การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • พรรณี วัตราเศรษฐ์ ศศ.ม., สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม
  • วรารก์ หวังจิตต์เชียร พ.บ., สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ, ผู้ป่วยสูงอายุ, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวาน ศึกษาประสิทธิผล และเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ได้พัฒนาขึ้น กับแบบเดิม

          วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 1) พยาบาลวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 6 คน และ 2) ผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวาน จำนวน 90 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 45 คน กลุ่มทดลอง ใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานที่พัฒนา กลุ่มควบคุมใช้การดูแลแบบเดิม ทำการศึกษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมส่งสุขภาพตำบลบ้านปากลัด วัดดาวดึงษ์ และบางพรม เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แนวทางการสนทนากลุ่ม โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพที่พัฒนาขึ้น แบบสอบถาม (ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเอง = 0.88 และแบบวัดความพึงพอใจต่อระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน = 0.82) และแบบบันทึกภาวะสุขภาพ เก็บข้อมูลในเดือนกันยายน และธันวาคม พ.ศ. 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบทีคู่ และการทดสอบทีอิสระ

          ผลการศึกษา: โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) การแจ้งเตือนให้มารักษาตามนัด 2) การประเมินการปฏิบัติตัวในการดูแลตนเอง 3) ให้การรักษาพยาบาลและคำแนะนำ 4) การติดตามและให้กำลังใจ และ 5) การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ผลการใช้โปรแกรม พบว่า ผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานมีพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวม และด้านต่าง ๆ (ยกเว้นด้านการจัดการกับความเครียด) ดีขึ้น ระดับน้ำตาลในเลือด และดัชนีมวลกายลดลง และดีกว่าการดูแลแบบเดิมในเรื่องพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยรวมและด้านต่าง ๆ ระดับน้ำตาลในเลือด และดัชนีมวลกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001) ทั้งนี้ โปรแกรมที่พัฒนานี้ทำให้ผู้ป่วยมีความพึงพอใจมากกว่าการดูแลแบบเดิม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)

          สรุป: โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานที่พัฒนาขึ้นนี้ มีประสิทธิผลที่ดี และผู้ป่วยมีความพึงพอใจมากกว่าการดูแลแบบเดิม จึงควรนำไปใช้และขยายผลต่อไป

 

References

International Diabetes Federation. IDF Diabetes Atlas 2021 [internet]. 2021 [cited 2024 February 1]; Available from: URL: https: //diabetesatlas.org/atlas/tenth-edition/

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์การป้องกัน และควบคุมโรคไม่ติดต่อระดับชาติ 5 ปี (พ.ศ. 2560–2564). กรุงเทพมหานคร: อิโมชั่น อาร์ต; 2560.

วิชัย เอกพลากร. สำรวจสุขภาพประชาชนไทยและจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพและนโยบาย. กรุงเทพมหานคร: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2566.

Vischer UM, Bauduceau B, Bourdel-Marchasson I, et al. A call to incorporate the prevention and treatment of geriatric disorders in the management of diabetes in the elderly. Diabetes Metab 2009;35(3):168–77. doi: 10.1016/j.diabet.2009.02.003.

American Diabetes Association [ADA]. Standards of medical care for patients with diabetes mellitus. Diabetes care 2017;30:S4–40.

ราตรี ทองคำ. ประสิทธิผลของการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดลพบุรี. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี 2565;30(3):86–99.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม. สถานการณ์ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จังหวัดสมุทรสงคราม. สมุทรสงคราม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม; 2567.

Srinivasan AV. Managing a modern hospital. New Delhi: A Division of Sage India (P); 2014.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2559 โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2567]; เข้าถึงได้จาก: URL: http:// www.thaincd.com.

Kemmis S, McTaggart R. The action research planer. 3rd ed. Victoria: Deakin University; 1988.

ธีรพจน์ ฟักน้อย. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานของเครือข่ายบริการสุขภาพ อำเภอบึงสาม พัน จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2565;13(2):27–46.

พวงเพชร เหล่าประสิทธิ์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ของโรงพยาบาลชุมชน และเครือข่าย. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2566;37(1):29–45.

Cohen J. Statistical power analysis for the behavioral sciences. Hillsdale NJ: Lawrence Erl-baum Associate; 1988.

จิรวัฒน์ บุญรักษ์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานพื้นที่เกาะ. วารสารโรงพยาบาลสิงห์บุรี 2565;31(3):19–35.

Beckie T. A supportive-educative telephone program: impact on knowledge and anxiety after coronary artery bypass graft surgery. Heart Lung 1989;18(1):46–55.

World Health Organization (WHO). Strengthening integrated, people-centred health services [internet]. 2016 [cite 2024 February 1]; Available from: URL: https://www.who.int/publications/i/item/strengthening-integrated-people-centred-health-services.

วฤณดา ฝั่งสินธ์. ประสิทธิผลโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เครือข่ายโรงพยาบาลปราณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม 2567;8(8):45–58.

ชานนท์ เชาว์ดำรงสกุล. การพัฒนารูปแบบส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาล สีดา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9: วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2563;14(35):314–29.

เผยแพร่แล้ว

2025-03-31

How to Cite

1.
วัตราเศรษฐ์ พ, หวังจิตต์เชียร ว. การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสมุทรสงคราม. Reg 4-5 Med J [อินเทอร์เน็ต]. 31 มีนาคม 2025 [อ้างถึง 22 เมษายน 2025];44(1):131-45. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/274721