การลดปริมาณรังสีจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ในเด็กเล็ก
คำสำคัญ:
สัญญาณรบกวน คุณภาพของภาพถ่ายรังสี ปริมาณรังสี เซลล์ตัวอ่อน ความไวต่อรังสี, reconstruction algorithm, region of interestบทคัดย่อ
จากการศึกษาการใช้งานเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ที่มี reconstruction algorithm ให้เลือกได้หลายค่าสำาหรับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์พบว่า การใช้ 120 kVp ที่ 200 mA ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ในการตรวจซีทีสมองเด็กอายุ 0-3 ปี ตามปกติ ให้สัญญาณรบกวน (noise) ใกล้เคียงกับการใช้ 120 kVp ที่ 100 mA แล้วสร้างภาพด้วย smooth algorithm = -1 ในทุกๆ ความหนาของชิ้นสไลซ์ เมื่อพารามิเตอร์ อื่นๆ คงที่ แสดงให้เห็นว่าสามารถใช้เทคนิคการเปลี่ยน reconstruction algorithm แทนการเพิ่ม mA เพื่อลดนอยส์บนภาพซีทีเมื่อลดความหนาของชิ้นสไลซ์ลงได้ จากนั้นจึงนำาเทคนิคดังกล่าวไปใช้ในการตรวจซีทีเด็กเล็กจำานวน 20 ราย แล้วให้รังสีแพทย์ 3 ท่าน ประเมินคุณภาพของภาพเอกซเรย์ได้คะแนนเฉลี่ย 4.87 (4.8-4.9) จากคะแนนเต็ม 5 การใช้ 100 mA สามารถลดปริมาณรังสีที่ให้แก่ผู้ป่วยลงครึ่งหนึ่งจากของเดิม (200 mA=25.8 mGy, 100 mA=12.9 mGy) นอกจากนั้นยังช่วยยืดอายุการทำางานของหลอดเอกซเรย์อีก ด้วย