การศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะซีด จากการได้รับยาซีโดวูดีน (zidovudine, AZT) ในโรงพยาบาลวารินชำาราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • สถาพร มณี กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

บทคัดย่อ

          หลักการและเหตุผล ยาซีโดวูดีน (zidovudine; AZT) เป็นยาหลักตัวหนึ่งในสูตรยาต้านไวรัส ผลข้างเคียงที่สำาคัญของยาชนิดนี้คือภาวะซีด ซึ่งยังไม่มีการศึกษาถึงความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะซีดจากยา AZT ในประเทศไทย วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซีดจากยา AZT เพื่อนำ ข้อมูลมาใช้ในการวางแผนและพัฒนาการดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น วัสดุและวิธีการ เป็นการศึกษาย้อนหลังโดยการทบทวนเวชระเบียนในผู้ป่วยเอดส์ที่มารับการตรวจ ที่โรงพยาบาลวารินชำราบ จ.อุบลราชธานี การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ chi-square test ผลการศึกษา ผู้ป่วยที่ศึกษาทั้งหมดจำานวน 141 ราย พบว่ามีผู้ป่วยที่มีภาวะซีดเกิดขึ้นภายใน 1 ปี หลังการรักษา จำานวน 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.9 ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดมีภาวะซีดเกิดขึ้นภายในระยะเวลา 6 เดือนหลังจากเริ่มให้ยา จากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าเพศหญิงและระดับฮีโมโกลบินก่อนการรักษาที่ต่ำา (<12 กรัม%) มีความสัมพันธ์กับกับภาวะซีดจากยา AZT อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยมีค่า odds ratio (OR) = 3.2 (95% CI 1.03-10.20) และ 3.0 (95% CI 1.12-8.18) ตามลำาดับ ส่วนปัจจัยเกี่ยวกับ อายุ นำ้าหนักตัว ระดับ CD4 ระยะของโรค การได้รับยา cotrimoxazole และการได้รับการรักษาด้วยยาต้าน ไวรัสสูตรอื่นมาก่อน ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซีดจากยา AZT สรุป ความชุกของภาวะซีดจากยา AZT คิดเป็นร้อยละ 14.9 และจากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า เพศหญิง และระดับฮีโมโกลบินก่อนการรักษาที่ต่ำา (<12 กรัม%) มีความสัมพันธ์กับภาวะซีดจากยา AZT อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-01