Journal Information
จริยธรรมการตีพิมพ์
จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความในวารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา ISSN 2985-251X (Online)
วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา (Thai Journal of Public Health and Health Education) เป็นวารสารวิชาการระดับชาติรับตีพิมพ์บทความวิจัยและบทความทางวิชาการ ด้านการสาธารณสุข (Public Health) ด้านพฤติกรรมสุขภาพ (Health Behavior) วิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Sciences) ด้านทันตสาธารณสุข (Dental Public Health) ด้านการพยาบาล (Nursing) และด้านสุขภาพศึกษา (Health Education) โดยกำหนดการเผยแพร่ ปีละ 3 ฉบับ ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม และ ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม บทความที่เสนอขอเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสาร ต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง และสามารถให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์แก่นักวิจัยก่อนการเผยแพร่ตีพิมพ์ จำนวน 3 ท่าน ในกรณีที่มีผลการประเมินต่างกันให้บรรณาธิการเป็นผู้พิจารณา โดยไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียนบทความและผู้ประเมินบทความ (Double-Blind Peer Review)
ทั้งนี้วารสารได้กำหนดบทบาทและหน้าที่สำหรับบุคคล 3 กลุ่ม ที่อยู่กระบวนการของการการเผยแพร่ตีพิมพ์บทความ ได้แก่ บรรณาธิการวารสาร (Editor) ผู้นิพนธ์ (Authors) และผู้ประเมินบทความ (Reviewers) ดังนั้นขอให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง 3 กลุ่มได้ศึกษาและปฏิบัติตามข้อกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การดำเนินการเผยแพร่บทความเป็นไปตามจริยธรรมเพื่อวงการวิชาการต่อไป
บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ (Editor)
- บรรณาธิการ มีหน้าที่พิจารณากลั่นกรองบทความที่สอดคล้องกับขอบเขตการตีพิมพ์ของวารสาร
- บรรณาธิการ คัดเลือกบทความเพื่อตีพิมพ์หลังจากผ่านกระบวนการประเมินบทความแล้ว โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ ความชัดเจน และมีคุณภาพ
- บรรณาธิการ ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลผู้นิพนธ์และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง
- บรรณาธิการ ต้องไม่ลงตีพิมพ์ หรือตอบรับบทความเพื่อตีพิมพ์โดยไม่ผ่านกระบวนการประเมินบทความ
- บรรณาธิการ ต้องมีการตรวจสอบบทความเกี่ยวกับการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) ทั้งนี้หากพบการ
- คัดลอกผลงานผู้อื่นมากกว่า 20% บรรณาธิการต้องแจ้งให้ผู้นิพนธ์ทราบเพื่อขอคำชี้แจงประกอบการพิจารณาตอบรับหรือปฏิเสธ การตีพิมพ์บทความนั้น
- บรรณาธิการ ต้องมีการตรวจสอบการขอรับรองจริยธรรมการวิจัยของบทความ (Ethical approval) รวมทั้งตรวจสอบระยะเวลาของการดำเนินการวิจัยจะต้องดำเนินการหลังจากได้ผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วเท่านั้น
- บรรณาธิการ ต้องไม่มีผลประโยชน์ร่วมกับผู้นิพนธ์ และผู้ประเมิน
บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์ (Authors)
- ผู้นิพนธ์ ต้องรายงานข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการศึกษาในการเขียนบทความ โดยไม่บิดเบือนข้อมูล หรือสร้างข้อมูลที่เป็นเท็จ
- ผู้นิพนธ์ ต้องรับรองว่าผลงานหรือบทความที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่ และไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใดมาก่อน และไม่อยู่ในระหว่างการเสนอเพื่อขอเผยแพร่ตีพิมพ์ทในวารสารอื่น
- ผู้นิพนธ์ ต้องมีการอ้างอิงผลงานที่นำมาใช้ในงานของตนเองทุกผลงาน และต้องนำไปอ้างอิงในรายการอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ
- ผู้นิพนธ์ ต้องใส่ชื่อผู้ร่วมวิจัยที่เกี่ยวข้องทุกคนในกรณีที่งานวิจัยมีผู้ร่วมทำงานหลายคน โดยไม่แอบอ้างเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตนเองแต่เพียงผู้เดียว
- ผู้นิพนธ์ ต้องรับรองว่าผลงานหรือบทความดังกล่าวที่ส่งมายังวารสารไม่มีข้อความ ภาพ และตารางใดๆ ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ส่วนบุคคลของผู้อื่น
บทบาทหน้าที่ของผู้ประเมินบทความ (Reviewers)
- ผู้ประเมินบทความ ควรมีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ที่ประเมิน โดยควรให้ความสำคัญด้านคุณภาพของบทความ และต้องตัดสินโดยอาศัยข้อมูลทางวิชาการมารองรับ และไม่ตัดสินด้วยเหตุผลส่วนตัว
- ผู้ประเมินบทความ จะต้องรักษาความลับของผลการประเมินอย่างเคร่งครัด และจะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลผลการประเมินบทความ ขณะประเมินหรือหลังการประเมินให้แก่บุคคลอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องทราบ
- ผู้ประเมินบทความ ไม่ควรมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ ซึ่งส่งผลให้การประเมินขาดความ โปร่งใส ไม่เป็นอิสระ หากมีควรแจ้งให้บรรณาธิการทราบตั้งแต่เบื้องต้นที่ได้รับบทความนั้น
- ผู้ประเมินบทความ ควรให้ข้อเสนอแนะทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อบทความนั้นๆ เพื่อประโยชน์ทางแวดวงวิชาการ
- ผู้ประเมินบทความ หากพบว่าบทความมีการคัดลอกผลงาน หรือการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ ควรแจ้งให้บรรณาธิการทราบ