis. BMJ 2022;376:e064547. doi:10.1136/bmj-2021-064547

เผยแพร่แล้ว

2024-09-27