การศึกษาผลการเพาะเชื้อเทียบระหว่างน้ำปัสสาวะที่เก็บจาก กระเพาะปัสสาวะก่อนผ่าตัด, น้ำปัสสาวะที่เก็บจากกรวยไต และนิ่ว ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดนิ่วด้วยการเจาะรูผ่านผิวหนัง

ผู้แต่ง

  • สายฝน บรรณจิตร์ แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลหนองบัวลำภู
  • เรืองศิริ ภานุเวศ กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลหนองบัวลำภู

คำสำคัญ:

การเพาะเชื้อจากนิ่ว, น้ำปัสสาวะจากกรวยไต, เพาะเชื้อจากน้ำปัสสาวะ, การผ่าตัดด้วยการเจาะรูผ่าน ผิวหนัง

บทคัดย่อ

บทนำ: นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะเป็นโรคที่พบบ่อยในผู้ป่วยศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะ จากสถิติในโรงพยาบาลหนองบัวลำภู 3 ปีตั้งแต่ มกราคม 2560 ถึง มกราคม 2563 พบว่ามีผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคนิ่วในไตและนิ่วในท่อไตแบบผู้ป่วยในปีละ 229, 253 และ 284 ครั้งตามลำดับ มีผู้ป่วยติดเชื้อเนื่องจากนิ่ว 75% เกิดอุบัติการณ์ภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตถึง 5% ดังนั้นการทราบเชื้อที่จำเพาะ และเลือกใช้ยาที่เหมาะสมจึงมี ความสำคัญ

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบผลการเพาะเชื้อระหว่างน้ำปัสสาวะที่เก็บจากกระเพาะปัสสาวะ ,กรวยไต และนิ่วที่ได้จากการผ่าตัดด้วยการเจาะรูผ่านผิวหนัง (PCNL) ศึกษาการตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ ซึ่งจะสามารถนำมาเป็นแนวทางในการเลือกใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสม เพื่อลดโอกาสเกิดการติดเชื้อในกระแสโลหิตได้

วัสดุและวิธีการ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงวินิจฉัยรูปแบบการศึกษาช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง รวบรวมข้อมูลแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง ศึกษาในผู้ป่วยนิ่วในไตที่ได้รับการผ่าตัดด้วยการเจาะรูผ่านผิวหนัง (PCNL) แผนกศัลยกรรมในโรงพยาบาลหนองบัวลำภู ตั้งแต่ 1 มกราคม 2560 ถึง 1 มกราคม 2563 จำนวน 242 คน โดยการเก็บน้ำปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะในวันแรกที่นอนโรงพยาบาล และเก็บน้ำปัสสาวะจากกรวยไตขณะทำผ่าตัด และนิ่วโดยเก็บส่งเพาะเชื้อหลังผ่าตัดไม่เกิน 2 ชั่วโมง

ผลการศึกษา: พบเชื้อมากที่สุดในนิ่ว (79%) น้ำปัสสาวะจากกระเพาะปัสสาวะ (33%) และน้ำปัสสาวะจากกรวยไต (24%) ตามลำดับ เชื้อที่ขึ้นตรงกันทุกตำแหน่ง ที่พบบ่อยที่สุดคือ E.coli รองลงมาคือ Streptococci spp. เชื้อไวต่อยาปฏิชีวนะ 5 อันดับแรกได้แก่ Tazocin, Amikacin, Sulperazone, Ceftriaxone และ Meropenem

สรุป: เชื้อที่พบได้บ่อยที่สุดคือ E.coli ซึ่งพบเชื้อมากที่สุดในนิ่ว ceftriaxone ยังสามารถใช้เป็น prophylaxis
antibiotic ได

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-01