ผลของการเข้าค่ายเบาหวานแบบค้างแรมโรงพยาบาลเขื่องในต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับนํ้าตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

ผู้แต่ง

  • พัฒนพร อุ่นวงศ์ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
  • มยุรี บุญศักดิ์ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ค่ายเบาหวาน, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, พฤติกรรมการดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเข้าค่ายเบาหวานแบบค้างแรมต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่าง 60 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 คน การจัดค่ายเบาหวานนี้ประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนมาเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมดังนี้ ประสบการณ์จากความสำเร็จในการปฏิบัติของตนเอง ประสบการณ์จากการกระทำของบุคคลอื่น การชักจูงด้วยคำพูด และการกระตุ้นทางอารมณ์ และการจัดการสุขภาพตนเอง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเอง แบบประเมินการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลตนเอง และระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารเช้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบความแตกต่างแบบที (t-test) และทดสอบความแปรปรวนร่วม (ANCOVA)

ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และพฤติกรรมการดูแลตนเองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) กลุ่มทดลองมีการลดลงของระดับน้ำตาลในเลือดก่อนอาหารเช้า มากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)

References

กุลธิดา ณะไชย. (2555). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้โดยใช้กระบวนการกลุมตอพฤติกรรมการดูแลตนเองของผูปวยโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลบบ้านคัวะ. รายงานการวิจัย, น่าน: สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน.

จาฏุพัจน์ เอี่ยมศิริ. (2549). ผลของการเพิ่มสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการสนับสนุนทางสังคมในพฤติกรรมการ

ออกกำลังกายของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลชุมชน. บัณฑิตวิทยาลัย], มหาวิทยาลัยบูรพา.

จิตรานันท์ กุลทนันท์. (2551). การรับรู้สมรรถนะแห่งตนและพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ที่เป็นเบาหวานที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่. บัณฑิตวิทยาลัย], มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฐธยาน์ ประเสริฐอำไพสกุล และเกษร สำเภาทอง. (2551). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดสูงของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 14(3), 298-311.

นภารัตน์ ธัญถิรโสภนากุล, จินตนา วัชรสินธุ์ และวรรณี เดียวอิศเรศ. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการของครอบครัวที่มีสมาชิกครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 19(1), 1-10.

วรรณิกา ฟูเฟื่อง และอมรรัตน์ อนุวัฒน์นนทเขตต์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอดอยหลวง จังหวัดเชียงราย ประเทศไทย. เชียงรายเวชสาร, 11(2), 42-51.

วิชัย เอกพรากร และคณะ. (2563). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

วิพงษ์ชัย ร้องขันแก้ว. (2549). การจัดการค่ายพักแรม: Camp management. กรุงเทพฯ: จินดาสาส์น.

วัลลา ตันตโยทัย. (2552). การสนับสนุนการจัดการตนเองและการให้การศึกษาแก่ผู้ป่วยเบาหวาน. ในโครงการอบรมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวานหลักสูตรพื้นฐาน. (หน้า 22-39). กรุงเทพฯ: กราฟฟิค 1 แอดเวอร์ไทซิ่ง.

วัลย์ลดา เลาหกุล. (2554). ผลลัพธ์ของโปรแกรมการควบคุมเบาหวานที่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีส่วนร่วมแบบสมัครใจ. [บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน].

โรงพยาบาลเขื่องใน. (2565). ทะเบียนประวัติผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลเขื่องใน. จังหวัดอุบลราชธานี.

ศศิธร กรุณา. (2549). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างแรงจูงใจต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่, บัณฑิตวิทยาลัย], มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อุษา ทัศนวิน, ธีรนุช ห้านิรัติศัย และวันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. (2553). ผลของการเข้าค่ายเบาหวานกลางวันต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตน พฤติกรรมการดูแลตนเองและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2. วารสารสภาการพยาบาล, 25(1), 53-66.

Bandura, A. (1986). Social foundation of thoughts and action: A social cognitive theory. Englewood Clifts, NJ: Prentice-Hall.

Creer, L. T. (2000). Self-management of chronic illness. In Boekaerts, M., Printrich, P. R., & Zeidner, M. (Eds.). Handbook of self-regulation. pp. 601-629. San Diego, CA: Academic Press.

Knowler, W.C., Barrett-Connor, E., Fowler, S.E., Hamman, R.F., Lachin, J.M., Walker, E.A., et al. (2002). Reduction in the incidence of type 2 diabetes with lifestyle intervention or metformin. The New England Journal of Medicine, 346(6), 393-403.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-14