การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความที่ส่งตีพิมพ์ในวารสาร เป็นบทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ยังไม่เคยตีพิมพ์ หรืออยู่ในระหว่างรอการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์จากวารสารอื่น
  • กระบวนการดำเนินการวิจัยผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัย และแนบส่งสำเนาเอกสารรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาพร้อมการส่งบทความในครั้งนี้
  • นิพนธ์ต้นฉบับเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word ด้วยฟ้อนท์ TH SarabunPS และเตรียมตาม Temple บทความที่วารสารกำหนด
  • นิพนธ์ต้นฉบับเตรียมทั้งรูปแบบบทความและการอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines) ของทางวารสารทุกประการ
  • รูปแบบการอ้างอิงใช้ระบบอ้างอิงแบบ American Psychological Association (APA) 6th Edition ตามที่วารสารกำหนด การอ้างอิงในเนื้อหาและรายการอ้างอิงท้ายบทความตรงกันทุกรายการ
  • ข้าพเจ้าขอรับรองว่าบทความที่ส่งมายังวารสารได้รับความยินยอมจากทีมวิจัยทุกคนให้เผยแพร่ตีพิมพ์ได้ และยินดีที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำของกองบรรณาธิการทุกประการ

คำแนะนำผู้แต่ง

คำแนะนำการเตรียมนิพนธ์ฉบับ (Author Guildline)

โปรดศึกษา คำแนะนำการเตรียมนิพนธ์ต้นฉบับ ก่อนส่งบทความ

คำแนะนำทั่วไป

  1. บทความที่ส่งตีพิมพ์ในวารสาร เป็นบทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ยังไม่เคยตีพิมพ์  หรืออยู่ในระหว่างรอการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์จากวารสารอื่น
  2. กระบวนการดำเนินการวิจัยต้องผ่านการรับรองจริยธรรมการวิจัย โดยขั้นตอนการ Submission บทความ ขอให้แนบส่งสำเนาเอกสารรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
  3. บทความได้รับความยินยอมในการเผยแพร่ตีพิมพ์จากทีมวิจัยทุกคน
  4. บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  5. บทความจัดเตรียมต้นฉบับตามรูปแบบ Template ที่วารสารกำหนดทั้งเนื้อหาบทความ และรูปแบบการอ้างอิง
  6. กองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาออกหนังสือตอบรับตีพิมพ์หลังจากที่บทความผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้นิพนธ์ได้ปรับแก้ไขบทความตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว
  7. บทความที่ทางกองบรรณาธิการออกหนังสือตอบรับตีพิมพ์ไปแล้ว หากผู้นิพนธ์ขาดการติดต่อในขั้นตอนหลังการประเมิน หรือขาดการติดต่อการปรับแก้ไขบทความเพิ่มเติมก่อนการเผยแพร่ตีพิมพ์นั้น ทางกองบรรณาธิการวารสารขอปฏิเสธการตีพิมพ์บทความของท่านในฉบับที่ออกหนังสือตอบรับไปแล้ว แต่ท่านสามารถเผยแพร่ตีพิมพ์ในบทความกับวารสารในฉบับต่อไปได้ หลังจากที่ปรับแก้ไขบทความตามที่กองบรรณาธิการแนะนำสมบูรณ์แล้ว
  8. กองบรรณาธิการจะส่งบทความให้ผู้นิพนธ์อ่านและตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาทั้งหมดเป็นครั้งสุดท้ายและยืนยันการเผยแพร่ตีพิมพ์ หากไม่ได้รับการยืนยันจากผู้นิพนธ์ ทางกองบรรณาธิการจะไม่เผยแพร่ตีพิมพ์ถึงแม้จะออกหนังสือตอบรับตีพิมพ์ให้ท่านไปแล้ว จนกว่าจะได้รับการยืนยันให้เผยแพร่ตีพิมพ์จากผู้นิพนธ์
  9. เนื้อหาของบทความรวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา เป็นความคิดเห็นของผู้นิพนธ์เท่านั้น กองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบต่อความผิดพลาดของเนื้อหาบทความที่เผยแพร่ไปแล้ว

คำแนะนำการเตรียมนิพนธ์ต้นฉบับ

นิพนธ์ต้นฉบับ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ บทคัดย่อ เนื้อบทความ และเอกสารอ้างอิง

การเตรียมบทคัดย่อ (Abstract)

  1. บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษพิมพ์ด้วยอักษร TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 15 pt ตัวปกติ ใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ
  2. รูปแบบการเขียนบทคัดย่อเป็นแบบไม่มีโครงสร้าง (Non-Structure) เนื้อหาของบทคัดย่อควรบอกรายละเอียดย่อของการวิจัยให้ครบถ้วน เช่น บทนำ รูปแบบการวิจัย วัตถุประสงค์การวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ระยะเวลาที่ใช้เก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล คุณภาพของเครื่องมือ ผลการวิจัยนำเสนอในภาพรวมประเด็นที่สำคัญให้สอดคล้องกับวัถตุประสงค์การวิจัย รวมทั้งการนำผลการวิจัยไปใช้ เป็นต้น
  3. จำนวนคำทั้งหมด 250 คำถึง 300 คำ หรือไม่เกิน 1 หน้ากระดาษตามแบบฟอร์มที่วารสารกำหนด
  4. บทคัดย่ออาจจะเขียน 1 ย่อหน้า หรือ 2 ย่อหน้า ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเนื้อหา
  5. บทคัดย่อภาษาไทย ควรเขียนด้วยภาษาไทยทั้งหมด ไม่ต้องวงเล็บภาษาอังกฤษต่อท้ายคำ -นอกจากกรณีที่ต้องการเน้นประเด็นที่สำคัญ กรณีเป็นศัพท์ทางวิชาการ สามารถวงเล็บภาษาอังกฤษต่อท้ายคำภาษาไทยได้ -สามารถใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษเขียนแทนภาษาไทยกรณีที่เป็นคำเฉพาะ หรือค่าสถิติ เช่น Chi squared หรือ Fisher’s exact test เป็นต้น
  6. คำสำคัญ หรือ Key words มีจำนวน 3-5 คำ
  7. การเขียน Key words ใช้ตัวอักษรพิมพ์เล็กทั้งหมด ยกเว้นคำเฉพาะใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ได้ เช่น Thailand
  8. ระบุชื่อผู้รับผิดชอบบทความ ด้วยชื่อ-สกุล และอีเมล ให้ครบถ้วน
  9. บทคัดย่อภาษาอังกฤษ แปลจากบทคัดย่อภาษาไทยให้ตรงกัน และตรวจสอบไวยากรณ์ให้ถูกต้อง
  10. บทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอักฤษ รวมทั้งคำสำคัญ และผู้รับผิดชอบบทความ ให้อยู่ภายใน 1 หน้ากระดาษเท่านั้น

การเตรียมเนื้อบทความ (Contents)

  • บทความวิจัย (Research Article)

ให้ใช้ Template บทความวิจัย ตามที่วารสารกำหนด.นการเตรียมนิพนธ์ต้นฉบับ เนื้อหาของบทความวิจัย ประกอบไปด้วย

          บทนำ

          วัตถุประสงค์การวิจัย

          สมมติฐานของการวิจัย (ถ้ามี)

          กรอบแนวคิดการวิจัย

          ระเบียบวิธีวิจัย

                     รูปแบบการวิจัย

                     ประชากร

                     เกณฑ์การคัดเข้า

                     เกณฑ์การคัดออก

                     กลุ่มตัวอย่าง

          เครื่องมือการวิจัย

          การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ

          การเก็บรวบรวมข้อมูล

          การวิเคราะห์ข้อมูล

          จริยธรรมการวิจัย

          ผลการวิจัย

          อภิปรายผล

          การนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์  

          ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

          กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี)

  • บทความวิชาการ (Academic Article)
  1. ให้ใช้ Template บทความวิชาการ ตามที่วารสารกำหนด
  2. รูปแบบการเขียน ขนาดตัวอักษร และอื่นๆ เหมือนคำแนะนำในการเตรียมนิพนธ์ต้นฉบับบทความวิจัย หัวข้อของบทความวิชาการ ประกอบไปด้วย

       บทคัดย่อภาษาไทย

       บทคัดย่อภาษาอังกฤษ

      บทนำ

      เนื้อเรื่อง

      บทสรุป

     ข้อเสนอแนะ

 การเตรียมเอกสารอ้างอิง (References)

  1. รูปแบบการอ้างอิงใช้ระบบอ้างอิงแบบ American Psychological Association (APA) 6th Edition ตามที่วารสารกำหนด การอ้างอิงในเนื้อหาและรายการอ้างอิงท้ายบทความต้องตรงกัน
  2. พิมพ์เอกสารอ้างอิง TH SarabunPSK ขนาดตัวอักษร 15 ตัวปกติ โดยไม่ต้องใส่ตาราง เพื่อให้ทางวารสารสามารถจัดรูปแบบได้
  3. ตรวจสอบรูปแบบการเขียนอ้างอิงให้ถูกต้องตามที่วารสารกำหนด ก่อน Submission บทความ

รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิง APA 6th  ตามที่วารสารกำหนด 

บทความวิจัย

บทความวิจัย (Research Article)  ด้านการสาธารณสุข (Public Health) ด้านพฤติกรรมสุขภาพ (Health Behavior) วิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Sciences) ด้านทันตสาธารณสุข (Dental Public Health) ด้านการพยาบาล (Nursing) และด้านสุขภาพศึกษา (Health Education)

บทความวิชาการ

บทความวิชาการ (Academic Article) ภาษาไทย หรือ ภาษาอังกฤษ ด้านการสาธารณสุข (Public Health) ด้านพฤติกรรมสุขภาพ (Health Behavior) วิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Sciences) ด้านทันตสาธารณสุข (Dental Public Health) ด้านการพยาบาล (Nursing) และด้านสุขภาพศึกษา (Health Education)

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมลที่ป้อนในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในวารสารนี้เท่านั้นและจะไม่เผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่นๆ