การถ่ายภาพรังสีเต้านมแมมโมแกรมต่อเนื่องในช่วงเวลา 5 ปี ในผู้หญิงที่มารับบริการแมมโมกราฟี ปีพุทธศักราช 2551 โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • นิตยา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นักรังสีการแพทย์ กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การถ่ายภาพรังสีเต้านมแมมโมแกรม การคัดกรองมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

บทคัดย่อ

          การตรวจแมมโมแกรมเป็นการคัดกรองวิธีเดียวที่ช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมได้ เพื่อให้การคัดกรองมีประสิทธิผลควรมีการตรวจแมมโมแกรมอย่างต่อเนื่อง การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของการถ่ายภาพรังสีแมมโมแกรมต่อเนื่องในช่วงเวลา 5 ปี ของผู้หญิงที่มารับบริการถ่ายภาพรังสีแมมโมแกรมในปีพ.ศ. 2551 ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการมาถ่ายภาพแมมโมแกรมต่อเนื่อง และพารามิเตอร์ทางรังสีเทคนิคที่ใช้โดยการรวบรวมข้อมูลจากโปรแกรม HOMC Radiology System และภาพแมมโมแกรม พบว่าผู้หญิงจำานวน 356 คน ที่มารับบริการถ่ายภาพแมมโมแกรมในปีพ.ศ. 2551 มีอายุระหว่าง 40-69 ปี เฉลี่ย 49.3 (SD=6.6) ปี มีผู้หญิงที่มีการถ่ายภาพแมมโมแกรมต่อเนื่องในช่วงเวลา 5 ปี เท่ากับ 78 คน (ร้อยละ 21.9) เป็นการตรวจแมมโมแกรมตั้งแต่ 2 ถึง 6 ครั้ง เฉลี่ย 2.72 (SD=1.0) ครั้ง การวิเคราะห์โดย logistic regression พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการถ่ายภาพแมมโมแกรมต่อเนื่องได้แก่ คำาแนะนำาให้ถ่ายภาพแมมโมแกรมต่อเนื่องในรายงานผลแมมโมแกรม และปีที่มารับบริการรักษาพยาบาลครั้งหลังสุด (p<0.001) ศัลยแพทย์เป็นกลุ่มที่ส่งตรวจ แมมโมแกรมมากที่สุด แต่มีผู้รับบริการกลับมาตรวจแมมโมแกรมต่อเนื่องตามคำาแนะนำาในรายงานน้อยที่สุด (ร้อยละ 29) ส่วนค่าพารามิเตอร์ทางรังสีในการถ่ายภาพแมมโมแกรมพบว่าค่าศักย์ไฟฟ้า ค่ากระแส และเวลา มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางลดลง ดังนั้น ควรให้ความสำาคัญกับการตรวจแมมโมแกรมต่อเนื่องมากขึ้น โดยคำแนะนำาในรายงานการแปลผลแมมโมแกรมและคำาแนะนำาจากแพทย์ผู้ส่งตรวจมีส่วนช่วยให้ผู้รับบริการกลับมาตรวจแมมโมแกรมต่อเนื่อง นอกจากนั้น นักรังสีการแพทย์ควรทบทวนการตั้งค่าเทคนิคโดยใช้ระบบ fix kV เพื่อลดปริมาณรังสีและเพิ่มคุณภาพของภาพถ่ายแมมโมแกรม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-01