ความชุกในการสูบบุหรี่ พฤติกรรมการสูบบุหรี่ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของนักเรียนหญิง มัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • รัชนี วีระสุขสวัสดิ์ พยาบาลวิชาชีพ กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
  • นวลจันทร์ ประเคนรี พยาบาลวิชาชีพ กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
  • วันเพ็ญ ดวงมาลา พยาบาลวิชาชีพ กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
  • วันทนีย์ ทองหนุน พยาบาลวิชาชีพ กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
  • ปาริชาติ ใจสุภาพ พยาบาลวิชาชีพ กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
  • พวงทอง เตชะสิริโกศล พยาบาลวิชาชีพ กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการสูบบุหรี่ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ นักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการศึกษา ณ.จุดหนึ่งของเวลา วัตถุประสงค์เพื่อสำารวจความชุก พฤติกรรมการสูบบุหรี่ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่ของนักเรียนหญิงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สุ่มตัวอย่างด้วยวิธี multistage random sampling คำานวณกลุ่มตัวอย่างด้วยสัดส่วนพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นหญิง เก็บรวบรวมข้อมูลได้ 2,900 ชุด โดยใช้แบบสอบถามผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่สูบบุหรี่มีร้อยละ 11.9 เป็นผู้ที่เคยสูบร้อยละ 2.62 และยังคงสูบบุหรี่ร้อยละ 9.28 กลุ่มที่ยังคงสูบบุหรี่เป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพร้อยละ 60.6 เกรดเฉลี่ย 2.01-2.50 มีเพื่อนสนิทสูบบุหรี่ร้อยละ 73.0 ส่วนใหญ่เริ่มสูบเมื่ออายุ 14-15 ปี มักสูบกับเพื่อนและสูบเวลาเครียดปริมาณการสูบเฉลี่ยน้อยกว่า 10 มวนต่อเดือน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่พบว่าการมีเพื่อนสนิทที่สูบบุหรี่ (odds=7.528, 95%CI=5.795-9.781) อายุตำ่ากว่า 18 ปี (odds=2.217, 95%CI=1.460-3.367) เกรดเฉลี่ยต่ำากว่า 3 (odds=2.183, 95%CI=1.610-2.960) การศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (odds=1.367, 95%CI=1.059-1.765) มีคนในครอบครัวสูบบุหรี่ (odds=1.364 ,95%CI=1.059-1.756) วัยรุ่นหญิงจึงเป็นกลุ่มที่ควรต้องเฝ้าระวังใกล้ชิดและดูแลต่อเนื่องเช่นกัน ควรรณรงค์การไม่สูบบุหรี่ในกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่วัยเด็ก สร้างทัศนคติที่ถูกต้อง สร้างเสริมให้มีทักษะชีวิตที่เข้มแข็ง และควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมคลายเครียดที่เหมาะสมและสร้างสรรค

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-01