ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคซิฟิลิสในนักเรียนอาชีวศึกษา

ผู้แต่ง

  • วรัญญา ไชยโคตร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • รัติติยา พานิพัฒน์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • เกศิณี หาญจังสิทธิ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • ภคิน ไชยช่วย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • อุรารัช บูรณะคงคาตรี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัย, พฤติกรรม, การป้องกัน, โรคซิฟิลิส, นักเรียนอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

นักเรียน นักศึกษา จัดอยู่ในกลุ่มที่ต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อซิฟิลิส เนื่องจากอยู่ในกลุ่มวัยเจริญพันธุ์และมีความอยากรู้อยากลอง เพื่อนฝูง สภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งอาจทำให้เสี่ยงต่อการยั่วยุให้เกิดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อซิฟิลิสได้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันโรคซิฟิลิสในนักเรียนอาชีวศึกษา และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคซิฟิลิสในนักเรียนอาชีวศึกษา  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอาชีวศึกษา แห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 320 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามสัมพันธภาพในครอบครัว  แบบทดสอบความสามารถในการอ่าน  แบบสอบถามความฉลาดทางสุขภาพเรื่องซิฟิลิส แบบสอบถามการรับรู้เรื่องโรคซิฟิลิส แบบสอบถามการควบคุมตน  มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.73 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ  chi – square และสถิติ Spearman Rank correlation ที่ระดับนัยสำคัญสถิติ เท่ากับ 0.05

ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนอาชีวศึกษามีพฤติกรรมการป้องโรคซิฟิลิสอยู่ในระดับปรับปรุง ปัจจัยที่มีความ ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันโรคซิฟิลิสของนักเรียนอาชีวศึกษาคือ เพศ ผลการเรียนที่ผ่านมา สัมพันธภาพในครอบครัว ความฉลาดทางสุขภาพภาพ การ รับรู้ความรุนแรง และการรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันโรคซิฟิลิส อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่ง ผลการวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางให้กับสถานศึกษาในการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคซิฟิลิสและป้องกัน พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ในนักเรียนอาชีวศึกษา

 

References

กฤชกันทร สุวรรณพันธ์ , สมพาน โคตรธารินทร์ , สุกัญญา ฆารสินธุ์และ ลำพึง วอนอก. (2562). ปัจจัยความฉลาดทางสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเอดส์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพศชายในจังหวัดบึงกาฬ.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7ขอนแก่น, 26(2),71 – 82.

กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคเอดส์วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักระบาดวิทยา.(2562). รายงานผลการเฝ้าระวังพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มนักเรียน ประเทศไทย ปี พ.ศ.2561(พิมพ์ครั้งที่1).กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคเอดส์วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักระบาดวิทยา.

จุฑามาศ เบ้าคำกองและสุภารัตน์ คะตา. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีและ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของนักศึกษา: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 26 (1), 67 – 76.

จุไรรัตน์ รัตนเลิศนาวีและ อภิษาฎา รัศมี. (2562). ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อเอชไอวีในแรงงานข้ามชาติที่เป็นโรคซิฟิลิสและมี พฤติกรรมเสี่ยงด้านโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์: กรณีศึกษา อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 33(1), 46-57.

ณิชาภัทร ปุ่มมีกิจ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เมืองพัทยา. สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุชน, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

พนมพร ปิยะกุล. (2559). พฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนอาชีวศึกษา ในจังหวัดสมุทรปราการ.คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พอเพ็ญ ไกรนรา. (2556). ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนระดับมัธยมในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาทางแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลปกเกล้า, 30(4), 274-286

ภาวิณี มนตรี. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพด้านการป้องกันโรคเอดส์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของข้าราชการทหารกองพลทหารปืนใหญ่ ค่ายพิบูลสงคราม จังหวัดลพบุรี, สาขาวิชาสุขศึกษา, คณะพลศึกษา, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรางคณา มั่นสกุล. (2559). การติดเชื้อซิฟิลิสและเอชไอวี.วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง.มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กรุงเทพมหานคร, 60(2), 147-158.

วัชราพร เชยสุวรรณ. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ : แนวคิดและการประยุกต์สู่ การปฏิบัติการ พยาบาล. วารสารแพทย์นาวี, 44(3), 183 – 195.

ศริญญา เจริญศิริ, ชนัญชิดาดุษฏีและ ยุวดี ลีลัคนาวีระ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในนักศึกษาชายของการศึกษานอกระบบโรงเรียน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลปกเกล้า, 30(2).

ศิวานิตย์ ทองคำ, ฉวีวรรณ บุญสุยา, เสาวนีย์ ทอง นพคุณและ สาวิตรี วิษณุโยธิน. (2562). พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ในพื้นที่อุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 15(1), 86-98.

สำนักงานโรคเอดส์ วันโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. (2561). รายงานประจำปี พ.ศ. 2560 สำนักงานโรคเอดส์ วันโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (พิมพ์ครั้งที่ 1). โรงพิมพ์ เจ.เอส. การพิมพ์: กระทรวงสาธารณสุข.

สุมิตตา สว่างทุกข์และ ปาริชาติ ทาโน. (2558). การศึกษาการตระหนักรู้ในพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนวัยรุ่น. วารสารเกื้อการุณย์, 22(2), 41 – 56.

สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2560 ) ยุทธศาสตร์ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แห่งชาติ พ.ศ.2560 - 2564(พิมพ์ครั้งที่1 ). กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-15