การติดตามอุณหภูมิระบบลูกโซ่ความเย็นในคลังวัคซีนเครือข่าย หน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พรสวรรค์ จันทร์ทอง โรงพยาบาลหนองสองห้อง

คำสำคัญ:

วัคซีน, ระบบลูกโซ่ความเย็น, ติดตามอุณหภูมิ, เครือข่ายปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

วัคซีนจะคงคุณภาพดีต้องอยู่ในระบบลูกโซ่ความเย็นที่มีอุณหภูมิเหมาะสมตั้งแต่จัดเก็บและกระจายวัคซีนจนถึงผู้รับบริการถ้าเกิดปัญหาในระบบลูกโซ่ความเย็นจะส่งผลให้ประสิทธิผลของวัคซีนลดลงจนถึงไม่มีประสิทธิผลในการป้องกันโรคในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามอุณหภูมิระหว่างการขนส่งวัคซีนจากคลังโรงพยาบาลหนองสองห้องไปยังคลังระดับหน่วยบริการปฐมภูมิ และการเก็บรักษาวัคซีนในคลังทั้งสอง ว่าอยู่ในช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมหรือไม่ และหาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ กับอุณหภูมิการเก็บรักษาและการขนส่งวัคซีน เก็บข้อมูลโดยความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของหน่วยบริการปฐมภูมิทั้ง 14 แห่ง โดยใช้แบบประเมินการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในระดับหน่วยบริการ โดยดัดแปลงมาจากแบบประเมินระบบลูกโซ่ความเย็นงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และเครื่องบันทึกอุณหภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าระยะทางในการขนส่งวัคซีนจากคลังโรงพยาบาลถึงคลังหน่วยบริการปฐมภูมิเฉลี่ย 13.08 กิโลเมตร (SD=5.77) ระยะเวลาในการขนส่งเฉลี่ย 19.08 นาที (SD=6.59) อุณหภูมิเฉลี่ยของคลังโรงพยาบาลมีสภาวะอุณหภูมิที่เหมาะสม (+2ถึง+8°C) การติดตามการขนส่งพบว่าไม่มีเส้นทางใดที่สัมผัสอุณหภูมิต่ำกว่า 0°C การพัฒนาการบริหารจัดการระบบลูกโซ่ความเย็นให้มีประสิทธิภาพจะส่งผลให้สามารถควบคุมอุณหภูมิให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมได้ (+2 ถึง+8ºC) มีประสิทธิผลในการป้องกันโรคดังนั้นควรศึกษาให้ครอบคลุมหน่วยบริการปฐมภูมิทุกแห่งในเขตจังหวัดขอนแก่นต่อไป

 

References

กรกมล รุกขพันธ์,พิชญา นวลได้ศรี,และวีรศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์. (2554). การติดตามอุณหภูมิระบบลูกโซ่ความเย็นในคลังความเย็นระดับอำเภอและตำบล.(ฉบับอิเล็กทรอนิกส์).สาขาสังคมและการบริหาร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ชูชาติ คล้ายหิรัญ,บุญจันทร์จันทร์มหา และหฤทัย ทบวงษ์ศรี. (2549) การประเมินผลบริการจัดการ และระบบลูกโซ่ความเย็นของหน่วยบริการคู่สัญญา ของบริการระดับปฐมภูมินอกกระทรวงสาธารณสุขในเขตที่ 6 .สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่นปีที่ 13 ฉบับที่2ม.ค.- มี.ค. 2549.

สมคิด เพชรชาตรี.(2546) การประเมินการปฏิบัติงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคและระบบลูกโซ่ความเย็น เขต 12. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2550). ตารางวัคซีนและการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร: สานักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ศิริรัตน์ เตชะธวัช, พอพิศ วรินทร์เสถียร, เอมอร ราษฎร์จำเริญสุข และคณะ. (25649) การสำรวจคุณภาพวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น ของหน่วยงานสาธารณสุขของรัฐในเขตพื้นที่สาธารณสุขเขต 12. วารสารควบคุมโรค ปีที่ 32 ฉบับที่1 ม.ค.-มี.ค. 2549.

ศิริลักษณ์ ทวีรัตน์, บุญญลิป คะหาวงษ์ และคณะ. (2561) การพัฒนาวิธีจัดส่งวัคซีนของโรงพยาบาลในจังหวัดนครนายก. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่นปีที่ 25 ฉบับที่2 พ.ค.- ส.ค. 2561.

ลิขิต กิจขุนทด, วรพจน์ พรหมสัตยพรต และอนุพันธ์ สุวรรณพันธ์. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น ในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่นปีที่ 22 ฉบับที่2 ก.ค.- ธ.ค. 2558.

พิชญา นวลได้ศรี. (2554) การศึกษาอุณหภูมิระบบลูกโซ่ความเย็นงานสร้างเสริมภูมิคุมกันโรคเขตนครชัยบุรินทร์. ผลงานเอกสารวิชาการ

วิเชียร ชนะชัย. (2556). ประสิทธิภาพของการนำแนวทางระบบลูกโซ่ความเย็นของโรงพยาบาลเทพสถิตไปปฏิบัติในโรงพยาบาลที่สมัครใจ. สารนิพนธ์การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ภ.ม. สาขาวิชาเภสัชกรรมชุมชน มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2556

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-20