การเปรียบเทียบการให้ยา Dexamethasone ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ระยะท้าย: ผลลัพธ์ของมารดาและทารกแรกเกิด

ผู้แต่ง

  • พัชรา จีนประชา พ.บ., โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

เดกซาเมทาโซน, ภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด, ผลลัพธ์ของมารดาและทารกแรกคลอด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบช่วงอายุครรภ์ที่ได้รับยา dexamethasone และความแตกต่างของการให้ยาครบคอร์สและไม่ครบคอร์สในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดระยะท้าย โดยมุ่งเน้นผลลัพธ์ของมารดาและทารกแรกเกิด

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดระยะท้าย ในโรงพยาบาลนครปฐม ขนาดตัวอย่าง 225 ราย แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับยา dexamethasone โดสแรก ช่วงอายุครรภ์ 34 ถึง 34+6 สัปดาห์, 35 ถึง 35+6 สัปดาห์, และ 36 ถึง 36+6 สัปดาห์ กลุ่มละ 75 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาข้อมูล และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ chi-square test หรือ Fisher’s exact test, independent t test, Mann–Whitney U test, ANOVA, Kruskal-Wallis test, และ generalized linear model

          ผลการศึกษา: พบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับยา dexamethasone โดสแรก ในช่วงอายุครรภ์ 34 ถึง 34+6 สัปดาห์ มีอัตราการเกิดภาวะหายใจลำบากในทารกแรกเกิดสูงที่สุด (ร้อยละ 64.0) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาในช่วงอายุครรภ์ 35 ถึง 35+6 สัปดาห์ (ร้อยละ 46.7) และ 36 ถึง 36+6 สัปดาห์ (ร้อยละ 34.7) นอกจากนี้ทารกในกลุ่มที่ได้รับยา dexamethasone แบบไม่ครบคอร์สมีภาวะหายใจลำบาก (respiratory distress) ภาวะหายใจเร็วชั่วคราวในทารกแรกเกิด (TTNB) ความต้องการการใช้เครื่องช่วยหายใจแบบความดันบวกต่อเนื่อง (CPAP) และการบำบัดด้วยออกซิเจนในทารก รวมทั้งต้องการการดูแลในหน่วยอภิบาลทารกแรกเกิดวิกฤติ (NICU) สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับยาครบคอร์สอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

          สรุป: การให้ยา dexamethasone ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดระยะท้ายสามารถลดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจของทารกแรกเกิด และลดความต้องการการดูแลในหน่วยอภิบาลทารกแรกเกิดวิกฤติ (NICU) ได้ โดยเฉพาะในกลุ่มที่ได้รับยาครบคอร์ส โดยไม่เพิ่มการเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงต่อมารดา

References

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การดูแลรักษาภาวะเจ็บครรภ์คลอดและถุงน้ำคร่ำรั่วก่อนกำหนด. กรุงเทพมหานคร: ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2564.

Mitrogiannis I, Evangelou E, Efthymiou A, et al. Risk factors for preterm labor: an umbrella review of meta-analyses of observational studies. Res Sq [Preprint] 2023;rs.3.rs- -2639005. doi: 10.21203/rs.3.rs-2639005/v1.

หทัยกาญจน์ หวังกูล. การพัฒนารูปแบบการดูแลอย่างต่อเนื่องสำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตร์มหาบัณฑิต]. สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2564.

National Institute for Health and Care Excellence. Preterm labour and birth: NICE guideline No.25. London: NICE; 2019.

Committee on Obstetric Practice. Committee opinion no. 713: antenatal corticosteroid therapy for fetal maturation. Obstet Gynecol 2017;130(2):e102–9. doi: 10.1097/AOG.0000000000002237.

Norman J, Shennan A, Jacobsson B, et al. FIGO good practice recommendations on the use of prenatal corticosteroids to improve outcomes and minimize harm in babies born preterm. Int J Gynaecol Obstet 2021;155(1):26–30. doi: 10.1002/ijgo.13836.

ชลลดา วิริยะกุล, พรพิมล โรจนครินทร์. การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการได้รับยาสเตียรอยด์ในมารดาที่คลอดทารกเกิดก่อนกำหนดระยะท้าย ต่อการเกิดกลุ่มอาการหายใจลำบากจากการขาดสารลดแรงตึงผิว ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2566;62(2):133–42.

นิภาวรรณ อรรถวัฒนกุล, พิมพิกา ตันสุภสวัสดิกุล. ผลของการให้ยา dexamethasone ก่อนคลอดต่อการหายใจผิดปกติในทารกเกิดก่อนกำหนดระยะท้าย. TJOG 2558;23(1):25–33.

WHO ACTION Trials Collaborators. Antenatal dexamethasone for late preterm birth: A multi-centre, two-arm, parallel, double-blind, placebo-controlled, randomized trial. EClinicalMedicine 2022;44:101285. doi: 10.1016/j.eclinm.2022.101285.

WHO ACTION Trials Collaborators. Effect of dexamethasone on newborn survival at different administration-to-birth intervals: a secondary analysis of the WHO ACTION (Antenatal CorticosTeroids for improving outcomes in preterm newborn)-I trial. EClinicalMedicine 2022;53:101744. doi: 10.1016/j.eclinm.2022.101744.

ยุทธนา จันวะโร. การเปรียบเทียบผลของการให้ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ในหญิงตั้งครรภ์คลอดก่อนกำหนดระยะท้ายของโรงพยาบาลพุทธโสธร. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2563;37(2):89–97.

Roberts D, Brown J, Medley N, et al. Antenatal corticosteroids for accelerating fetal lung maturation for women at risk of preterm birth. Cochrane Database Syst Rev 2017;3(3):CD004454. doi: 10.1002/14651858.CD004454.pub3.

Ochigbo S, Ekpebe P, Nyong EE, et al. Neonatal jaundice incidence, risk factors and outcomes in referral‐level facilities in Nigeria. BJOG 2024;131(S3):113–24. doi: 10.1111/1471-0528.17865

Cohen-Wolkowiez M, Moran C, Benjamin DK, et al. Early and late onset sepsis in late preterm infants. Pediatr Infect Dis J 2009;28(12):1052–6. doi: 10.1097/inf.0b013e3181acf6bd.

Kibanga W, Mutagonda RF, Moshiro R, et al. Effectiveness of antenatal dexamethasone in reducing respiratory distress syndrome and mortality in preterm neonates: a nested case control study. BMC Pediatr 2023;23(1):94. doi: 10.1186/s12887-023-03887-5.

Samouilidis A, Beltsios ET, Mavrovounis G, et al. The use of antenatal dexamethasone in late preterm and term pregnancies to improve neonatal morbidity and mortality: a systematic review and meta-analysis. Cureus 2022;14(8):e27865. doi: 10.7759/cureus.27865

Norman J, Shennan A, Jacobsson B, et al. FIGO good practice recommendations on the use of prenatal corticosteroids to improve outcomes and minimize harm in babies born preterm. Int J Gynaecol Obstet 2021;155(1):26–30. doi: 10.1002/ijgo.13836.

Groom KM. Antenatal corticosteroids after 34 weeks’ gestation: do we have the evidence? Semin Fetal Neonatal Med 2019;24(3):189–96. doi: 10.1016/j.siny.2019.03.001.

Shittu KA, Ahmed B, Rabiu KA, et al. Dose the use of antenatal corticosteriods reduce respiratory morbidity in babies born in late preterm period? BMC Pregnancy Childbirth 2024; 24(334). doi: 10.1186/s12884-024-06304-6.

เผยแพร่แล้ว

2024-12-27

How to Cite

1.
จีนประชา พ. การเปรียบเทียบการให้ยา Dexamethasone ในหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ระยะท้าย: ผลลัพธ์ของมารดาและทารกแรกเกิด. Reg 4-5 Med J [อินเทอร์เน็ต]. 27 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 22 เมษายน 2025];43(4):493-511. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/272878