การศึกษาผลการประเมินการใช้ยาสมเหตุผลของยาปฏิชีวนะรูปแบบฉีด Amoxicillin and Clavulanate และ Ceftazidime ในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเสาไห้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

ผู้แต่ง

  • จิรพรรณ์ เคหะทอง โรงพยาบาลเสาไห้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา

คำสำคัญ:

การประเมินการใช้ยา, การใช้ยาสมเหตุผล, amoxicillin/clavulanate, ceftazidime

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินการการใช้ยาสมเหตุผลของยาปฏิชีวนะรูปแบบฉีด Amoxicillin and Clavulanate และ Ceftazidime ในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลเสาไห้เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ใช้รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม ถึง 31 สิงหาคม 2565 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยการสั่งใช้ยาแบบควบคู่ไปกับการใช้ยาที่เกิดขึ้นจริงของยา Amoxicillin/Clavulanate และ Ceftazidime รูปแบบฉีด ในผู้ป่วยใน จำนวนทั้งหมด 78 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยที่ได้รับยา Amoxicillin/Clavulanate 52 ราย และ Ceftazidime 26 ราย เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินการใช้ยาตามเกณฑ์มาตรฐานซึ่งสร้างขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม และผ่านการรับรองจากคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดของโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยา Amoxicillin/Clavulanate รูปแบบฉีด จำนวน 52 ราย ใช้ยาแบบไม่ทราบความไวของเชื้อ จำนวน 42 ราย (ร้อยละ 80.8) แบบทราบชนิดและความไวของเชื้อต่อยา จำนวน 10 ราย (ร้อยละ 19.2) สำหรับยา Ceftazidime รูปแบบฉีด จำนวน 26 ราย ใช้ยาแบบไม่ทราบความไวของเชื้อ จำนวน 15 ราย (ร้อยละ 57.7) แบบทราบชนิดและความไวของเชื้อต่อยา จำนวน 11 ราย (ร้อยละ 42.3) ในด้านรูปแบบการใช้ยาพบว่า ผู้ป่วยที่ได้รับยา Amoxicillin/Clavulanate รูปแบบฉีด ใช้ยาสอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานในผู้ป่วย 45 ราย (ร้อยละ 86.5) ในด้านผลการรักษาผู้ป่วย 39 ราย (ร้อยละ 75.0) มีอาการดีขึ้นหรือหายขาด มูลค่ายาที่เกิดจากการสั่งใช้ยาไม่เหมาะสม 12,138 บาท สำหรับยา Ceftazidime รูปแบบฉีด ใช้ยาสอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานในผู้ป่วย 20 ราย (ร้อยละ 76.9) ในด้านผลการรักษาผู้ป่วย 17 ราย (ร้อยละ 65.4) มีอาการดีขึ้นหรือหายขาด มูลค่ายาที่เกิดจากการสั่งใช้ยาไม่เหมาะสม 5,562 บาท ในช่วงเวลาที่ศึกษา 6 เดือน สรุป การสั่งใช้ยา Amoxicillin/Clavulanate และ Ceftazidime รูปแบบฉีดส่วนใหญ่มีความเหมาะสม แต่ควรมีวิธีการควบคุมการใช้ยาทั้ง 2 ชนิดนี้ต่อไป และส่งต่อข้อมูลแก่สหวิชาชีพโดยเฉพาะแพทย์ซึ่งเป็นผู้สั่งใช้ยา เพื่อลดปัญหาเชื้อดื้อยา ลดมูลค่ายาที่ต้องสูญเสียไป และเพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาของผู้ป่วย

References

กุลธิดา ปัญยะ. (2555). การศึกษาความถูกต้องและเหมาะสมของการสั่งใช้ยา Ceftazidime ในผู้ป่วยนอน

โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 28 มิ.ย. 2565]. เข้าได้จาก https://www.tsm.go.th/KM/see_research.php?file=upload/8668-7731.pdf&id=30

คชาพล นิ่มเดช, จินตนา ลิ่มระนางกูร, ศุศราภรณ์ สามประดิษฐ์. (2562). นโยบายการใช้ยาอย่างสมเหตุผลประสบความสำเร็จ หรือล้มเหลว. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2562; 1(2) กรกฎาคม – ธันวาคม. หน้า 1-7.

จิตตวดี กมลพุทธ. (2559). การประเมินการสั่งใช้ยาcefoperazone/sulbactam ในโรงพยาบาลชุมชน

แห่งหนึ่งในจังหวัดกาฬสินธุ์. Thai Journal of Pharmacy Practice. Vol.8(1);Jan-Jun 2016. 149-55.

นิตยา ภาพสมุทร, ปริญดา จันทร์บรรเจิด, กนกกช บุศย์น้ำเพชร, วราภรณ์ ภูมิอภิรัตน์, จิราพร คำแก้ว. (2553). การจัดทำแนวทางการใช้ยา cefoperazone/sulbactam ในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี, Thai

Pharmaceutical and Health Science Journal, 5(2), Apr.-Jun. 107-13.

นิธิมา สุ่มประดิษฐ์. (2556). โครงการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล Antibiotic Smart Use: การศึกษาการขยายผลสู่ความยั่งยืนโดยการสร้างบรรทัดฐานใหม่ทางสังคม (พ.ศ. 2554-2556) [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 28 มิ.ย. 2565]. เข้าถึงได้จาก: https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/

/hs2133.pdf?sequence=3&isAllowed=y

พาณี อรรถเมธากุล. (2557). การประเมินการสั่งใช้ยา cefoperazone/sulbactam ในโรงพยาบาลทั่วไป

แห่งหนึ่ง. Thai Journal of Pharmacy Practice. Vol.6(2);Jun-Dec 2014. 77-83.

Arul B, Rangabashyam SR, Kothai R, Bobby MT, Elavarasi M, Glory MA. (2007). Drug Utilization review of cephalosporins in a tertiary care hospital - A retrospective study. World

Journal of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences, 6(9), 1737-43.

World Health Organization. (2007). Drug and Therapeutics Committee – Participants’ Guide [online]. [cited 2022 Jun 28]. Available from: https://www.who.int/activities/promoting-rational-use-of-medicines

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28