ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคซิฟิลิสของนักเรียนเทคนิคค

ผู้แต่ง

  • จุฑาทิพย์ ยอดสง่า โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยแดง จังหวัดกาฬสินธุ์
  • มณีวรรณ ดาบสมเด็จ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองผือ ตำบลนาแก้ว อำเภอโพนนาแก้ว จังหวัดสกลนคร
  • เกศิณี หาญจังสิทธิ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • ภคิน ไชยช่วย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • อุรารัช บูรณะคงคาตรี วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, พฤติกรรมการป้องกัน, ซิฟิลิส, นักเรียนวิทยาลัยเทคนิค

บทคัดย่อ

โรคซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ที่เคยระบาดในอดีตและกลับมาระบาดอีกครั้ง และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มนักเรียน นักศึกษา การศึกษาครั้งนี้เป็น Cross - Sectional Analytical Study Design มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคซิฟิลิสและความสัมพันธ์ด้านปัจจัยส่วนบุคคล ความฉลาดทางสุขภาพ การรับรู้เกี่ยวกับโรคซิฟิลิส และพฤติกรรมการป้องกันโรคซิฟิลิส กลุ่มตัวอย่างที่เป็นวัยรุ่นอายุ 15-24 ปี ที่ศึกษาในวิทยาลัยเทคนิคแห่งหนึ่ง จำนวน 321คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการป้องกัน  โรคซิฟิลิส ความฉลาดทางสุขภาพในการป้องกันโรคซิฟิลิส สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้  Chi-square และ Fisher’s exact test สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ สเปียร์แมน (Spearman Rank Correlation Coefficient) ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อย 83.5 ระดับพฤติกรรมการป้องกันโรคซิฟิลิสอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การป้องกันโรคซิฟิลิส ได้แก่ ความฉลาดทางสุขภาพด้านความรู้เท่าทันสื่อในการป้องกันโรคซิฟิลิส การรับรู้เกี่ยวกับโรคซิฟิลิส ในด้านการรับรู้ความสามารถตนเองในการป้องกันโรคซิฟิลิส

ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ความฉลาดทางสุขภาพด้านการป้องกันโรคซิฟิลิส การรับรู้เกี่ยวกับโรคซิฟิลิสมีผลทำให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันโรคซิฟิลิสได้ สามารถนำข้อมูลใช้ในการทำโปรแกรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคซิฟิลิสต่อไป 

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562).ซิฟิลิสกลับมาระบาด.เอกสารแจกฟรี 6 (6) ฉบับที่ 6 มิถุนายน 2562.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2554). ความฉลาดทางสุขภาพ(1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์นิว ธรรมดาการพิมพ์ (ประเทศไทย) จำกัด.

กิตติพงษ์ พลเสน.(2014).ปัจจัยที่มีผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนระดับอาชีวศึกษาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ก้องกฤษฎากรณ์ ชนแดง,และคณะ.(2561).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีของเยาวชนชายในทัณฑสถานแห่งหนึ่ง.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ.36(1),43-51.

กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์ ,และคณะ. (2562). ปัจจัยความฉลาดทางสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเอดส์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเพศชายในจังหวัดบึงกาฬ:สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น.

ชฎารัตน์ แก้วเวียงเดช,และคณะ.(2559).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครพนม.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม ,มหาวิทยาลัยนครพนม.17(3),168-177

ชนัญญา คุ้มครอง,และคณะ.(2557).ความสัมพันธ์ของความรู้เท่าทันทางด้านสุขภาพและความรู้เกี่ยวกับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสกับความต่อเนื่องสม่ำเสมอในการรับประทานยาต้านไวรัสในผู้ติดเชื้อเอชไอวี.วารสารเกื้อการุณย์.

ชะนวนทอง ธนสุกาญจน์,นรีมาลย์ นีละไพจิตร.(2558).การพัฒนาเครื่องมือวัดความรู้แจ้งแตกฉานด้านสุขภาพ Health Literaty : กอง สุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับ มหาลัยมหิดล

จิระภา ขาพิสุทธิ์.(2561).ความฉลาดทางสุขภาพ และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยนเรศวร. คณะศึกษาศาสตรมหาวิทยาลัยมหาสารคาม,24(1),1-12.

จุฑามาศ เบ้าคำกอง,และคณะ.(2019).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีและโรค ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของนักศึกษา:กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. JOURNAL OF THE OFFICE OF DPC7 KHON KAEN, 26(1),66-76.

ชฎารัตน์ แก้วเวียงเดชและคณะ. (2016).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนต้น เขตอำเภอเมืองจังหวัดนครพนม. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 17(3), 168-177.

นิยม จันทร์นวล,และคณะ.(2557).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นแห่งหนึ่งใน จังหวัดอุบลราชธานี.วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,9(2),56-65.

พรทิพย์ เข็มเงิน,และคณะ(2560).รายงานผลการดำเนินงานสำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์.สำนักโรคเอดวัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

ภาวิณี มนตรี.(2557).ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพด้านการป้องกันโรคเอดส์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเอดส์ของ ข้าราชการทหารกองพลปืนใหญ่ ค่ายพิบูลวงครามจังหวัดลพบุรี.วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต(สุขศึกษา),บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

รวมพร คงกำเนิด, และคณะ.(2555).การรับรู้ความรุนแรงและการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นผู้หญิงไทย.สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีนครราชสีมา.

วราภรณ์ สาวิสิทธิ์. (2016).ทัศนคติเรื่องเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่1มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารโรง พยาบาล มหาสารคาม, 13(2), 47-56.

วรางคณา มั่นสกุล.(2559).การติดเชื้อซิฟิลิสและเอชไอวี.วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง.มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชกรุงเทพมหานคร,60(2),147-158

วรรณศิริ ประจันโน,รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์,และพรนภา หอมสินธุ์.(2560).ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลายตามแนวคิดการให้ข้อมูลข่าวสาร แรงจูงใจ และทักษะพฤติกรรม.วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย,29(2),39-51.

วนิดา ภูพันหงษ์และคณะ. (2016).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์.Prae-wa Kalasin Journal of Kalasin University, 3(2), 54-72.

วิชัย พิบูลย์, ธนธรณ์ อินต๊ะเสนา ,และรดา เตชะกุลวิโรจน์.(2559).ปัจจัยเสี่ยงการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ในระหว่างวัยรุ่นและวัยผู้ใหญตอนต้น.วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา,53-57.

ศริญญา เจริญศิริ,และคณะ.(2562).ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในนักศึกษาชายของการศึกษา นอกระบบโรงเรียน.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี,30(2),14-25.

ศิริพร จิรวัฒน์กูล,และคณะ. (2019). ความรู้เกี่ยวกับการคุมกำเนิดการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เอช ไอ วี เอดส์ผลของการตั้ครรภ์ในวัยรุ่นและพฤติกรรมทางเพศของนักเรียนใน17จังหวัด. Disease Control Journal, 45(1), 65-74.

เสาวคนธ์ กลักทองกรณ์,และคณะ. (2016). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยต่อความรู้และความเชื่อด้านสุขภาพ ในการป้องกันตนเองจากการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่นหญิง.วรสารศูนย์การศึกษา แพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า,32(4),308.

องค์กรอนามัยโลก(2562).โรคซิฟิลิส.เข้าถึงได้จาก https://www.who.int/gho/sti/sex_msm/en.

Bandura, A. Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman and Company,1997.

Bandura. A. Social foundations of thought andaction: A Social CognitiveTheory; New Jersey:Prentice-Hall Inc.,Englewood Cliffs, 1986.

Junnual, N., Manwong, M., Suebsamran, P., & Singto, S. (2014). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี. The Public Health Journal of Burapha University, 9(2), 56-65.

Needham, H. E., Wiemann, C. M., Tortolero, S. R. and Chacko, M. R. (2006). Health literacy, reading comprehension, and risk for sexually transmitted infections (STIs) in young women: Are they related? Journal of Adolescent Health, 38 (2), 93-111. Elsevier

Nancy, S. C. (2011). Health literacy, sexually transmitted infection (STI) knowledge and protective sexual behaviour. A dissertation presented to the Teachers College, Columbia University for the award of PhD.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-14