พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตามหลักคีโตจีนิกและความสำเร็จในการดูแลสุขภาพ ในสมาชิกกลุ่มเฟซบุ๊กคีโตแฟมมิลี่

ผู้แต่ง

  • สุพพัต ฉินทกานันท์ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ประทีป ติยะปัญจนิตย์ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • กุลวดี วงศ์สุนันท์ วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ดาวฤกษ์ เล่ห์มงคล วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ปิยธิดา สินจตุรัส วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • สิกขวัฒน์ นักร้อง วิทยาลัยเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรม, อาหารคีโตจีนิก

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแบบความเชื่อด้านสุขภาพที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลตามหลักคีโตจีนิก ของสมาชิกกลุ่มเฟซบุ๊กคีโตแฟมมิลี่ ในกลุ่มตัวอย่าง 449 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทางกูเกิลฟอร์มของสมาชิกกลุ่มเฟซบุ๊กคีโตแฟมมิลี่ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงมีนาคม พ.ศ. 2565 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงร้อยละ 72.6 อายุ 41-50 ปี ร้อยละ 30.5 มีอาชีพรับราชการหรือรัฐวิสาหกิจร้อยละ 33.2 มีระดับการศึกษาอยู่ที่ระดับปริญญาตรีร้อยละ 53.5 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนส่วนใหญ่ สูงกว่า 30,000 บาท ร้อยละ 42.5

ผลการศึกษา พบว่าพฤติกรรมการรับรู้ประโยชน์การดูแลสุขภาพ ในเรื่องของการมีสุขภาพที่ดีขึ้นจะทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น มีสัดส่วนสูงสุดร้อยละ 83.5 รองลงมาเป็นเรื่องของการมีสุขภาพที่ดีจะสามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงและความรุนแรงในการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ ร้อยละ 75.7 และการรับรู้ความรุนแรงจากการไม่ดูแลสุขภาพในเรื่องของภาวะอ้วนเป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด ร้อยละ 69.7 ตามลำดับ โดยจากผลลัพธ์ของการดูแลสุขภาพตามหลักคีโตจีนิก พบว่ามีผู้ที่ประสบความสำเร็จ ร้อยละ 49.7 ส่วนใหญ่มาจากการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการดูแลสุขภาพตามหลักคีโตจีนิกที่ถูกต้อง ร้อยละ 66.8 และผู้ที่ล้มเหลว ร้อยละ 50.3 ส่วนใหญ่มาจากการไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการดูแลสุขภาพตามหลักคีโตจีนิกที่ถูกต้อง ร้อยละ 59.3 ดังนั้น จากผลของงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมการเลือกดูแลสุขภาพตามหลักคีโตจีนิกของสมาชิกกลุ่มเฟซบุ๊กคีโตแฟมมิลี่ เป็นผลมาจากการรับรู้ประโยชน์ของการดูแลสุขภาพและการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการดูแลสุขภาพตามหลักคีโตจีนิกที่ถูกต้องมีผลต่อความสัมฤทธิ์ผลในการดูแลสุขภาพมากที่สุด 

References

ชายธง ชูเรืองสุข. (2564). อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำสำหรับโรคอ้วน–ประโยชน์และความเสี่ยงต่อสุขภาพ. 9(2). Retrieved from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ThaiJPEN/article/view/255604.

ฐิติรัตน์ สมบูรณ์. (2565). กิน “คีโต” อย่างเข้าใจ ลดน้ำหนักได้ สุขภาพดี. สืบค้นจากhttps://www.chula.ac.th/highlight/67885/

บัลลังค์ ศรีโฉมงาม และสุพัฒน์ ธีรเวชเจริญชัย. (2561). การพัฒนาบางด้วนโมเดลในการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป้วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตําบลบางด้วน อําเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการ

สหเมดิคอลไลน์แล็บ. (2559). สภาวะสุขภาพและปัญหาสุขภาพของคนไทยส่วนใหญ่. สืบค้นจาก http://medicallinelab.co.th.

วรรณกร พลพิชัย และจันทรา อุ้ยเอ้ง. (2561). แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของชาวประมงในจังหวัดตรัง. สงขลา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

วิไลรัตน์ บุญราศรี (2559). แบบแผนความเชื่อและพฤติกรรมสุขภาพของพนักงานโรงไฟฟ้าแม่เมาะที่มีภาวะอ้วนลงพุง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. สืบค้นจาก https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:139435

ศรัณยา เพิ่มศิลป์ และรุจิรา ดวงสงค์. (2554). ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมในการควบคุมระดับนำตาล ในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่มารับบริการที่ โรงพยาบาลอุบลรัตน์ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัย มข. 11(4), 89-100.

อำภรพรรณ ข้ามสาม. (2558). ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้ที่มีความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลท่าขามอำเภอเมืองจังหวัดแพร่. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Becker, M. H. (1950). Health belief model. American journal of nursing, 50(11), 172.

Zhang A, Wang J, Wan X, Zhang J, Guo Z, Miao Y, Zhao S et al. (2022). Mediation Effect of Self-Efficacy Between Health Beliefs and Glycated Haemoglobin Levels in Elderly Patients with Type 2 Diabetes Mellitus: A Cross-Sectional Study. Patient Prefer Adherence, 16, 3015-3026. https://doi.org/10.2147/PPA.S388967

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-25