ความชุกของโรคอ้วนในผู้ป่วยเด็กโรคหืดและผลลัพธ์ของการรักษา
คำสำคัญ:
โรคหืดในเด็ก, โรคอ้วนในผู้ป่วยเด็กโรคหืด, ผลลัพธ์ของการรักษาผู้ป่วยเด็กโรคหืดบทคัดย่อ
โรคหืดเป็นโรคเรื้อรังที่พบบ่อยในเด็ก โรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่เพิ่มความรุนแรงของโรค ในประเทศไทยพบความชุกของโรคหืดในเด็กสูงถึง ร้อยละ 12.5 ในเด็กอายุ 13–14 ปี และร้อยละ 14.6 ในเด็กอายุ 6–7 ปี ตามลำดับ โดยโรคหืดยังเป็นโรคเรื้อรังที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในแผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 แต่ยังขาดข้อมูลของผู้ป่วยเด็กโรคหืดและผู้ป่วยที่มีโรคอ้วนร่วม ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาวิจัยนี้เพื่อพัฒนาการรักษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกของโรคอ้วนในผู้ป่วยเด็กโรคหืด และศึกษาผลลัพธ์ของการดูแลรักษาผู้ป่วยเด็กกลุ่มนี้
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง ในผู้ป่วยเด็กโรคหืดอายุ 7–15 ปี ที่เข้ารับบริการในคลินิกเด็กโรคหืดโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2566 เก็บและวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ได้แก่ อายุ, เพศ, น้ำหนัก, ส่วนสูง, ภาวะน้ำหนักตัว, peak expiratory flow rate, predicted peak expiratory flow rate, จำนวนครั้งของการเข้าห้องฉุกเฉินด้วยอาการหอบกำเริบ, และจำนวนครั้งของการนอนโรงพยาบาลด้วยหอบกำเริบ ระยะเวลาของการนอนโรงพยาบาล และวิเคราะห์ผลลัพธ์ของการรักษาผู้ป่วยเด็กโรคหืด
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 48 คน พบความชุกของโรคอ้วนในผู้ป่วยเด็กโรคหืดร้อยละ 14.6 ผู้ป่วยเด็กโรคหืดที่มีโรคอ้วนร่วมด้วยมีการควบคุมโรคได้น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่มีโรคอ้วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในด้านอื่น ๆ
สรุป: ผู้ป่วยเด็กโรคหืดที่มีโรคอ้วนร่วมด้วยมีการควบคุมโรคได้น้อยกว่าผู้ป่วยโรคหืดที่ไม่มีโรคอ้วน ควรมีการพัฒนาแนวทางการดูแลรักษาเฉพาะสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยเน้นการจัดการน้ำหนักควบคู่ไปกับการรักษาโรคหืด
References
Peters U, Dixon AE, Forno E. Obesity and asthma. J Allergy Clin Immunol 2018;141(4):1169–79. doi: 10.1016/j.jaci.2018.02.004.
Chen Y-C, Su M-W, Brumpton BM, et al. Investigating obesity-related risk factors for childhood asthma. Pediatr Allergy Immunol 2021;33(1):1–8. doi: 10.1111/pai.13710.
Ahmadizar F, Vijverberg SJ, Arets HG, et al. Childhood obesity in relation to poor asthma control and exacerbation: a meta-analysis. Eur Respir J 2016;48(4):1063–73. doi: 10.1183/13993003.00766-2016.
Okubo Y, Nochioka K, Hataya H, et al. Burden of obesity on pediatric inpatients with acute asthma exacerbation in the United States. J Allergy Clin Immunol Pract 2016;4(6):1227–31. doi: 10.1016/j.jaip.2016.06.004.
Aragona E, El-Magbri E, Wang J, et al. Impact of obesity on clinical outcomes in urban children hospitalized for status asthmaticus. Hosp Pediatr 2016;6(4):211–8. doi: 10.1542/hpeds.2015-0094.
van Gent R, van der Ent CK, Rovers MM, et al. Excessive body weight is associated with additional loss of quality of life in children with asthma. J Allergy Clin Immunol 2007;119(3):591–6. doi: 10.1016/j.jaci.2006.11.007.
Forno E, Lescher R, Strunk R, et al. Decreased response to inhaled steroids in overweight and obese asthmatic children. J Allergy Clin Immunol 2011;127(3):741–9. doi: 10.1016/j.jaci.2010.12.010.
Chinratanapisit S, Vichyanond P. Despite progressive asthma guideline and increased access to medicine, asthma prevalence remains high. In: Mikkelsen B, Asher I, billo N, editors. The global asthma report 2022. New York: Global asthma network; 2022.
Pate CA, Zahran HS, Qin X, et al. Asthma surveillance - United States, 2006–2018. MMWR Surveill Summ 2021;70(5):1–32. doi: 10.15585/mmwr.ss7005a1.
Sanyaolu A, Okorie C, Qi X, et al. Childhood and adolescent obesity in the United States: a public health concern. Glob Pediatr Health 2019;6:1–11. doi: 10.1177/2333794X19891305
สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการใช้เกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเด็กอายุ 6–19 ปี. พิมพ์ครั้งที่ 2. สมุทรปราการ: ทีเอส อินเตอร์พรินท์; 2564: 57–8.
Global initiative for asthma. Asthma management and prevention for adults, adolescents and children 6–11 years a pocket guide for health professionals (updated July 2023) [internet]. [cited 2024 August]. Available from: URL: ginasthma.org /wp-content/uploads/2023/07/GINA-2023-Pocket-Guide-WMS.pdf
Saskia G. Pulmonary and sleep medicine. In: Anderson CC, Kapoor S, Mark TE, editors. The Harriet lane handbook. 23rd ed. St. Petersburg: Elsevier; 2022: 644.
Balasubramanian S, Ravikumar NR, Chakkarapani E, et al. Peak expiratory flow rate in children - a ready reckoner. Indian Pediatr 2002;39(1):104–6.
Belamarich PF, Luder E, Kattan M, et al. Do obese inner-city children with asthma have more symptoms than nonobese children with asthma? Pediatrics 2000;106(6):1436–41. doi: 10.1542/peds.106.6.1436.
Sah PK, Gerald Teague W, Demuth KA, et al. Poor asthma control in obese children may be overestimated because of enhanced perception of dyspnea. J Allergy Clin Immunol Pract 2013;1(1):39–45. doi: 10.1016/j.jaip.2012.10.006.
Lang JE, Bunnell HT, Hossain MJ, et al. Being overweight or obese and the development of asthma. Pediatrics 2018;142(6):e20182119. doi: 10.1542/peds.2018-2119.
Hom J, Morley EJ, Sasso P, et al. Body mass index and pediatric asthma outcomes. Pediatr Emerg Care. 2009;25(9):569–71. doi: 10.1097/PEC.0b013e3181b4f639.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์