การศึกษาอัตราการรอดชีวิตและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรอดชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งตับ ที่รักษาด้วยยาเคมีบำบัดสูตร FOLFOX ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี: การศึกษาจากข้อมูลย้อนหลัง
คำสำคัญ:
Hepatocellular carcinoma, Chemotherapy, FOLFOXบทคัดย่อ
ความสำคัญและที่มา: มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับต้นในประเทศไทย ผู้ป่วยมะเร็งตับส่วนใหญ่มาพบแพทย์ในระยะลุกลามไม่สามารถให้การรักษาด้วยการผ่าตัด หรือการรักษาเฉพาะที่ การรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ตามคำแนะนำคือ การใช้ยารักษากลุ่ม Anti-VEGF และยากลุ่ม Immunotherapy แต่เนื่องจากบริบทในประเทศไทยมีข้อจำกัดการเข้าถึงกลุ่มยาดังกล่าวข้างต้น ผู้ป่วยมะเร็งตับในระยะลุกลามจำนวนมากได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนประโยชน์ของการใช้ยาเคมีบำบัดค่อนข้างจำกัด
วัตถุประสงค์: ศึกษาอัตราการรอดชีวิตและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรอดชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งตับ ที่รักษาด้วยยาเคมีบำบัดสูตร FOLFOX ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
วิธีการวิจัย: ในการศึกษาแบบ Retrospective cohort study นี้ ทำในผู้ป่วยมะเร็งตับที่ไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัด หรือการรักษาเฉพาะที่ได้ มีอายุตั้งแต่ 18-75 ปี มีผลชิ้นเนื้อยืนยันการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับ หรืออาการทางคลินิกเข้าได้โดยอ้างอิงตาม AASLD criteria และรักษาในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โดยการเก็บข้อมูลลักษณะทั่วไป ลักษณะทางคลินิก และผลลัพธ์การเสียชีวิต จากการทบทวนเวชระเบียน และยืนยันการเสียชีวิตโดยฐานข้อมูลมรณบัตรในทะเบียนราษฎร์ เพื่อวิเคราะห์อัตราการรอดชีวิต และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิต โดยใช้สถิติ Kaplan-Meier estimator และ Cox proportional hazard model
ผลการศึกษา: จากการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ผู้ป่วยมะเร็งตับที่รักษาด้วยยาเคมีบำบัดสูตร FOLFOX
ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ มีจำนวนทั้งหมด 70 ราย มีระยะเวลาการรอดชีวิต (median overall)