[Retracted Article] ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะถุงเลนส์ตาขุ่นหลังการผ่าตัดต้อกระจกของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดต้อกระจก โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
คำสำคัญ:
ภาวะถุงเลนส์ตาขุ่น, การผ่าตัดต้อกระจก, อุบัติการณ์, ปัจจัยเสี่ยงบทคัดย่อ
ภาวะถุงเลนส์ตาขุ่นหลังผ่าตัดต้อกระจกเป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามารถพบได้บ่อยที่สุดภาวะหนึ่งที่เกิดตามหลังการผ่าตัดต้อกระจกในปัจจุบัน มีผลทำให้การมองเห็นลดลง การศึกษาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะถุงเลนส์ตาขุ่นจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันหรือลดการเกิดภาวะนี้ลงได้
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของการเกิดภาวะถุงเลนส์ตาขุ่นตามหลังการผ่าตัดต้อกระจกในโรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี และเพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะถุงเลนส์ตาขุ่นตามหลังการผ่าตัดต้อกระจก
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลัง (Retrospective study) ในผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดต้อกระจก ในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ถึง 30 กันยายน พ.ศ.2556 เป็นระยะเวลา 1 ปี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ นำเสนอข้อมูลด้วยร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ chi-square test
ผลการศึกษา: อุบัติการณ์ของการเกิดภาวะถุงเลนส์ตาขุ่นตามหลังการผ่าตัดต้อกระจกในโรงพยาบาลดำเนินสะดวกอยู่ที่ร้อยละ 4.98 ที่ 1 ปี ร้อยละ 18 ที่ 3 ปี และร้อยละ 28 ที่ มากกว่า 3 ปีหลังผ่าตัด (73 คน ใน 261 คน) ด้านปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะถุงเลนส์ตาขุ่นหลังผ่าตัดต้อกระจก ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีระดับการมองเห็น (visual acuity) ก่อนการผ่าตัดในกลุ่มการมองเห็นที่ลดลงอย่างรุนแรง (severe visual impairment or blindness) VA logMAR >1.00 เกิดภาวะถุงเลนส์ตาขุ่นน้อยกว่า (เกิดร้อยละ 13.7 ไม่เกิดร้อยละ 31.4; p <0.05) ผู้ป่วยที่มีต้อกระจกชนิด mature cataract เกิดภาวะถุงเลนส์ตาขุ่นที่น้อยกว่า (เกิดร้อยละ 2.7 ไม่เกิดร้อยละ 12.2; p <0.05) ผู้ป่วยที่มีภาวะสายตาสั้น (myopia) เกิดภาวะถุงเลนส์ตาขุ่นมากกว่า (เกิดร้อยละ 58.9 ไม่เกิดร้อยละ 43.6; p <0.05) แต่ระดับของสายตาสั้นไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะถุงเลนส์ตาขุ่นของผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดต้อกระจก
สรุป: การศึกษานี้พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะถุงเลนส์ตาขุ่นหลังการผ่าตัดต้อกระจกของผู้ป่วย
ที่โรงพยาบาลดำเนินสะดวก คือ ระดับการมองเห็นที่ลดลงอย่างรุนแรงและต้อกระจกชนิด mature cataract มีผล
ทำให้เกิดถุงเลนส์ตาขุ่นน้อยกว่า ส่วนปัจจัยภาวะสายตาสั้นทำให้เกิดภาวะถุงเลนส์ตาขุ่นมากกว่า
ถอนบทความเนื่องจาก : (มีการเปิดเผยข้อมูลสำคัญผิดพลาดที่ส่งผลกระทบต่อการตีความ หรือให้คำแนะนำแก่ผู้อ่านไม่เหมาะสม)
References
Schaumberg DA, Dana MR, Christen WG, et al. A systematic overview of the incidence of posterior capsule opacification. Ophthalmology. 1998 ; 105(7): 1213-21.
Skuta GL, Cantor LB, Weiss JS. Basic and clinical science course, Section 11: Lens and Cataract. San Francisco: American Academy of Ophthalmology; 2011: 169-75.
งานเวชระเบียนและสถิติ. เวชระเบียนสถิติแผนกจักษุวิทยา. โรงพยาบาลดำเนินสะดวก
Sundelin K, Petersen A, Soltanpour Y, et al. In vitro growth of lens epithelial cells from cataract patients - association with possible risk factors for posterior capsule opacification. Open Ophthalmol J. 2014; 8: 19-23. doi: 10.2174/1874364101408010019
Kuchle M, Amberg A, Martus P, et al. Pseu-doexfoliation syndrome and secondary cataract. Br J Ophthalmol. 1997; 81(10): 862–6.
Celojevic D, Petersen A, Karlsson JO, et al. Effects of 17β-estradiol on proliferation, cell viability and intracellular redox status in native human lens epithelial cells. Mol Vis. 2011; 17: 1987-96.
Ninn-Pedersen K, Bauer B. Cataract patients in a defined Swedish population 1986-1990. VI. YAG laser capsulotomies in relation to preoperative and surgical conditions. Acta Ophthalmol Scand. 1997; 75(5): 551-7.
Ando H, Ando N, Oshika T. Cumulative probability of neody-mium: YAG laser posterior capsulotomy after phacoemulsification. J Cataract Refract Surg. 2003; 29(11): 2148–54.
Kim NE, Lee SJ, Park JM. Risk Factors for Development of Posterior Capsule Opacification after Cataract Surgery or Combined Vitreoretinal Surgery J Korean Ophthalmol Soc. 2014; 55(8): 1132-8.
Ebihara Y, Kato S, Oshika T, et al. Posterior capsule opacification after cataract surgery in patients with diabetes mellitus. J Cataract Refract Surg. 2006; 32(7): 1184-7.
Hayashi K, Hayashi H, Nakao F, et al. Posterior capsule opacification after cataract surgery in patients with diabetes mellitus. Am J Ophthalmol. 2002; 134(1) :10.
Zaczek A, Zetterström C. Posterior capsule opacificationafter phacoemulsification in patients with diabetes mellitus. Journal of Cataract & Refractive Surgery. 1999; 25(2): 233-7.
Argento C, Nunez E, Wainsztein R. Incidence of postoperative posterior capsular opacification with types of senile cataracts. J Cataract Refract Surg. 1992;18(6): 586–8.
Argento C, Zárate J. Study of the lens epithelial cell density in cataractous eyes operated on with extracapsular and intercapsular techniques. J Cataract Refract Surg. 1990; 16(2): 207-10.
Ignjatović Z. Secondary cataracts in extreme myopia. Srp Arh Celok Lek. 1998; 126(7-8): 239-41.
Raj SM, Vasavada AR, Johar S.R. Kaid, Vasavada VA, et al. Post-Operative Capsular Opacification: A Review. Int J Biomed Sci. 2007; 3(4): 237–50.
Hovanesian JA. Highly myopic eyes may be more prone to PCO after cataract surgery. American Journal of Ophthalmology. 2013.
Zhao Y, Li J, Lu W, et al. Capsular Adhesion to Intraocular Lens in Highly Myopic Eyes Evaluated In Vivo Using Ultralong-scan-depth Optical Coherence Tomography. American Journal of Ophthalmology. 2013; 155(3): 484-91.
Ram J, Pandey SK, Apple DJ, et al. Effect of in-the-bag intraocular lens fixation on the prevention of posterior capsular opacification. J Cataract Refract Surg 2001; 27(7): 1039-46.
Quinlan M, Wormstone IM, Duncan G, et al. Phacoemulsification versus extracapsular cataract extraction: a comparative study of cell survival and growth on the human capsular bag in vitro. Br J Ophthalmol. 1997; 81(10): 907–10.
Zhao Y, Yang K, Li J, et al. Comparison of hydrophobic and hydrophilic intraocular lens in preventing posterior capsule opacification after cataract surgery: An updated meta-analysis. Medicine (Baltimore). 2017; 96(44): e8301. doi: 10.1097/MD.0000000000008301.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์