ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะ Metabolic Syndrome ในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน โรงพยาบาลราชบุรี
คำสำคัญ:
สะเก็ดเงิน, metabolic syndrome, ความชุกบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะ metabolic syndrome ในผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงิน โรงพยาบาลราชบุรี
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังแบบตัดขวางเชิงวิเคราะห์ (retrospective cross-sectional analytical study) โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยนอกจากเวชระเบียนของผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินที่เข้ารับการรักษาในแผนกผิวหนัง โรงพยาบาลราชบุรี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2565–31 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 จำนวน 246 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่สถิติเชิงพรรณนา สถิติที่ใช้วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .05
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยสะเก็ดเงินทั้งหมดจำนวน 246 ราย มีภาวะ metabolic syndrome ร่วมด้วยจำนวน 120 คน คิดเป็นร้อยละ 48.8 (95% CI 42.4–55.2) และพบว่าผู้ป่วยสะเก็ดเงินกลุ่มที่มีภาวะ metabolic syndrome มีอายุมากกว่ากลุ่มที่ไม่มีภาวะ metabolic syndrome อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ผู้ป่วยกลุ่มที่เริ่มเกิดโรคในช่วงอายุมากกว่า 40 ปี มีภาวะ metabolic syndrome มากกว่าผู้ป่วยกลุ่มที่เริ่มเกิดโรคในช่วงอายุน้อยกว่า 40 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .001) และผู้ป่วยกลุ่มที่มีความรุนแรงของโรคสะเก็ดเงินปานกลางถึงมากมีภาวะ metabolic syndrome มากกว่ากลุ่มที่ความรุนแรงน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .043)
สรุป: การศึกษานี้พบความชุกของภาวะ metabolic syndrome ในผู้ป่วยสะเก็ดเงินเป็น ร้อยละ 48.8 และพบว่าผู้ป่วยที่มีอายุมากและมีช่วงอายุที่เริ่มเกิดโรคอายุมากกว่า 40 ปี ร่วมกับมีความรุนแรงของโรคปานกลางถึงมากเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะ metabolic syndrome ในผู้ป่วยสะเก็ดเงิน
References
Gelfand JM, Weinstein R, Porter SB, et al. Prevalence and treatment of psoriasis in the United Kingdom: a population-based study. Arch Dermatol 2005;141(12):1537–41. doi: 10.1001/archderm.141.12.1537.
Aekplakorn W, Kessomboon P, Sangthong R, et al. Urban and rural variation in clustering of metabolic syndrome components in the Thai population: results from the fourth National Health Examination Survey 2009. BMC Public Health 2011;11:854. doi: 10.1186/1471-2458-11-854.
Aekplakorn W, Chongsuvivatwong V, Tatsanavivat P, et al. Prevalence of metabolic syndrome defined by the International Diabetes Federation and National Cholesterol Education Program criteria among Thai adults. Asia Pac J Public Health 2011;23(5):792–800. doi: 10.1177/1010539511424482.
Takahashi H, Iizuka H. Psoriasis and metabolic syndrome. J Dermatol 2012;39(3):212–8. doi: 10.1111/j.1346-8138.2011.01408.x.
Takahashi H, Takahashi I, Honma M, et al. Prevalence of metabolic syndrome in Japanese psoriasis patients. J Dermatol Sci 2010;57(2):143–4. doi: 10.1016/j.jdermsci.2009.11.002.
Armstrong AW, Harskamp CT, Armstrong EJ. Psoriasis and metabolic syndrome: a systematic review and meta-analysis of observational studies. J Am Acad Dermatol 2013;68(4):654–62. doi: 10.1016/j.jaad.2012.08.015.
Rodríguez-Zúñiga MJM, García-Perdomo HA. Systematic review and meta-analysis of the association between psoriasis and metabolic syndrome. J Am Acad Dermatol 2017;77(4):657–66. doi: 10.1016/j.jaad.2017.04.1133.
Gisondi P, Fostini AC, Fossà I, et al. Psoriasis and the metabolic syndrome. Clin Dermatol 2018;36(1):21–8. doi: 10.1016/j.clindermatol.2017.09.005.
Kokpol C, Aekplakorn W, Rajatanavin N. Prevalence and characteristics of metabolic syndrome in South-East Asian psoriatic patients: a case-control study. J Dermatol 2014;41(10):898–902. doi: 10.1111/1346-8138.12614.
Chularojanamontri L, Wongpraparut C, Silpa-Archa N, et al. Metabolic syndrome and psoriasis severity in South-East Asian patients: An investigation of potential association using current and chronological assessments. J Dermatol 2016;43(12):1424–8. doi: 10.1111/1346-8138.13540.
Mrowietz U, Kragballe K, Reich K, et al. Definition of treatment goals for moderate to severe psoriasis: a European consensus. Arch Dermatol Res 2011;303(1):1–10. doi: 10.1007/s00403-010-1080-1.
Chan WMM, Yew YW, Theng TSC, et al. Prevalence of metabolic syndrome in patients with psoriasis: a cross-sectional study in Singapore. Singapore Med J 2020;61(4):194–9. doi: 10.11622/smedj.2019152.
Lunawat D, Bubna AK, Sankarasubramaniam A, et al. Prevalence of metabolic syndrome in patients with psoriasis: a prospective, observational, descriptive study from a tertiary health-care center in South India. Muller J Med Sci Res 2017;8(1):31–5. doi: 10.4103/0975-9727.199373
Liu L, Cai XC, Sun XY, et al. Global prevalence of metabolic syndrome in patients with psoriasis in the past two decades: current evidence. J Eur Acad Dermatol Venereol 2022;36(11):1969–79. doi: 10.1111/jdv.18296.
Langan SM, Seminara NM, Shin DB, et al. Prevalence of metabolic syndrome in patients with psoriasis: a population-based study in the United Kingdom. J Invest Dermatol 2012;132(3 Pt 1):556–62. doi: 10.1038/jid.2011.365.
Gisondi P, Tessari G, Conti A, et al. Prevalence of metabolic syndrome in patients with psoriasis: a hospital-based case-control study. Br J Dermatol 2007;157(1):68–73. doi: 10.1111/j.1365-2133.2007.07986.x.
Jung SY, Han K, Jung JH, et al. Cumulative exposure to metabolic syndrome affects the risk of psoriasis differently according to age group: a nationwide cohort study in South Korea. Br J Dermatol 2024;190(3):447–9. doi: 10.1093/bjd/ljad441.
วิชัย เอกพลากร. สำรวจสุขภาพประชาชนไทยและจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ และนโยบาย. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2566: 151–59.
Mirghani H, Altemani A, Alsaedi E, et al. The association of psoriasis, diabetes mellitus, and hypertension: a meta-analysis. Cureus 2023;15(11):e48855. doi: 10.7759/cureus.48855.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์