การใช้บริการทางการแพทย์ของผู้ป่วยไม่ฉุกเฉินในช่วงนอกเวลาราชการ ที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • ศุภาพิชญ์ แสงส่อง นักศึกษาแพทย์ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี
  • สุภาพร บุญเติม นักศึกษาแพทย์ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี
  • ศรัณยู บุณยโพธิ นักศึกษาแพทย์ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี
  • วิบูลลักษ์ นามสาย นักศึกษาแพทย์ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี
  • พารณ คนขยัน นักศึกษาแพทย์ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี

บทคัดย่อ

          การศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (cross-sectional study) ในผู้ป่วยที่มาใช้บริการทางการแพทย์ในช่วงนอกเวลาราชการที่ห้องตรวจผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน (ER) และห้องตรวจนอกเวลากรณีผู้ป่วยเร่งด่วน (urgency clinic) โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเข้ารับบริการของ ผู้ป่วยไม่ฉุกเฉินในระบบบริการการแพทย์นอกเวลาราชการ (ระหว่างเวลา 16.00 น. - 8.00 น.) โดยเน้นในด้านเหตุผลตามความคิดและการรับรู้ของผู้ป่วยที่เข้ารับบริการ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ทีมวิจัยจัดสร้างขึ้นเองประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปส่วนบุคคลและแบบสอบถามเพื่อประเมินปัจจัยในการใช้บริการระบบการแพทย์นอกเวลาราชการ ในระหว่างวันที่ 7-11 มิถุนายน 2560 ผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน จำนวน 187 ราย พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 18-60 ปี (ร้อยละ 76.47) เป็นผู้ที่ทำงานในช่วงเวลา 8.00-16.00 น. (ร้อยละ 63.6) พักอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี (ร้อยละ 57.8) และมาใช้บริการด้วยตนเอง(ร้อยละ 80.7) โดยมีเพียงร้อยละ19.3 ที่ถูกส่งตัวมาจากโรงพยาบาลอื่น จำแนกเป็นผู้ป่วยเร่งด่วน ร้อยละ 45.5 และผู้ป่วยไม่เร่งด่วน ร้อยละ 54.5 เหตุผลสำคัญที่ผู้ป่วยไม่ฉุกเฉินกลุ่มนี้มารับบริการในช่วงเวลานอกราชการ คือการรับรู้ว่าโรงพยาบาลมีการเปิดให้บริการนอกเวลาสำหรับผู้ป่วยนอก คิดว่ามีค่าใช้จ่ายถูกกว่าคลินิกเอกชน และ คิดว่าจะได้รับบริการที่เร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้ป่วยเร่งด่วนและผู้ป่วยไม่เร่งด่วนแล้ว พบว่าปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยไม่เร่งด่วนมาใช้บริการในช่วงนอกเวลาราชการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ คิดว่าจะ ได้รับบริการที่เร็วขึ้น (odd ration 10.09) การที่ผู้ช่วยเหลือสะดวกพามาเวลานี้ (odd ration 2.94) การมีผู้อื่น แนะนำให้มาในช่วงเวลานี้ (odd ration 2.89) และผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติมากกว่า 1 วันแล้วไม่ดีขึ้น (odd ration 2.38) ซึ่งเป็นการรับรู้และประเมินความรุนแรงของการเจ็บป่วยโดยผู้ป่วยเอง รวมทั้งความสะดวกของ ผู้ป่วยในการมารับบริการ โดยภาพรวมแล้ว ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ามีปัจจัยหลายประการที่ส่งผลต่อการมารับ บริการนอกเวลาของผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน และอาจสะท้อนถึงการรับรู้และการตระหนักของประชาชนทั่วไปถึงบทบาท ที่แท้จริงของระบบการแพทย์ฉุกเฉินและการบริการนอกเวลาราชการ การสื่อสารต่อสาธารณชนที่ชัดเจนถึง บทบาทที่สำคัญของการบริการในระบบการแพทย์ฉุกเฉินจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ควรได้รับการพิจารณาจาก ผู้เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น การพัฒนาระบบแพทย์ปฐมภูมิให้เข้มแข็ง ก็อาจช่วยลดจำนวนการใช้บริการของผู้ป่วยที่ไม่เร่งด่วนในระบบการแพทย์ฉุกเฉินลงได

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-15