การพัฒนารูปแบบการจัดการศพติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่เหมาะสมในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • บดินทร์ บุญขันธ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การจัดการศพติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, แบบจำลอง McKinsey’s 7s Model

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการศพติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของจังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบของการจัดการศพติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เหมาะสมในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี 3) เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนารูปแบบการจัดการศพติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของจังหวัดอุบลราชธานี การวิจัยใช้กรอบแนวคิดตามองค์ประกอบของแบบจำลอง McKinsey’s 7s Model การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ขั้นตอนการวิจัย ประกอบด้วย 1) ศึกษาสถานกาณ์การจัดการศพติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสภาวะปัจจุบัน โดยการทบทวนวรรณกรรม และการสัมภาษณ์เชิงลึก 2) พัฒนารูปแบบการจัดการศพติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เหมาะสมในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี 3) ศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนารูปแบบการจัดการศพติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือวิจัย    

สรุปผลการวิจัย ได้ดังนี้ 1) การศึกษาสถานณการณ์การจัดการศพติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสภาวะปัจจุบัน พบว่า ไม่สามารถปฏิบัติตามขั้นตอนการจัดการศพติดเชื้อที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดได้ครบถ้วน เนื่องจาก (1) ไม่มีแผนงานโครงการ (2) การขาดแคลนงบประมาณ (3) ผู้ปฏิบัติงานขาดทักษะการจัดการศพติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (4) บางหมู่บ้านยังไม่มีเตาเผาศพระบบปิด (5) ขาดการสื่อสารความเสี่ยงกับประชาชนที่มีประสิทธิภาพ (6) ขาดการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ 2) ขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการจัดการศพติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เหมาะสมในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี พบว่า มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานปฏิบัติการจัดการศพติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 มีการกำหนดวัดหรือศาสนสถานในพื้นที่และขึ้นทะเบียนให้เป็นสถานที่ฌาปนกิจศพติดเชื้อ กำหนดให้มีขั้นตอนการปฏิบัติงานชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้ และดำเนินการได้ในพื้นที่ได้ทุกอำเภอ 3) ขั้นตอนการศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนารูปแบบ พบว่า ความคิดเห็นของคณะทำงานปฏิบัติการศพติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅= 3.66) ซึ่งอยู่ในระดับมาก 5 องค์ประกอบ เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ โครงสร้าง (x̅= 4.21) บุคลากร (x̅= 3.91) กลยุทธ์ (x̅= 3.60) ระบบ (x̅= 3.60) และค่านิยมร่วม (x̅=3.55) อยู่ในระดับปานกลาง 2 องค์ประกอบ ได้แก่ ทักษะ (x̅= 3.40) และรูปแบบ (x̅= 3.34) ตามลำดับ ความพึงพอใจของญาติผู้เสียชีวิตจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅= 4.21) ซึ่งทั้ง 7 องค์ประกอบ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทั้งหมด เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ รูปแบบ (x̅= 4.33) ค่านิยมร่วม (x̅= 4.28) บุคลากร (x̅=4.22) ทักษะ (x̅= 4.20) โครงสร้าง (x̅= 4.16) ระบบ (x̅= 4.15) และกลยุทธ์ (x̅= 4.11)

ข้อเสนอเชิงนโยบาย มีดังนี้ 1) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนงบประมาณรองรับการจัดการศพติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และจัดสรรเป็นค่าเสี่ยงภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงาน 2) จัดทำแผนพัฒนาทักษะบุคลากรด้านการจัดการศพติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และ 3) พัฒนาระบบเตาศพติดเชื้อให้เหมาะสมกับบริบทและสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่

 

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2564). แนวทางการดำเนินการเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับสถานประกอบการ. มปท: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2564) แนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข. มปท. : มปพ.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.(2564). สถานการณ์โควิด 19. สืบค้น 25 พฤษภาคม 2565 จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/

จิตติ รัศมีธรรมโชติ . (2558). การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ : บริษัทธันวา 4 อาร์ต จำกัด.

ทวีศักดิ์ สายอ๋อง, สุปรีชา แก้วสวัสดิ์ และวิยดา กวานเหียน. (2563) การบริหารจัดการองค์กรตามแนวคิด McKinsey's 7s ของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ โรงพยาบาลชุมชน สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 11.(รายงานการวิจัย).

น้ำฝน จันทร์แดง ,จีระศักดิ์ เจริญพันธ์และ ชาญชัย ติกขปัญโญ. (2554) กระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรตามแนวทางการบริหารราชการแนวใหม่ของโรพยาบาลทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี.(รายงานการวิจัย).

บุญชม ศรีสะอาด.(2554) การวิจัยเบื้องต้น.พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

กรมศาสนา.(2563). คู่มือการจัดพิธีทางศาสนาของแต่ละศาสนาในช่วงเวลาการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19). มปท. : มปพ.

สมชาย วรกิจเกษมสกุล. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตรและสังคมศาสตร.พิมพ์ครั้งที่ 2 .อุดรธานี : อักษรศิลป์การพิมพ์.

กระทรวงสาธารณสุข. (2563).แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด – 19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1) . มปท. : บริษัททีเอสอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด.

กระทรวงสาธารณสุข.(2559). แนวทางการจัดการศพติดเชื้อไวรัสอีโบลาและโรคติดต่ออันตราย.สมุทรสาคร : บริษัทบอร์นทูบี พับชิ่ง จำกัด.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.(2563). คู่มืออนามัยสิ่งแวดล้อมสำหรับห้างสรรพสินค้า เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19. มปท. : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.(2563). แนวทางการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการสาธารณสุขเพื่อป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด 19) (Coronavirus Disease 2019 (COVID - 19)). กรุงเทพ. : ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.(2563). คู่มือการจัดพิธีทางศาสนาและการจัดกิจกรรมทางประเพณี ในสถานการณ์ป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19). มปท. : บริษัท ทีเอสอินเตอร์พริ้นท์ จำกัด.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.(2564). คู่มือการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมในศูนย์แยกกักผู้ป่วยโควิด 19ในชุมชน. กรุงเทพฯ. : ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.(2564). คู่สำหรับเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และแก้ไขเพิ่มเติม ในการกำกับดูแลกิจการและกิจกรรม ตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) เพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. มปท. : มปพ. , 2564.

Adele Malan. (2003). Applying McKinsey 'S Model with Managed Health Care Systems MHS To Assess The Organization 'S Effectiveness. Short Dissertation of Business Management at the Rand Afrikaans University.

Aminatuz Zuhriah and others. (2018).HR Planning Using the McKinsey 7s Model Concept For Start Up Maternity Clinic, Proceedings of the 1st International Conference on Recent Innovation.

Malgozata Chmielewska and others. (2022).Evaluating Organization Performance of Public Hospitals using the McKinsey 7s Framework, BMH Health Services Research, 1(7), 1

Shagufta Perveen and Shifa S habib. (2017).Identifying Constraints For Hospital Infection Control Management VIA the McKinsey 7s Framework in Pakistan.Pakisstan, Journal of Public Health , 7(4), 213-219

Tintin Sukartini and others. (2020).Organizational Effectiveness with McKinsey 7sModel Approach on Public Health Center in Madura Indonesia, International Journal of Psychosocial Rehabilitation, 24(7), 4100-4111

World Health Organization .(2020). Covid – 19 Guidance for the Management of the Dead in Humanitarian Setting, 1-10

World Health Organization. (2021). Are there treatment for COVID–19 ?(Cited 2021 December 20).

Available From : http://www.wno.int/news-room/question-and- answers/ item /coronavirus-diseare-covid-19

Worldometer. (2020) Reported Cases and Deaths by Country or Territory (Cited 2022

May 24). Available From :http ://www.worldometer.info

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-13