การเปรียบเทียบทางชีวกลศาสตร์ของโครงแบบ DCCS และ CFIX ของสกรูในการยึดคอของกระดูกต้นขาเทียมที่หัก
คำสำคัญ:
การหักที่ชันของคอของกระดูกต้นขา, ชีวกลศาสตร์, การตรึงภายใน, โครงแบบสกรู, กระดูกเทียมบทคัดย่อ
บทนำ: การหักของส่วนคอของกระดูกต้นขาเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติ อุปกรณ์ที่นิยมใช้ในการยึดตรึงกระดูกนั้นได้แก่ การยิงสกรู ในส่วนลักษณะการหักการแบ่งประเภทของ Pauwel นั้นจะแบ่งตามมุมของรอยหักที่คอของกระดูกต้นขาเทียบกับแนวราบ ซึ่งใน ประเภท 3 นั้น แรงกดอัด (compressive) จะน้อยลง ส่วนแรงเฉือน และแรง varus จะมากขึ้น ทำให้ยิ่งมุมยิ่งมาก รอยหักก็ยิ่งไม่มั่นคงมากขึ้นเท่านั้น นำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่มากขึ้นของรอยหักเหล่านั้น ได้เคยมีการศึกษาตำแหน่งและทิศทางที่เหมาะสมในการวาง สกรู โดยได้ศึกษา
การวางสกรู สองและสามตัว ในทิศต่างๆ ซึ่งล้วนแต่จะได้ผลที่แตกต่างกันออกไป แต่ยังขาดการพิสูจน์ที่เด่นชัดของการยิงสกรูแบบขนาน ซึ่งในความเป็นจริงนั้นจะเห็นได้ว่าหลักการยิงสกรูที่ยอมรับกันนั้นไม่ได้ให้ความแข็งแรงที่เหมาะสม ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่อไป
วัตถุประสงค์: การศึกษานี้ คือการศึกษาชีวกลศาสตร์เกี่ยวกับการยึดตรึงคอของกระดูกต้นขาที่หักแบบ Pauwel 3 2 แบบได้แก่ โครงแบบสามเหลี่ยมหัวคว่ำทั่วไปที่มีสกรูรับชิ้นกระดูกไกลบริเวณ calcar เพียง 1 แนว (CFIX), และโครงแบบใหม่ที่รองรับชิ้นกระดูกไกลบริเวณ calcar 2 แนว (DCCS) ซึ่งหากแข็งแรงเพียงพอก็จะนำมาใช้เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่รบกวนเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและสูญเสียเนื้อกระดูกในขณะผ่าตัดน้อย
วัสดุและวิธีการ: การวิจัยเชิงทดลองของกระดูกต้นขาเทียมจากบริษัทเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้รับการรับรองความเท่าเทียมจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มาแบ่ง 2 กลุ่ม กลุ่มละ 3 ชิ้น และนำมาจำลองการหักและตรึงด้วยโครงสกรู 2 แบบ นำมาทดสอบ AP bending test, axial compression test เพื่อหา ความแข็งตึง ในแนวหน้าหลัง ความแข็งตึงในแนวบนล่าง และระดับแรงที่ทำให้เกิดความเสียหายในแนวบนล่าง และวิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ student t-test โดยข้อมูลเอกสารถูกบันทึกในโปรแกรม SPSS เวอร์ชั่น 13
ผลการศึกษา: ตัวอย่างกระดูกต้นขาเทียมทั้งสองกลุ่มนั้นได้รับการรับรองความเท่าเทียมจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว ส่วนผลการศึกษานั้น ความแข็งตึงในแนวบนล่าง และระดับแรงที่ทำให้เกิดความเสียหายในแนวบนล่างของ DCCS (1755 N/mm, 1040 N, ตามลำดับ) สูงกว่าความแข็งตึงในแนวบนล่าง และระดับแรงที่ทำให้เกิดความเสียหายในแนวบนล่างของ CFIX (1130 N/mm, 815 N, ตามลำดับ) อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ แต่ ความแข็งตึงในแนวหน้าหลังของ DCCS (4.95 Nm/degree) สูงกว่าความแข็งตึงในแนวหน้าหลัง ของ CFIX (4.32 Nm/degree) อย่างไม่มีนัยยะสำคัญทางสถิติ
สรุป: การยิงสกรูแบบ DCCS มีความแข็งแรงกว่าการยิงสกรูแบบ CFIX ในการตรึงการหักของคอกระดูกต้นขาแบบ
Pauwel 3