พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ปณิตา ครองยุทธ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • จิรวรรณ แผ่นจันทร์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแกใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
  • ภานุมาศ เครือคำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโจด อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
  • วิมลรัตน์ ฉิมพลีพันธุ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุงขี้หนู อำเภอหนองกี่ จังหวัดบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

สุขภาพช่องปาก, พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 111 คน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม 6 ส่วน ประกอบด้วย 1.ข้อมูลส่วนบุคคล 2. การรับรู้ต่อปัญหาทันตสุขภาพ 3.การเข้าถึงบริการการดูแลสุขภาพช่องปาก 4. การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม 5. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และ 6. แบบตรวจสภาวะสุขภาพช่องปากโดยทันตบุคลากร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุส่วนเป็นเพศหญิง ร้อยละ 74.77 อายุเฉลี่ย 66.90 ปี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมทันตสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{x}= 3.75, SD. = 5.37)และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อโรคทางสุขภาพช่องปากและการรับรู้ประโยชน์ของการดูแลสุขภาพช่องปาก

ผลการวิจัยในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะ คือ หน่วยงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการบริการทันตกรรมแก่ผู้สูงอายุโรคเบาหวาน ควรให้ความสำคัญต่อการให้บริการทันตกรรมและส่งเสริมการสร้างการรับรู้โอกาสเสี่ยงและการรับรู้ประโยชน์ในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อเสริมสร้างสุขภาพช่องปากที่ดี      

References

กนกนุช เนตรงามทวี, (2559). ปัจจัยคุณลักษณะส่วนบุคคล สถานะสุขภาพ ทัศนคติและพฤติกรรมสุขภาพที่มีผลต่อสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอห้วยราช จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 23(2), 23.27.

กนกกร พัฒนกูล. (2560). ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุตำบลบางพรม อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสาคร (ปริญญานิพนธ์). ตรัง: วิทยาลัยการสาธารณสุข สิรินธร.

กรมอนามัย สำนักทันตสาธารณสุข. (2555). การสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก ประตูสู่สุขภาพดีในทุกช่วงชีวิต กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ชุลีพร เผ่านิ่มมงคล. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการเข้ารับบริการทันตกรรมของผู้สูงอายุในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. Journal of Gerontology and Geriatric Medicine.; 17(2). 10-19.

นัฏฐา ติลกการย์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อปัญหาสุขภาพช่องปากและการมาใช้บริการทันตกรรมของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลสงขลา. วารสารทันตแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 5(2); 1-16.

ปริญญา ผกานนท์. (2558). ผลของการกินหมากต่อสภาวะสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ตำบลคำน้ำแซบ อำเภอเวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. การประชุมวิชการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ “สร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน ครั้งที่ 2; 18-19 มิถุนายน 2558; วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.

ภรณี ตังสุรัตน์, วิมลฤดี พงษ์หิรัญญ์. (2556). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลบางเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและงานวิจัย. 20(1): 57-59.

มนฑิญา กงลาและจรวย กงลา (2558). พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าไฮ อำเภอศรีธาติ จังหวัดอุดรธานี. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ: “สร้างสรรค์และพัฒนาเพื่อก้าวหน้าสู่ประชาคมอาเซียน ครั้งที่ 2”; 18-19 มิถุนายน 2558. วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.

วิชชุดา เนตรกุล (2561). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวาน. วิทยาสารทันตสาธารณสุข: 13(2): 69-73.

ศิริรัตน์ รอดแสวง (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ในเขตตำบล ทุ่งทอง อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์. การประชุมวิชาการระดับชาตินเรศรวิจัย ครั้งที่ 12: วิจัย และนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ; 21-22 กรกฎาคม 2559. มหาวิทยาลัยนเรศวร. พิษณุโลก; คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ศิริพันธ์ หอมแก่นจันทร์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตอำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ปทุมธานี.

สิริพรรณ พันธ์พิบูลย์. (2558). พฤติกรรมทันตสุขภาพของผู้สูงอายุ จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 7, 2: 146-154.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย พศ. 2558- 2565. กรุงเทพมหานคร; ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งแประเทศไทย.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2561). จำนวนผู้ป่วยรายใหม่เบาหวาน. Retrieved from http://203.157.166.6/chronic/rep_serv_oldpt.php

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, (2560) รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2550). ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). ขอนแก่น: ภาควิชาชีวสถิติและประชากรศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อุดมพร ทรัพย์บวร. (2562). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุในเขตตำบลนครชัยศรี อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วารสารแพทย์เขต; 4-5. 38: 244 -55.

Becker MH. (1974). The Health Belief Model and Personal Health Behavior. Health Education Monographs. 324-508.

Orem DE. (1995). Nursing: Concepts of Practice 5thed. St. Louis: Mosby-Year Book.

Southerland JH., Moss K., Taylor GW, Beck JD., Pankow J, Gangula PR., and Offenbacher S. (2012). Periodontitis and Diabetes Association with Measures of Atherosclerosis and CHD. Atherosclerosis; 222(1) 196-201.

World Health Organization (2005). Oral Health Programme, Health Promotion, Department of Chronic Diabetes Prevention, Noncommunicable Diseases and Mental Health Cluster. Global Data on Incidence of Oral Cancer, Geneva.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-15