การปฏิบัติตาม CPR Guideline 2010 ของบุคลากร ในห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราธานี
คำสำคัญ:
การช่วยฟื้นคืนชีพ CPR Guideline 2010 ผลลัพธ์ของการช่วยฟื้นคืนชีพ ห้องผู้ป่วยหนักบทคัดย่อ
ภาวะหัวใจหยุดเต้นเป็นภาวะวิกฤติที่ต้องให้การช่วยเหลือให้ทันท่วงทีอย่างถูกต้อง ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ แต่ก็พบว่ายังมีความหลากหลายในการปฏิบัติ ซึ่งอาจส่งผลต่ออัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยได้ การศึกษานี้เป็นการศึกษานำาร่อง ระหว่าง 1 มีนาคม 2558 ถึง 31 กรกฎาคม 2558 ในกลุ่มผู้ปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพในห้องผู้ป่วยหนัก ได้แก่ แพทย์ พยาบาล และพนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ เพื่อศึกษาการปฏิบัติตาม CPR Guideline 2010 ของบุคลากรในงานห้องผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี โดยในช่วงที่ศึกษามีผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นจำานวน 46 ราย มีการช่วยฟื้นคืนชีพ 63 ครั้ง เก็บข้อมูลด้วย วิธีการสังเกตการปฏิบัติโดยผู้ที่ผ่านการอบรมแนวทาง CPR Guideline 2010 และแบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำานวน ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจหยุดเต้น จำานวนทั้งสิ้น 46 ราย พบเป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง พบมากในกลุ่มอายุ > 60 ปี กลุ่มโรคที่พบมาก คือ pneumonia, congestive heart failure, respiratory failure และ upper GI bleed ตามลำาดับ สภาพ ผู้ป่วยก่อนทำาการช่วยฟื้นคืนชีพพบภาวะหัวใจเต้นช้ามากที่สุด (ร้อยละ 51.61) ระดับความรู้สึกตัวก่อนการ ทำาการช่วยฟื้นคืนชีพพบภาวะโคม่ามากที่สุด (ร้อยละ 60) ผลการปฏิบัติตาม CPR Guideline 2010 พบว่า การเข้าช่วยชีวิตของทีมบุคลากรภายใน 4 นาที ร้อยละ 100 การวัดตำาแหน่งก่อนการกดหน้าอกและกด ตำาแหน่งได้ถูกต้องร้อยละ 95.24 การกดลึกอย่างน้อย 2 นิ้ว และความเร็วมากกว่า 100 ครั้งต่อนาที มีการปฏิบัติถูกต้องร้อยละ 100 การเปลี่ยนรอบการกดหน้าอกทุก 2 นาที ปฏิบัติถูกต้อง ร้อยละ 96.83 การช่วยหายใจในกรณีใส่ท่อช่วยหายใจปฏิบัติถูกต้อง ร้อยละ 90.48 มีการใช้แผ่นกระดานรองตัวผู้ป่วย ร้อยละ 82.54 การบริหารยา adrenalin ถูกต้อง ร้อยละ 96.83 และการขานยาทวนคำาสั่งแพทย์โดยพยาบาลผู้บริหารยา ร้อยละ 84.13 ผลลัพธ์จากการช่วยฟื้นคืนชีพพบอัตราการรอดชีวิตใน 24 ชั่วโมง ร้อยละ 23.91 และพบภาวะ
แทรกซ้อนจากการทำาการช่วยฟื้นคืนชีพร้อยละ 1.61 การปฏิบัติช่วยฟื้นคืนชีพตาม CPR Guideline 2010 ของบุคลากรในห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ พบว่าเกือบทั้งหมดสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ยังมีการปฏิบัติอีกหลายประการที่ไม่ถูกต้องตามแนวทาง ซึ่งอาจส่งผลต่ออัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยได้ จึงควรมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อฟื้นฟูความรู้และฝึกปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพแก่ บุคลากรเป็นประจำาทุกปีเพื่อพัฒนาความรู้และทักษะอย่างต่อเนื่อง