สถานการณ์การดึงท่อช่วยหายใจ/ท่อช่วยหายใจหลุด (Unplanned Extubation : UE) ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • พัชรวรรณ สลักคำ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี
  • สุเพียร โภคทิพย์ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี
  • พิมลพันธ์ เจริญศรี กลุ่มงานอายุรกรรม รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี
  • อรทัย วะสมบัติ กลุ่มงานอายุรกรรม รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี
  • พัลยมนต์ พุ่มทอง กลุ่มงานอายุรกรรม รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี
  • สุพจน์ สายทอง นักเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลัง (Retrospective Study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราความชุกการดึงท่อ/ท่อช่วยหายใจหลุด (Unplanned Extubation : UE) และลักษณะสาเหตุของการเกิดUEในผู้ป่วย โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โดยทำการทบทวนข้อมูลในโปรแกรมบริหารความเสี่ยงและเวชระเบียนของผู้ป่วย เกิดUE ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2560 - 31 มีนาคม 2561 เครื่องมือที่ใช้สร้างจากการทบทวนอุบัติการณ์และ เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD), ความถี่, ร้อยละ, อัตราการเกิด UE

          ผลการศึกษา พบการเกิด UE ทั้งหมด 330 ครั้ง (314 ราย) คิดเป็น 7.68 ครั้งต่อ 1,000 วัน ใส่ท่อ ช่วยหายใจ ส่วนใหญ่พบในเพศชายร้อยละ 75.67 มีผู้ป่วยดึงท่อช่วยหายใจร้อยละ 79.70 และท่อช่วยหายใจหลุด ร้อยละ 20.30 ช่วงเวลาที่พบการเกิด UE มากที่สุดคือ เวรเช้า ร้อยละ 38.78 อัตราส่วนพยาบาลต่อผู้ป่วยคือ 1:2 ร้อยละ 66.67 ส่วนใหญ่ร้อยละ 50 พบ UE ในผู้ป่วยสับสน กระวนกระวาย ผู้ป่วยได้รับการผูกยึดร้อยละ 53.64 ผู้ป่วยส่วนใหญ่ขาดการใช้แบบประเมินภาวะสับสน ร้อยละ 97.58 ผู้ป่วยที่เกิด UE ส่วนใหญ่ไม่มีคำสั่งให้ฝึก
หย่าเครื่องช่วยหายใจร้อยละ 79.09 ผู้ป่วยได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจกลับคืน ภายใน 24 ชั่วโมง ร้อยละ 57.27 ส่วนใหญ่พบอุบัติการณ์ความเสี่ยงระดับปานกลาง (DEF) ร้อยละ 91.82

          อภิปรายผลการศึกษา อัตราการเกิด UE ใกล้เคียงกับการศึกษาของ Tanoin พบการเกิด UE คิดเป็น 7.5 ครั้งต่อ 1,000 วันใส่เครื่องช่วยหายใจ ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยสับสน กระวนกระวาย พยาบาลยังขาดการใช้แบบ ประเมินภาวะสับสน แพทย์มีคำสั่งการใช้ยา sedative จำนวนน้อย ผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดีมีความต้องการหายใจเอง หากใช้แนวทางการฝึกหย่าเครื่องช่วยหายใจจะช่วยให้ผู้ป่วยได้ฝึกความพร้อมในการหายใจและหย่าเครื่องช่วย หายใจได้สำเร็จ ส่งผลให้ลดอัตราการดึงท่อช่วยหายใจลงได้

          สรุปผลการศึกษา : อัตราการเกิด UE ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ คิดเป็น 7.68 ครั้งต่อ 1,000 วัน ใส่ท่อช่วยหายใจ โดยพบในผู้ป่วยที่สับสนกระวนกระวายมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่รู้สึกตัวดี

คำสำคัญ: การดึงท่อช่วยหายใจ ท่อช่วยหายใจหลุดโดยไม่ได้วางแผน การพยาบาล ความชุ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-15