ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 ในเขตตำบลดงมะไฟ อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร
คำสำคัญ:
สภาวะช่องปาก , นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6, โรคฝันผุ, โรคเหงือกอับเสบบทคัดย่อ
การวิจัยแบบเชิงวิเคราะห์ภาคตัดขวาง ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาวะช่องปาก ระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปาก และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะช่องปาก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 คน เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 ที่ศึกษาในโรงเรียนรัฐบาล จำนวน 5 โรงเรียน เขตตำบลดงมะไฟ อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร ปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสังเกตการแปรงฟัน และแบบตรวจสภาวะช่องปาก การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ ด้านความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ มีค่าเท่ากับ 0.73 และการตรวจสอบด้านความเที่ยง ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ 0.75 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน คือ Chi-Square Test และ Fisher's Exact test
ผลการวิจัยพบว่า สภาวะโรคฟันผุ ถอน อุด (DMF) จำนวน 285 ซี่ ร้อยละ 7.53 ค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน ผุ (DMF) 1.90 ซี่/คน โดยเป็นฟันผุ 1.83 ซี่/คน ฟันถอน 0.01 ซี่/คน และฟันอุด 0.06 ซี่/คน และมีหินน้ำลายและมีเลือดออกในฟันซี่เดียวกัน (Sextant) จำนวน 76 Sextant ร้อยละ 8.44 ค่าเฉลี่ยมีหินน้ำลายและมีเลือดออก 0.51 sextant/คน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ พบว่า สถานศึกษา มีความสัมพันธ์กับสภาวะโรคเหงือกอักเสบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0 .03) และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความสัมพันธ์กับสภาวะโรคฟันผุและสภาวะโรคเหงือกอักเสบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.03) ในส่วนของระดับทักษะการแปรงฟัน พบว่า มีความสัมพันธ์กับสภาวะโรคฟันผุและสภาวะโรคเหงือกอักเสบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.04 และ0.01) จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรนำข้อมูลไปเป็นแนวทางในการส่งเสริมให้ครู ผู้ปกครอง และตัวนักเรียนเห็นถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อให้นักเรียนมีสุขภาพช่องปากที่ยิ่งขึ้น
References
กมลกัลย์ โชคธันยนันท์. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง. ตรัง : วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง.
จันทร์เพ็ญ เกสรราช และคณะ. (2560). พฤติกรรมทันตสุขภาพและสภาวะสุขภาพช่องปากของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดสุรินทร์. วารสารทันตาภิบาล, 28(2), 30-44.
ชมนาด ทับศรีนวล. (2549). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ณัฐวุธ แก้วสุทธา. (2556). ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น. วารสารพฤติกรรมศาสตร์ มหาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 19(2), 154.
ณัฐวุธ แก้วสุทธา, อังศินันท์ อินทรกาแหง และ พัชรี ดวงจันทร์. (2556). ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของวัยรุ่นตอนต้น. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 19(2), 153-164.
นิตยา พวงราช. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างเงินค่าขนมกับปริมาณฟันผุ ถอน อุด (DMFT) ในเด็กอายุ 12 ปี ในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารทันตาภิบาล. 25(1),1-12.
นิภา โพชนะ. (2551). ผลการศึกษาพฤติกรรมการดูแลอนามัยช่องปากของมารดาในเด็กวัยก่อนเรียน. สาระนิพนธ์วิทยาศาสตรบัญฑิต. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปิติฤกษ์ อรอินทร์.(2557). การศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อำเภอพนา จังหวัดอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
วิชัย ศรีคำ, ศุภรัศมิ์ อัศวพรธนภัทร์ และ พิศมร กองสิน. (2560). พฤติกรรมการกินที่มีผลต่อสุขภาพในช่องปากของ เด็กวัยรุ่นตอนต้น ในจังหวัดนครปฐม. วารสารสหเวชศาสตร์, 2(1), 1-14.
วีรยุทธ พลท้าว และ พรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2557). ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาร่วมกับการใช้สื่อประสมช่วยประสมช่วยสอนเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบในนักเรียนระดับประถมศึกษา อำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารทันตาภิบาล, 25(2), 75-88.
สมลักษณ์ แสงสัมฤทธิ์สกุล. (2559). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของนักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพ ช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สามเจริญพานิชย์.
อุดมพร รักเถาว์. (2558).ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้,2(1),52-64.
Niederman R.; and Sullivans MT. (1981). Oral Hygiene Skill Achievement Index. Journal of Periodontology. 3(52) :143-156.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา (Thai Journal of Public Health and Health Education) เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี