ผลกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • นางสุคนธ์ ปัญจพงษ์ ส.ม., สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดสมุทรสาคร

คำสำคัญ:

กระบวนการเรียนรู้, การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงาน, คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จังหวัดสมุทรสาคร

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) ระหว่างเดือนมิถุนายน–พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะกรรมการกองทุนฯ 140 คน ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ระยะที่สองเป็นการนำรูปแบบไปทดลองใช้และการประเมินผลกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกองทุนฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นคณะกรรมการกองทุนฯ 43 คน ซึ่งได้มาจากเกณฑ์คัดเข้าและคัดออก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Wilcoxon signed rank test, paired t test, และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน แบบ stepwise multiple linear regression analysis

                   ผลการศึกษา: 1) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จังหวัดสมุทรสาคร ประกอบด้วยกระบวนการดำเนินงาน 4 ขั้น ได้แก่ 1.1 วิเคราะห์สภาพปัญหาการปฏิบัติงาน, 1.2 การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ, 1.3 การติดตามประเมินผล, และ 1.4 สรุป ถอดบทเรียน และประชาสัมพันธ์; 2) ผลกระบวนการเรียนรู้หลังการพัฒนา พบว่า มีคะแนนค่ามัธยฐานความรู้โดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (z = - 5.345, p < .001) สมรรถนะการปฏิบัติงานโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = -0.310, p = .008) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริหารจัดการกองทุนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ซึ่งเป็นตามสมมุติฐาน มีจำนวน 6 ปัจจัย จาก 9 ปัจจัย โดยรวมมีความสามารถทำนายอิทธิพลต่อการบริหารจัดการกองทุนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ 60.9 (Adj.R2 = 0.609, p= .028) โดยพบว่าเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ การร่วมปรึกษาหารือ การให้ข้อมูลข่าวสาร การตรวจสอบประเมินผล ทักษะการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมดำเนินงาน และการมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจ ตามลำดับ

                   สรุป: การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ ส่งผลให้คณะกรรมการ มีความรู้ ทักษะการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการกองทุนฯ และการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกองทุนฯ เพิ่มขึ้น

References

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2561. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2561.

นันทิยา ประดิษฐ์. รูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับ ท้องถิ่นองค์การบริหารส่วนตำบลขี้เหล็ก อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ 2567;5(2):84–99.

ปรีดี นุกุลสมปรารถนา. จำนวน sample size ที่เหมาะกับการทำ research [อินเทอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2567]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.popticles.com/type-of-strategy.

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill; 1971.

Likert R. The method of constructing an attitude scale. In: Fishbein M, editor. Reading in attitude theory and measurement. New York: John Wiley & Son; 1974.

Best JW. Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc.; 1977.

อุทิศ วันเต. การศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ในการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในเขตอำเภอดงเจริญ จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร 2563;1(1):56–69.

ฉัตร มาสวัสดิ์. ประสิทธิผลการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลโคกพระเจดีย์ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารการบริหารและสังคมศาสตร์ปริทรรศ์ 2562;2(1):37–44.

แสงเดือน ดีผิว. การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในจังหวัดลพบุรี[อินเทอร์เน็ต]. 2567 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2567]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://ssjnonthaburi.moph.go.th/nont-oa/

สุทธิพงษ์ ภาคทอง. ประสิทธิผลการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพพื้นที่โดยใช้กระบวนการกลุ่มในกระบวนการวงจรคุณภาพ PDCA อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2563;13(2):178–85.

สุดารัตน์ สุมาลี, สุคนธา คงศีล, สุขุม เจียมตน, และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2567;33(2):208–16.

ณชรต เพชรภูกันดาน. การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ในแนวทางการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพตามชุดสิทธิประโยชน์ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2566;8(4):930–37.

จิรวัฒน์ บุญรักษ์. การประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น จังหวัดพังงา. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2566;37(1):46–58.

บุษกร ศรีโพธิ์, อารี บุตรสอน. ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการกองทุนของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น จังหวัดศรีสะเกษ. การประชุมวิชาการระดับชาติ มอบ.วิจัย ครั้งที่ 17; 20–21 กรกฎาคม 2566; ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี; 2566.

อรุณศรี เทียนกิ่งแก้ว. ประสิทธิผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ในจังหวัดกระบี่. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อม 2565;7(2):57–65.

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31

How to Cite

1.
ปัญจพงษ์ น. ผลกระบวนการเรียนรู้การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของ คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร. Reg 4-5 Med J [อินเทอร์เน็ต]. 31 มีนาคม 2025 [อ้างถึง 22 เมษายน 2025];44(1):117-29. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/274716