การพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาฟื้นฟูด้วยแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ และพลังภาคีเครือข่ายสำหรับผู้เสพยาเสพติดระบบสมัครใจในจังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • ชฎากาญจน์ ชาลีรัตน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี
  • ยอดชาย สุวรรณวงษ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การบำบัดรักษาฟื้นฟูยาเสพติด, การเรียนรู้จากประสบการณ์, พลังภาคีเครือข่าย

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมผสานวิธีครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบำบัดรักษาฟื้นฟูด้วยแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และพลังภาคีเครือข่ายสำหรับผู้เสพยาเสพติดระบบสมัครใจในจังหวัดสระบุรี ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนกันยายน – ธันวาคม 2564 แบ่งการวิจัยเป็น 2 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การพัฒนารูปแบบเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ด้านการบำบัดรักษา จำนวน 13 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการบำบัดรักษายาเสพติด จำนวน 15 คน เลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แบบอุปนัย 2) การทดสอบรูปแบบเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ จำนวน 7 คน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในกระบวนการบำบัดรักษายาเสพติด จำนวน 130 คน เลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการบำบัดรักษาฟื้นฟูด้วยแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และพลังภาคีเครือข่ายสำหรับผู้เสพยาเสพติดระบบสมัครใจในจังหวัดสระบุรี  มี 5 องค์ประกอบ คือ (1) แนวคิดรูปแบบ: ชุมชนมีความตระหนักเข้าใจและยอมรับผู้ติดยา, การใช้ศักยภาพชุมชนร่วมบำบัด, องค์กรท้องถิ่นเป็นแกนนำขับเคลื่อนการบำบัดยาเสพติด (2) หลักการรูปแบบ: สร้างค่านิยมความรับผิดชอบระดับครอบครัว, เสริมสร้างและสนับสนุนศักยภาพชุมชน, ส่งเสริมผู้นำท้องถิ่นเป็นแกนนำการบำบัดยาเสพติด, ส่งเสริมการบำบัดยาเสพติดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิต, พัฒนาระบบการสื่อสารด้านยาเสพติด (3) เป้าหมายรูปแบบ: ผู้เสพยาเสพติดเข้าถึงการบำบัดที่มีคุณภาพ, ประชาชนมีความรอบรู้ด้านยาเสพติด, เกิดการบูรณาการทำงานของภาคีเครือข่าย (4) กระบวนการรูปแบบ: การบริหารศักยภาพเครือข่าย, การสร้างความร่วมมือภาคประชาชน, การจัดกิจกรรมบำบัดยาเสพติดด้วย 3 ฐานบำบัด, การติดตามเสริมพลัง และ (5) การประเมินผลรูปแบบ: การประเมินผลบุคคล, การประเมินผลเครือข่าย ประเมินรูปแบบพบวว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก (=4.03, S.D.=.731) และมีความเป็นไปได้ในระดับมาก (=3.93, S.D.=.305) สามารถนำรูปแบบไปประยุกต์ใช้กับบริบทของสังคมในจังหวัดสระบุรีได้

References

เก็จกนก เอื้อวงศ์. (2562). การสนทนากลุ่ม : เทคนิคการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ. วารสารศึกษา

ศาสตร์ มสธ,12(1): หน้า 17-30.

จำเนียร จวงตระกูล. (2561). ปัญหาการกำหนดกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ.

วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 1(2): หน้า 1-21.

ไชยยา รัตนพันธ์. (2562). การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด. Journal of Roi Kaensarn Academi, 4(2): หน้า 18-33.

ธนิตา หิรัญเทพ, อุมาพร อุดมทรัพยากุล, รณชัย คงสกน (2556).ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการไม่เสพยาเสพติดซ้ำใน

ผู้เข้ารับการบำบัดในระบบบังคับบำบัด. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 58(2): หน้า 157-164.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยสาสน์.

เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ : การจัดการข้อมูลการตีความและการหาความหมาย.

นครปฐม : สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). การสร้างและพัฒนาและทดสอบผลสัมฤทธิ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทาง

การศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

วิโรจน์ นาหนองขาม, ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2560). การสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรหนองซอน อำเภอเชียงยืน จังหวัด

มหาสารคาม. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านการบริหารกิจการสาธารณะ ครั้งที่ 4 “การบริหารกิจการสาธารณะภายใต้ประเทศไทย 4.0” The 4th National Conference on Public

Affairs Management “Public Affairs Management Under Thailand 4.0” (หน้า 899-911). ขอนแก่น: วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด. (2563). ห่วงปัญหายาเสพติด ระบาดเพิ่มช่วงโควิด-19. สืบค้น 1 สิงหาคม 2564, จาก:

https://www.thaihealth.or.th/Content/54307--ห่วงปัญหายาเสพติด%20ระบาดเพิ่มช่วงโค วิด-19.html

ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2564). ระบบข้อมูลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด

ของประเทศ. สืบค้น สืบค้น 2 สิงหาคม 2564, จาก:https://antidrugnew.moph.go.th/zCustom/

สายสุดา โภชนากรณ์. (2563). รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยเสพติด และครอบครัวเพื่อป้องกันการ

กลับไปเสพซ้ำ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(12): หน้า 305-23.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2563). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติดประจำปีงบประมาณ 2563. สืบค้น 2 สิงหาคม 2564, จาก: https://www.oncb.go.th/ EBookLibrary/รายงานผลการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด%20ปี%202563.pdf

สำนักงานป้องกันยาเสพติดและปราบปรามอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ. (2563). การบำบัดรักษาโดยมี

ส่วนร่วมของชุมชน สำหรับผู้ใช้ยาเสพติดและติดยาเสพติด การบรรยายสรุปสำหรับทวีปเอเชีย

ตะวันออกเฉียงใต้. สืบค้น สืบค้น 2 สิงหาคม 2564, จาก: https://www.unodc.org/documents

/southeastasiaandpacific /cbtx/cbtx-brief-TH.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี. (2563). สรุปรายงานผลการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาผู้เสพติดยาเสพ

ติดในระบบสมัครใจของจังหวัดสระบุรี. การประชุมคระกรรมการเฝ้าระวังยาเสพติดระดับพื้นที่จังหวัด

สระบุรี; วันที่ 4 สิงหาคม; ศาลากลางจังหวัดสระบุรี, สระบุรี.

อาภาศิริ สุวรรณานนท์. (2558). การศึกษารูปแบบการดำเนินงานด้านการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 11(2): หน้า 213-222.

อับดุลคอลิก อัรรอฮีมีย์, สวัสดิ์ ไหลภาภรณ์, จิรัชยา เจียวก๊ก, และฐานิดาภัทฐ์ แสงทอง. (2564). รูปแบบการป้องกันตนเองในการใช้สารเสพติดซ้ำของผู้ติดสารเสพติดในพื้นที่ จังหวัดปัตตานี กรณีศึกษาผู้เข้ารับการบำบัดรักษายาเสพติดในศูนย์บำบัด บ้านแสนสุข และสถาบันปอเนาะพัฒนาเยาวชน [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 8 ส.ค. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://cads.in.th/cads/content?id=181Creswell, J. W. (2015). A concise introduction to mixed methods research. Thousand Oaks, C.A. : Sage Publications.

Keeves, Peter J.(1988). “Model and Model Building,” Educational Research Methodology and

Measurement : An International Handbook. Oxford : Pergamon Press.

Kolb AY, Kolb DA. (2005). Learning styles and learning spaces: enhancing experiential learning in

higher education. Academy of Management Learning & Education, 4: Page193-212.

Liebeskind J.P. et al. (1996). Social networks learning and flexibility: sourcing scientific

knowledge in new biotechnology firms. Organization Science, 7(4): Page 428-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-02-20