การพัฒนาระบบเฝ้าระวังและการดูแลผู้ที่มีภาวะ Long COVID ในพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาเวียง ตำบลนาเวียง อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร
คำสำคัญ:
ผู้ที่มีภาวะ Long COVID โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ระบบเฝ้าระวังบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบเฝ้าระวังและการดูแลผู้ที่มีภาวะ Long COVID ใช้แนวคิดทรัพยากรในการบริหาร (4M) และแนวคิด PAOR 4 ขั้นตอน มาใช้พัฒนาระบบเฝ้าระวัง กลุ่มตัวอย่างเป็น ผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 103 ราย ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาเวียง ตำบลนาเวียง อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยทำการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา แล้วสรุปเป็นประเด็นปัญหา ความต้องการในการพัฒนารูปแบบเฝ้าระวังและการดูแลแบบมีส่วนร่วมและวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ติดเชื้อโควิด-19 เกิดภาวะ Long COVID จำนวน 20 ราย ส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง ร้อยละ 51.50, อายุเฉลี่ย 36.55 ปี, ระดับความรุนแรงของภาวะ Long COVID อยู่ในระดับต่ำ (= 0.02, S.D.= 0.06) และส่วนใหญ่ไม่ได้รับการรักษา สามารถจัดการอาการได้ด้วยตนเอง การพัฒนาระบบที่มีความเหมาะสมกับการดำเนินงานในพื้นที่ แบ่งผู้ที่มีภาวะ Long COVID ออกเป็น 3 กลุ่ม A, B และ C โดยที่กลุ่ม C เฝ้าระวังและการดูแลแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ Pre-hospital In-hospital และ Post-hospital การกำหนดบทบาทหน้าที่และแนวทางที่ชัดเจน ทำให้ผู้ป่วยได้รับการคัดกรอง ประเมิน ติดตามครบทุกราย และส่งต่อการรักษาที่เหมาะสม ได้รับดูแลรักษาตามสภาพปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยครบทุกราย ไม่มีอาการรุนแรง ปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ ผู้บริหารมีนโยบายที่มีความชัดเจน เน้นการทำงานเชิงรุก ทุกภาคส่วนทราบบทบาทหน้าที่ มีส่วนร่วม ระดมทรัพยากร 4 ด้าน คือ บุคลากร งบประมาณ วัสดุครุภัณฑ์ และการบริการจัดการ เกิดการพัฒนาระบบเฝ้าระวังและการดูแลผู้ที่มีภาวะ Long COVID ที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
References
กรมการแพทย์. (2565). การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 หลังรักษาหาย (Post COVID syndrome). กระทรวงสาธารณสุข . https://covid19.dms.go.th/backend/Content/Content_File/Covid_Health/ Attach/25650126100932AM_การดูแลรักษาผู้ป่วย Long COVID v.2.4.pdf
พิมณทิพา มาลาหอม, พนมวรรณ์ สว่างแก้ว, วิชิต พุ่มจันทร์. (2564). พลังชุมชนกับการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการระบาดของโควิด–19 ในชุมชนชายแดนไทย – ลาว.https://www.sac.or.th/main/ th/article/detail/ 186
รพีพรรณ รัตนวงศ์นรา. (2565). ภาวะ Long COVID (ลองโควิด). คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี-มหาวิทยาลัยมหิดล. https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/ภาวะ-long-covid-ลองโควิด-เมื่อโรค/
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. (2565). ศูนย์สื่อสารโควิด จังหวัดยโสธร. https://www.facebook.com/ SATYASOTHON
Mahoney, J. T. (1995). The managemen of resources and the resource of management. Journal of business research ; 33 (2) : 91-101.
Kemmis, S ., McTaggart, R. (1990) . The action research planner. Geelong : Deakin University Press.
Streiner, D. L., Norman, G. R. (2008). Health Measurement Scales: A Practical Guide to Their Development and Use. Oxford University.
Sudre, C. H., Murray, B., Varsavsky, T., Graham, M. S., Penfold, R. S., Bowyer, R. C., et al. (2021). Attributes and predictors of long COVID. Nat Med, 27(4), 626–631. https://doi.org/ 10.1038/ s41591-021-01292-y
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา (Thai Journal of Public Health and Health Education) เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี