การนอนไม่หลับของผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาลทั่วไป และสภาพแวดล้อมทางกายภาพของหอผู้ป่วย

ผู้แต่ง

  • จิรวัฒน์ มูลศาสตร์ จิตแพทย์. กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี.
  • นิติรัฐ นาให้ผล นักศึกษาแพทย์. ศูนย์แพทยศาสตร์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี.
  • อวัสดา พบลาภ นักศึกษาแพทย์. ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี.
  • กัญยาณี เวชกามา นักศึกษาแพทย์. ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี.
  • มานะ ศิระพัฒน์ นักศึกษาแพทย์. ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี.
  • พงษ์พิพัฒน์ ภูวันเพ็ญ นักศึกษาแพทย์. ศูนย์แพทยศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี.

คำสำคัญ:

การนอนไม่หลับ ผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาล หอผู้ป่วยทั่วไป สภาพแวดล้อมของหอผู้ป่วย

บทคัดย่อ

          การนอนไม่หลับขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นปัญหาที่อาจส่งผลต่อภาวะเจ็บป่วย และการฟื้นตัวของผู้ป่วยได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุซึ่งมักจะมีปัญหาการนอนได้มากกว่ากลุ่มอายุอื่น การศึกษาเชิงสำารวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการนอนไม่หลับในผู้ป่วยสูงอายุและปัจจัยสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับการนอนไม่หลับตามการรับรู้ของผู้ป่วยสูงอายุ ทำาการศึกษาในหอผู้ป่วยจาก 5 แผนก ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2556 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป จำานวน 166 คน และนอนในโรงพยาบาลมาแล้วระหว่าง 1-3 คืน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบตอบด้วยตนเอง ประเมินการนอนไม่หลับด้วย Athens Insomnia Scale (AIS) ผลการศึกษาพบความชุกของการนอนไม่หลับในผู้ป่วยสูงอายุเท่ากับ ร้อยละ 30.1 ขณะที่ผู้ป่วยร้อยละ 57 รู้สึกไม่สุขสบายขณะที่นอนในโรงพยาบาล ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่สัมพันธ์กับการนอนไม่หลับอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ ได้แก่ อุณหภูมิอากาศความสว่างตอนกลางคืน การถ่ายเทของอากาศ เครื่องแต่งกายผู้ป่วย เสียงของผู้ป่วยข้างเคียง และสภาพเตียงนอนของผู้ป่วย นอกจากนั้นยังพบว่า ผู้ป่วยที่มีปัญหาการนอนไม่หลับและผู้ป่วยที่เคยใช้ยานอนหลับมาก่อนในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา รวมทั้งผู้ป่วยที่มีภาวะวิตกกังวลหรือภาวะซึมเศร้าก็มีความสัมพันธ์กับการมีปัญหาการนอนขณะอยู่ในโรงพยาบาลอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติด้วยเช่นกัน สภาพแวดล้อมทางกายภาพตามที่ผู้ป่วยสูงอายุรับรู้และมีความสัมพันธ์กับการนอนไม่หลับนั้นส่วนใหญ่เป็นประเด็นที่สามารถปรับปรุงหรือ บริหารจัดการเพื่อให้ดีขึ้นได้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสุขสบายของผู้ป่วยสูงอายุและลดปัญหาการนอนไม่หลับขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-01