การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งกล่องเสียงเฉพาะราย : รายงานผู้ป่วย 3 ราย

ผู้แต่ง

  • เอื้อมพร ชมภูมี พยาบาลวิชาชีพ งานห้องผ่าตัด กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โรคมะเร็งกล่องเสียง, การผาตัดกล่องเสียง, การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด

บทคัดย่อ

          โรคมะเร็งกล่องเสียงเป็นเนื้องอกชนิดร้ายแรงที่สามารถป้องกันได้และเป็นโรคที่รักษาให้หายได้การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดขึ้นกับขนาดและตําแหน่งของมะเร็ง สําหรับการรักษาโดยการผ่าตัดกล่องเสียงออก ทั้งหมดเป็นการผ่าตัดเอาพยาธิสภาพออกได้หมดและลดอัตราการลุกลามของมะเร็งได้ เป็าหมายสําคัญของการให้การพยาบาลทางห้องผ่าตัดเพื่อให้บริการการพยาบาลแบบองค์รวมทุกระยะการผ่าตัด การผ่าตัดราบรื่นสําเร็จลุล่วงด้วยดี ผู้ป่วยปลอดภัย และไม่มีภาวะแทรกซ้อน รายงานนี้จัดทําเพื่อศึกษาการให้การพยาบาล ผู้ป่วยผ่าตัดมะเร็งกล่องเสียง3ราย ซึ่งมีปัญหาแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ในระหว่างการผ่าตัดมะเร็งกล่องเสียงพยาบาลห้องผ่าตัดเป็นผู้มีบทบาทสําคัญในระยะผ่าตัดที่จะทําให้การผ่าตัดเป็นไปด้วยความราบรื่นใช้เวลาในการผ่าตัดน้อยและให้การรักษาได้ผลดี ผู้ป่วยมีความปลอดภัย โดยต้องมีความรู้ความสามารถในการบูรณาการความรู้เกี่ยวกับโรค พยาธิสภาพของโรค ทฤษฎีทางการพยาบาลและการให้การพยาบาลทั้งในระยะก่อนผ่าตัดระยะผ่าตัดและระยะหลังผ่าตัดในแต่ละราย อย่างไรก็ตามในการผ่าตัดอาจมีการเปลี่ยนแปลงและบางครั้งก็ไม่เป็นไปตามขั้นตอนหรือคาดการณ์ได้ทั้งหมด พยาบาลห้องผ่าตัดจึงต้องมีวิจารณญาณ มีความชํานาญในการจัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้การส่งเครื่องมือ ต้องพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้ทันเทคโนโลยีสมัยใหม่ การแก้ปัญหาในระยะวิกฤต เพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพการผ่าตัดสําเร็จลุล่วงด้วยดีและผู้ป่วยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน นอกจากนั้นภายหลังการผ่าตัดผู้ป่วยอาจมีความวิตกกังวลมากกับภาพลักษณ์ การดูแลแผลเจาะคอ และการติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่น ทําให้สูญเสียความมั่นใจในตนเอง ซึ่งสามารถให้การช่วยเหลือได้โดยพยาบาลและทีมสหสาขาวิชาชีพให้คําแนะนําและสนับสนุนญาติหรือผู้ดูแลใกล้ชิด ตั้งแต่ก่อนการผ่าตัดและหลังการผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยมีความพร้อม สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจําวันในสังคมได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-01