พัฒนาการด้านการปลูกถ่ายกระจกตา
บทคัดย่อ
ในประเทศไทยจากการรายงานผลการสำรวจสภาวะตาบอด สายตาเลือนราง โรคตาที่เป็นปัญหาสาธารณสุขเมื่อปี 2549 พบว่ามีอัตราตาบอด 0.59% หรือประมาณ 360,000 คน ซึ่งเป็นอัตราที่อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา สาเหตุของตาบอดที่เกิดจากโรคที่กระจกตา (corneal blindness) พบได้ประมาณ 5 % เมื่อโรคของกระจกตาส่งผลให้การมองเห็นลดลงและเกิดปัญหาในการดำรงชีวิตประจำวันแล้ว วิธีการรักษาคือการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา กระจกตาเป็นอวัยวะที่มีการผ่าตัดปลูกถ่ายกันมากและประสบความสำเร็จมากที่สุด เนื่องจากในภาวะปกติกระจกตาเป็นอวัยวะที่ไม่มีเส้นเลือดมาเลี้ยงทำให้หลังการผ่าตัดเกิดการต่อต้านอวัยวะน้อยกว่าการปลูกถ่ายอวัยวะอื่น
ในประเทศไทยจากการรายงานผลการสำรวจสภาวะตาบอด สายตาเลือนราง โรคตาที่เป็นปัญหาสาธารณสุขเมื่อปี 2549 พบว่ามีอัตราตาบอด 0.59% หรือประมาณ 360,000 คน ซึ่งเป็นอัตราที่อยู่ในประเทศที่กำลังพัฒนา สาเหตุของตาบอดที่เกิดจากโรคที่กระจกตา (corneal blindness) พบได้ประมาณ 5 % เมื่อโรคของกระจกตาส่งผลให้การมองเห็นลดลงและเกิดปัญหาในการดำรงชีวิตประจำวันแล้ว วิธีการรักษาคือการผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา กระจกตาเป็นอวัยวะที่มีการผ่าตัดปลูกถ่ายกันมากและประสบความสำเร็จมากที่สุด เนื่องจากในภาวะปกติกระจกตาเป็นอวัยวะที่ไม่มีเส้นเลือดมาเลี้ยงทำให้หลังการผ่าตัดเกิดการต่อต้านอวัยวะน้อยกว่าการปลูกถ่ายอวัยวะอื่น
คำสำคัญ การปลูกถ่ายกระจกตา การปลูกถ่ายกระจกตาเฉพาะชั้นที่มีพยาธิสภาพ