ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางกายของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • สมภพ ห่วงทอง สำนักงานสาธารณสุุขจังหวัดราชบุรี
  • สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

ปัจจัย, สมรรถภาพทางกาย, เจ้าหน้าที่สาธารณสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถภาพทางกายของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเปรียบเทียบสมรรถภาพทางกายของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ประจำปี 2563 จำนวน 151 คน จาก สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในอำเภอบ้านคา และโรงพยาบาลบ้านคา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางกายของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้แก่ 1.ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม 2.สอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถภาพทางกายของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 36 ข้อ และ  3.คำถามปลายเปิด ทดสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่น 0.86 การวิเคราะห์ข้อมูล คือ แจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถภาพทางกายของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั้งภายนอกและภายในของเพศชายและเพศหญิงโดยการทดสอบ t-test Independent 

ผลการวิจัยพบว่าสมรรถภาพทางกายของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขปัจจัยภายในของเพศชายและเพศหญิง พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( =3.97,  =0.48) และพิจารณารายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอทำให้ท่านมีสมรรถภาพที่ดี  สมรรถภาพทางกายของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ปัจจัยภายนอกของเพศชายและเพศหญิง พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (  =3.57 ,  =0.60 ) และพิจารณารายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ หน่วยงานของท่านมีนโยบายในการทดสอบสมรรถภาพทางกายเป็นประจำทุกปี (ปีละ 1 ครั้ง) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถภาพทางกายของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระหว่างเพศชายและเพศหญิงโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=4.60)  ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของสมรรถภาพทางกายของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระหว่าง 2 หน่วยงานพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t=4.23)

References

อมรรัตน์ ปักโคทานัง. (2548). การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สิทธิ์ ธีรสรณ์. (2550). แนวคิดพื้นฐานทางการวิจัย กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สงวน สุทธิเลิศอรุณ. (2543). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอักษราพิพัฒน์ จำกัด.

กรกนก ทองโคตร.(2548).การรับรู้บรรยากาศองค์กรกับการพัฒนาตนเองของบุคลากรฝ่าสนับสนุนวิทยานิพนธ์ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ราตรี พัฒนรังสรรค์. (2544). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร: สถาบันราชภัฏจันทรเกษม.

เรียม ศรีทอง. (2542). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพมหานคร : เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.

ละออ นาคกุล (2556) ความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรในโรงพยาบาลรามาธิบดี.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

อดุลย์ ทองจำรูญ. (2556). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในเทศบาลเขตพื้นที่อำเภอแก้งคร้อ จังหวัดชัยภูมิ.

วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

บุญช่วย บุญอาจ. (2545). ความต้องการในการพัฒนาพนักงานครูของเทศบาล จังหวัดชลบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

นพมาศ ทะมาตร์ (2551: 113). การปฏิบัติงานและความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสังกัดกองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ รป.ม. (การบริหารและพัฒนาประชาคมเมืองและ ชนบท). อุตรดิตถ์: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.

อรัญญา บุญยงค์ (2546). ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรด้านการศึกษา: ศึกษากรณีของเทศบาลตำบลแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.ชลบุรี : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิมพ์ใจ ปรางสุรางค์และคณะ.(2555) ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรตามพันธกิจ สังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพิษณุโลก การประชุมวิชาการแห่งชาติมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9 วันที่ 6-7 ธันวาคม 2555 http://researchconference.kps.ku.ac.th/article_9l/index.htm

พิมพ์ลักษณ์ อยู่วัฒนา.(2557). แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนเครือข่ายบริการสาธารณสุข จังหวัดสมุทรสงคราม”. รายงานการวิจัยกลุ่มงานบริหารงานทั่วไป โรงพยาบาลอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. สมุทรสงคราม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม,2557.

ปินฑิรา จันหลวง.(2553). แนวทางการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย”. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

บุญส่ง ลีละชาต. (2559). ความต้องการในการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (การค้นคว้าอิสระนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลักสูตร รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การเมืองการปกครอง) สาขาวิชาการเมืองการปกครองสำหรับนักบริหาร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

พัชรินทร์ ราชคมน์, (2554) ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ /. มหาวิทยาลัยแม่โจ้,:ม.ป.ท.

Best, J. W. 1981. The Tools of Research in Education.4th ed. Englewood. Cliffs. Prentice-Hall, NJ.

Cronbach, Lee J. 1970. Essential of Psychology Testing. 3rd ed. Harper and Row, Publishers, Inc,New York.

Good,C.V.1973. Dictionary of education. McGraw-Hill, New York

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques. 3d ed. New York : John Wiley and Sons Inc.

Drucker, F.P. (1999). Managing oneself. Harvard Business Review, 14(2), 65-74

Likert ,Rensis. and Likert, Jane. (1976). New Way Management Conflict.New York : McGraw- Hill

Litwin, G.H. and R.A. Stringer, Jr. (1968). Motivation and Organizational Climate. Boston: Division of Research, Graduate School of Business Administration, Harvard University.

Nadler, L.,and Nadler Z. (1989).Developing huma resource.3d ed. San Francisco: Jossey-Bass สื่ออิเล็กทรอนิกส์

กัญญามน อินหว่าง. “การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อการพัฒนาองค์การ.” นำข้อมูลขึ้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2554). http://www.thaihealth.or.th/blog/myblog/topic (สืบค้นเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2564).

สุจิตร ยอดเสน่หา. “การพัฒนาบุคลกร” .นำข้อมูลขึ้นเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2556.www.webblog.rmutt.ac.th/ Phasure/2013/07/05/improve/(สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-14