ผลการเฝ้าระวังอุบัติการณ์การติดเชื้อเอชไอวี กลุ่มพนักงานบริการหญิง ด้วยวิธี Limited-antigen Avidity EIA assay พ.ศ. 2561

ผู้แต่ง

  • นิรมล ปัญสุวรรณ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • ฐิติพงษ์ ยิ่งยง กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • สุปิยา จันทรมณี กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
  • สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

อุบัติการณ์การติดเชื้อเอชไอวี, การติดเชื้อเอชไอวี, พนักงานบริการหญิง

บทคัดย่อ

การเฝ้าระวังอุบัติการณ์การติดเชื้อเอชไอวีกลุ่มพนักงานบริการหญิง ในปี พ.ศ. 2561 ดำเนินการโดยอาศัยผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการด้วยเทคนิค Limited-antigen Avidity EIA assay (LAg Avidity EIA) การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การติดเชื้อเอชไอวีในพนักงานบริการหญิง ปี พ.ศ. 2561 กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานบริการหญิง จำนวน 5,385 คน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยข้อมูลผลการตรวจเอชไอวีและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการจำแนกการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ใน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน และสถิติเชิงวิเคราะห์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลหาความสัมพันธ์ 

ผลการศึกษาพบว่าอุบัติการณ์การติดเชื้อเอชไอวีในกลุ่มพนักงานบริการหญิงเท่ากับร้อยละ 0.79 (95% CI, 0.26-1.31) จำแนกเป็นพนักงานบริการหญิงตรง 1,731 คน อุบัติการณ์การติดเชื้อเอชไอวีเท่ากับ ร้อยละ 0.45 (95% CI, 0.00-1.17) และกลุ่มพนักงานบริการหญิงแฝง 3,654 คน อุบัติการณ์การติดเชื้อเอชไอวีเท่ากับ ร้อยละ 0.94 (95% CI, 0.25-1.63) ผลการศึกษาสามารถนำไปกำหนดแนวทางการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ในกลุ่มพนักงานบริการหญิงซึ่งเป็นกลุ่มประชากรหลักที่สำคัญที่จะขับเคลื่อนในการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2573 ในการลดการติดเชื้อรายใหม่ให้เหลือปีละไม่เกิน 1,000 ราย

References

กลุ่มติดตามและประเมินผลระดับชาติ. (2561). รายงานผลการติดตามและประเมินผลแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยโรคเอดส์ พ.ศ. 2558-2563. กรุงเทพฯ: สำนักโรคเอดส์ กระทรวงสาธารณสุข.

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2553). สถานการณ์การเฝ้าระวังเอชไอวี/เอดส์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์. (2561). รายงานความก้าวหน้าของประเทศไทย ในการยุติปัญหาเอดส์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัท เอ็นซี คอนเซ็ปต์ จำกัด.

ศรินยา พงษ์พันธ์. (2557). อัตราการเกิดโรคเอดส์โดยใช้วิธีตรวจจับแอนติบอดี IgG capture BED-EIA ในประเทศไทย, 2551. วารสารรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์, ประเทศไทย. 45(8), 113-120

สมเดช รุ่งศรีสวัสดิ์. (2557). การขายบริการทางเพศของวัยรุ่นไทยบนสื่ออินเทอร์เน็ต. วารสารสมาคมนักวิจัย, 19(1), 59-72.

สำนักงานระบาดวิทยา. (2553). คู่มือการติดตามเฝ้าระวังอัตราการเกิดโรคเอดส์ พ.ศ. 2553. สำนักงานระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานระบาดวิทยา. (2557). อัตราการติดเชื้อและอัตราการเกิดโรคเอดส์ในประเทศไทย ปี 2556. สำนักงานระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

Duong YT. (2012). Detection of recent HIV-1 infection using a new limiting-antigen avidity assay: potential for HIV-1 incidence estimates and avidity maturation studies. PLoS One, 7(3), e33328.

Duong YT. (2015). Recalibration of the Limiting Antigen Avidity EIA to Determine Mean Duration of Recent Infection in Divergent HIV-1 Subtypes. PLoS One, 10(2), e0114947.

Hargrove, J. W., Humphrey, J. H., Mutasa, K., Parekh, B. S., McDougal, J. S., Ntozini, R., et al. (2008). Improved HIV-1 incidence estimates using the BED capture enzyme immunoassay. AIDS (London, England), 22(4), 511–518.

Le Vu, S., Pillonel, J., Semaille, C., Bernillon, P., Le Strat, Y., Meyer, L., et al. (2008). Principles and uses of HIV incidence estimation from recent infection testing-a review. European Communicable Disease Bulletin, 13(36), 18969.

McDougal, J. S., Parekh, B. S., Peterson, M. L., Branson, B. M., Dobbs, T., Ackers, M., et al. (2006). Comparison of HIV type 1 incidence observed during longitudinal follow-up with incidence estimated by cross-sectional analysis using the BED capture enzyme immunoassay. AIDS research and human retroviruses, 22(10), 945–952.

Yang, Y. C., Shi, R. Z., Tang, R. H., Ye, R. H., Wang, J. B., Duan, X., et al. (2018). Estimating HIV incidence among female sex workers and injection drug users in Dehong Prefecture, 2009-2017. Chinese Journal of Preventive Medicine, 52(12), 1243–1247.

UNAIDS. (2013). WHO/UNAIDS Technical Update on HIV incidence assays for surveillance and epidemic monitoring, Technical Update Geneva. Retrieved from https://www.unaids.org/sites/default/files/sub_landing/files/2013_TechnicalUpdate_WHO_UNAIDS_HIVincidenceAssays.pdf

World Health Organization. (2018). WHO working group on HIV incidence measurement and data use. Retrieved from https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/272940/WHO-CDS-HIV-18.9-eng.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-09