ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • ศตายุ ผลแก้ว วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • ธนกาญจน์ พรหมสาขา ศูนย์อนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี บ้านรุน อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
  • สุจิตรา กินไธสง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตูมใหญ่ อำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมา
  • นัจรินทร์ เนืองเฉลิม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • พนาไพร โฉมงาม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • พาณิชา สร้อยทอง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • ศุภกิตติ์ วิบูลย์ศักดิ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมทันตสุขศึกษา, พฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ, นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองร่วมกับทฤษฎีแรงสนับสนุนทางด้านสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนาส่วง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี 70 คน แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 35 และกลุ่มควบคุม 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมทันตสุขศึกษาประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง (Self-Efficacy Theory) ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม (Social Support) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามและแบบบันทึกการตรวจสภาวะทันตสุขภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยสถิติ Pair Sample t-test

ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่าง หลังได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษา ในกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบประสิทธิผลของโปรแกรมต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบในภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมาก กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับโรคเหงือกอักเสบ และการแปรงฟันที่ถูกวิธี สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และก่อนการทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถตนเอง สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และก่อนการทดลอง มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบสูงกว่าก่อนการทดลอง ในส่วนของคะแนนเฉลี่ยปริมาณคราบจุลินทรีย์ ต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และต่ำกว่าก่อนการทดลองส่วนของคะแนนเฉลี่ยสภาวะ เหงือกอักเสบ ต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และต่ำกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05

References

กุลชาติ วัฒนวงศ์เวฬุวนารักษ์, นิรุวรรณ เทรินโบล์ และประวิ อ่ำพันธ์. (2556). ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎี ความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบ ในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตำบลเมืองแคน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. Thai Dental Nurse Journal, 23(2), 32-41.

ณัฐวุธ แก้วสุทธา, อังศินันท์ อินทรกำแหง และพัชรี ดวงจันทร์. (2558). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของวัยรุ่น.Journal of Srinakharinwiro Research and Development,8(15), 58-75.

ปิยะลักษณ์ เดือนกอง และพรรณี บัญชรหัตถกิจ.(2556).ผลของโปรแกรมการส่งเสริมทันตสุขภาพเพื่อการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ. Thai Dental Nurse Journal, 24(1), 54-67.

พวงทอง ไกรพิบูลย์ (2556). สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยงของเหงือกอักเสบ. ในใจรัตน์ สมบัติพิบูลย์ (บรรณาธิการ),โรคของช่องปากและฟัน. (น.83) .กรุงเทพฯ:อมรินทร์สุขภาพ อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

วีรยุทธ พลท้าว และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2557). ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาร่วมกับการใช้สื่อประสมช่วยสอนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบในนักเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอ โนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. Thai Dental Nurse Journal, 25(2),75-88.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2560). เอกสารแนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุข ประจำปี 2561. กรุงเทพมหานคร : กลุ่มบริหารยุทธศาสตร์.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (ม.ป.ป.). ระยะการเกิดโรคเหงือกอักเสบ.สืบค้นวันที่ 15 สิงหาคม 2562 . จาก http://dental.anamai.moph.go.th.

อุมาพร ชมโฉม, อารยา ปรานประวิตร และวันเพ็ญ แก้วปาน. (2560). ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(1),234-252.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-15