ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจต่อบริการสุขภาพ ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ที่รับการดูแลในคลินิก หมอครอบครัว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธาน
คำสำคัญ:
ความพึงพอใจ, ปัจจัย, บริการสุขภาพ, ปฐมภูม, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูงบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจต่อบริการสุขภาพในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงที่รับการดูแลในคลินิกหมอครอบครัว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
วิธีดำเนินการวิจัย: ในงานวิจัยเแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์นี้ ผู้วิจัยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่างจากผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 373 คนโดยเก็บข้อมูลลักษณะทางสังคมประชากรของอาสาสมัคร ลักษณะของหน่วยบริการ และระดับความพึงพอใจต่อบริการซึ่งปรับมาจากเครื่องมือที่ทดสอบความตรงความเที่ยงแล้วในประชากรไทย ผลลัพธ์หลักคือ ระดับความพึงพอใจต่อบริการโดยรวม และความพึงพอใจด้านต่าง ๆ นิยามของการมีความพึงพอใจสูง คือมีคะแนนความพึงพอใจรวม ≥128
คะแนน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ (ร้อยละ) ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, SD)เพื่ออธิบายลักษณะประชากรและใช้สถิติ univariate and multivariate logistic regression เพื่อวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับความพึงพอใจสูงของผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง โดยรายงานค่า odds ratio (OR) พร้อม 95%Confidence interval (CI)
ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อบริการสุขภาพรวม (ค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจรวม 4.16, SD 0.47) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อบริการสุขภาพ 7 ด้าน โดยมีเพียงด้านราคา ที่ให้ค่าคะแนนความพึงพอใจค่อนข้างน้อย (ค่าคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจ 3.94 , SD 0.91) และ ในการวิเคราะห์ multivariate logistic regression พบว่า ความเป็นส่วนตัวขณะรับการรักษา และ การมีคลินิกนอกเวลา เป็น เพียงสองปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจสูง โดยกลุ่มตัวอย่างที่รู้สึกมีความเป็นส่วนตัวขณะรับการ รักษาระดับมาก/มากที่สุด มีโอกาสที่จะมีความพึงพอใจต่อบริการเพิ่มขึ้นเกือบ 3 เท่า (adjusted odds ratio (OR) 2.99, 95%CI 1.50-6.00, P-value 0.002) เมื่อเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่รู้สึกเป็นส่วนตัวขณะรับการรักษาระดับน้อย และการที่มีคลินิกนอกเวลา มีความสัมพันธ์กับโอกาสที่จะพึงพอใจ ลดลง 42 % เมื่อเทียบกับการไม่มีคลินิกนอกเวลา (adjusted OR 0.58, 95%CI 0.37-0.92, P-value 0.021)
สรุปผล: ผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีระดับความพึงพอใจโดยรวมต่อบริการสุขภาพของคลินิกหมอครอบครัวค่อนข้างสูง และปัจจัยสำคัญที่สัมพันธ์กับการเกิดความพึงพอใจสูงต่อบริการสุขภาพของคลินิกหมอครอบครัว คือ ความเป็นส่วนตัวขณะรับการรักษาและการมีคลินิกนอกเวลา