การพยาบาลผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูน และใส่ขดลวดค้ำยันแบบฉุกเฉิน

ผู้แต่ง

  • สุเพียร โภคทิพย์ พยาบาลวิชาชีพ งานห้องผู้ป่วยหนักโรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขด ขวดค้ำายันชนิดฉุกเฉิน กระบวนการพยาบาล เพศภาวะ

บทคัดย่อ

          การรับรู้ของคนส่วนใหญ่เชื่อว่าโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI เป็นโรคของผู้ชายทำให้ผู้หญิงโดยเฉพาะผู้ที่อายุน้อย มีโอกาสได้รับการวินิจฉัยที่คลาดเคลื่อนได้สูง เสี่ยงต่อการเสียชีวิตอย่างกะทันหันได้ง่าย พยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำาคัญในการดูแล เนื่องจากเป็นคนแรกที่พบเห็นผู้ป่วย ซึ่งถ้าพยาบาลมีทักษะความสามารถในการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ประเมินสภาพ การอ่านและแปลผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ถูกต้องสามารถรายงานแพทย์ได้อย่างถูกต้อง จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัย รักษาได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว สามารถผ่านพ้นจากภาวะวิกฤตที่คุกคามได้อย่างปลอดภัย และได้รับการส่งเสริมในการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ เพื่อป้องกันการเกิดโรคซำ้า วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อนำาเสนอกรณีศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยหญิงที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิด STEMI ที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและใส่ขดลวดคำ้ยัน โดยใช้กระบวนการพยาบาลร่วมกับมุมมองเชิงเพศภาวะ ดังนี้ การพยาบาลระยะแรกรับ ซึ่งพยาบาลมีบทบาทหน้าที่สำาคัญในการบรรเทา ลดอาการเจ็บหน้าอก โดยการช่วยให้ได้รับการรักษาการขยายหลอดเลือด
หัวใจที่รวดเร็ว และการพยาบาลด้านจิตใจเพื่อลดความหวาดกลัวและวิตกกังวล การพยาบาลระยะต่อเนื่องพยาบาลมีบทบาทหน้าที่สำาคัญในการติดตามเฝ้าระวัง (monitoring) เพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ส่วนการพยาบาลระยะจำาหน่ายโดยพยาบาลมีบทบาทหน้าที่สำาคัญในการให้ความรู้ (educator) เพื่อสร้างความตระหนักในการดูแลตนเองและการค้นหาและปรับเปลี่ยนปัจจัยเสี่ยง รวมทั้งการส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจเพื่อป้องกันการเกิดโรคกลับซ้ำา และป้องกันภาวะขดลวดอุดตันซ้ำา ซึ่งพยาบาลจะต้องมีความรู้ ทักษะความชำานาญในการรวบรวมข้อมูล การประเมินสภาพ การอ่านและแปลผล EKG ที่แสดงถึงภาวะผิดปกติต่างๆได้ และสามารถให้การแก้ไขช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยได้ ส่วนมุมมองเชิงเพศภาวะพบว่ามีประเด็นที่น่าสนใจ 2 ประการคือ เพศ และอายุ ไม่สอดรับกับองค์ความรู้เดิม และยังมีพฤติกรรมการแสวงหาการรักษาที่ล่าช้า ถึงแม้จะมีอาการที่ชัดเจน ซึ่งจำาเป็นต้องได้รับการพัฒนาปรับปรุง เพื่อช่วยให้ผู้หญิงสามารถเข้าถึงบริการได้อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการให้บริการ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-01